เมนู

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม 1 เพื่อ
ถือตามพระวินัย 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ


40. 1. อนึ่ง ภิกษุใด ทรงอติเรกบาตร เป็นนิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

พระอนุบัญญัติ


เรื่องพระอานนท์


[118] ก็โดยสมัยนั้นแล อติเรกบาตรเกิดขึ้นแก่ท่านพระอานนท์
มีอยู่ และท่านประสงค์จะถวายบาตรนั้นแก่ท่านพระสารีบุตร แต่ท่าน
พระสารีบุตรอยู่ถึงเมืองสาเกต ท่านพระอานนท์จึงมีความปริวิตกว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงทรงอติเรกบาตร
ก็นี่อติเรกบาตรบังเกิดแก่เรา และเราก็ใคร่จะถวายแก่ท่านพระสารีบุตร
แต่ท่านอยู่ถึงเมืองสาเกต เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ ครั้นแล้วท่าน
พระอานนท์ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ ยังอีกนานเท่าไร
สารีบุตรจึงจะกลับมา
พระอานนท์กราบทูลว่า ท่านจะกลับมาในวันที่ 9 หรือที่ 10
พระพุทธเจ้าข้า
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทรงอติเรกบาตรไว้ได้ 10 วัน เป็น
อย่างยิ่ง อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้-

พระอนุบัญญัติ


40. 1. ก. พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ 10 วัน เป็นอย่างยิ่ง
ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระอานนท์ จบ

สิกขาบทวิภังค์


[119] บทว่า 10 วัน เป็นอย่างยิ่ง คือ ทรงไว้ได้ 10 วัน เป็น
อย่างมาก
ที่ชื่อว่า อติเรกบาตร ได้แก่ บาตรที่ยังมิได้อธิษฐาน ยังไม่ได้
วิกัป
ที่ชื่อว่า บาตร มี 2 อย่าง คือ บาตรเหล็ก 1 บาตรดินเผา 1

ขนาดของบาตร


บาตร 3 ขนาด คือ บาตรขนาดใหญ่ 1 บาตรขนาดกลาง 1
บาตรขนาดเล็ก 1