เมนู

ทุกกฏ


[125] บาตรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่ได้เสียสละ.. บริโภค ต้อง
อาบัติทุกกฏ
บาตรยังไม่ล่วง 10 วัน ภิกษุสำคัญว่าล่วงแล้ว บริโภค ต้อง
อาบัติทุกกฏ

ไม่ต้องอาบัติ


บาตรยังไม่ล่วง 10 วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ล่วง บริโภค ไม่ต้อง
อาบัติ.

อนาปัตติวาร


[126] ภิกษุอธิษฐาน 1 ภิกษุวิกัปไว้ 1 ภิกษุสละให้ไป 1
บาตรหายไป 1 บาตรฉิบหาย 1 บาตรแตก 1 โจรชิงเอาไป 1 ภิกษุ
ถือวิสาสะ 1 ในภายใน 10 วัน 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1
ไม่ต้องอาบัติแล.

เรื่องพระฉัพพัคคีย์


[127] ก็โดยสมัยนั้นเเล พระฉัพพัคคีย์ ไม่ให้คืนบาตรที่เสียสละ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บาตรที่ภิกษุเสียสละแล้ว สงฆ์ คณะ
หรือบุคคล จะไม่คืนให้ไม่ได้ ภิกษุรูปใดไม่คืนให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
ปัตตวรรคสิกขาบทที่ 1 จบ

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปัตตวรรคที่ 3 สิกขาบทที่ 1


พรรณนาปัตตสิกขาบท


ปัตตสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-
ในปัตตสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ปตฺตวณิชฺชํ มีความว่า พวกสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
จักเที่ยวทำการขายบาตร หรือออกร้านขายภาชนะดินในบ้านและนิคม
เป็นต้น. ภาชนะท่านเรียกว่า อามัตตะ (ในคำว่า อามตฺติกาปณํ).
ภาชนะเหล่านั้นเป็นสินค้าของชนเหล่าใด ชนเหล่านั้น ชื่อว่า อามัตติกา
(ผู้มีภาชนะเป็นสินค้า). ร้านตลาดของผู้มีภาชนะเป็นสินค้าเหล่านั้น ชื่อว่า
อามัตติกาปณะ. อธิบายว่า ร้านขายสินค้าของพวกช่างหม้อ.

[อธิบายขนาดบาตร 3-9 ขนาด ]


หลายบทว่า ตโย ปตฺตสฺส วณฺณา ได้แก่ ขนาดแห่งบาตร
3 ขนาด.
สองบทว่า อฑฺฒาฬฺหโกทนํ คณฺหติ มีความว่า ย่อมจุข้าวสุก
แห่งข้าวสาร 2 ทะนาน โดยทะนานมคธ. ในอันธกอรรถกถาท่านกล่าว
ว่า ที่ชื่อว่า ทะนานมคธ มี 12 ปละครึ่ง. ในมหาอรรถกถาท่านกล่าว
ว่า ในเกาะสิงหล ทะนานตามปกติใหญ่ ทะนานของชาวทมิฬเล็ก, ทะนาน
มคธ ได้ขนาด. ทะนานครั้ง โดยทะนานมคธนั้น เป็นหนึ่งทะนานสิงหล.
บทว่า จตุพฺภาคขาทนียํ มีความว่า ของเคี้ยว ประมาณเท่า
ส่วนที่ 4 แห่งข้าวสุก. ขาทนียะนั้น พึงทราบด้วยสามารถแห่งแกง ถั่วเขียว
พอหยิบด้วยมือได้.