เมนู

สิกขาบทนี้ ในเพราะแลกเปลี่ยนภายหลัง. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งมิใช่รูปิยะว่าไม่ใช่รูปิยะ ซื้อ
ขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฏด้วย
กัปปิยวัตถุนั้นนั่นแหละ ไม่เป็นอาบัติ เหมือนอย่างนั้น ในเพราะการ
รับมูลค่า, เป็นทุกกฏด้วยสิกขาบทนี้ ในเพราะการแลกเปลี่ยนภายหลัง.
เพราะเหตุไร ? เพราะซื้อขายสิ่งเป็นอกัปปิยะ.
อนึ่ง เมื่อภิกษุแลกเปลี่ยนกัปปิยวัตถุ ด้วยกัปปิยวัตถุ นอกจาก
พวกสหธรรมิก ไม่เป็นอาบัติ ด้วยสิกขาบทก่อน ในเพราะการรับมูลค่า.
เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์ด้วยวิกกยสิกขาบทข้างหน้า เพราะการแลกเปลี่ยน
ภายหลัง. เมื่อภิกษุถือเอาพ้นการซื้อขายไป ไม่เป็นอาบัติ แม้โดย
สิกขาบทข้างหน้า. (แต่) เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ประกอบการหาผลกำไร.

[อธิบายปัตตจตุกกะเป็นอุทาหรณ์]


อนึ่ง ผู้ศึกษาพึงทราบปัตตจตุกกะนี้ อันแสดงถึงความที่รูปิยสัพ-
โยหารสิกขาบทนี้หนัก. ความพิสดารว่า ภิกษุใด รับเอารูปิยะ แล้ว
จ้างให้ขุดแร่เหล็กขึ้นด้วยรูปิยะนั้น, ให้ช่างเหล็กถลุงแร่เหล็กนั้น แล้ว
ให้ทำบาตรด้วยโลหะนั้น. บาตรนี้ ชื่อว่า เป็นมหาอกัปปิยะ ภิกษุนั้น
ไม่อาจทำให้เป็นกัปปิยะได้ด้วยอุบายไร ๆ. ก็ถ้าว่า ทำลายบาตรนั้นแล้ว
ให้ช่างทำกระถาง. แม้กระถางนั้นก็เป็นอกัปปิยะ. ให้กระทำมีด แม้ไม้
สีพื้นที่ตัดด้วยมีดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ. ให้กระทำเบ็ด แม้ปลาที่เขาให้
ตายด้วยเบ็ดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ. ภิกษุให้ช่างเผาตัวมีดให้ร้อนแล้ว แช่
น้ำ หรือนมสดให้ร้อน. แม้น้ำและนมสดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะเช่นกัน.

ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า ก็ภิกษุใด รับรูปิยะแล้วซื้อบาตรด้วย
รูปิยะนั้น, แม้บาตรนี้ของภิกษุนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ ไม่สมควรแม้แก่
สหธรรมิกทั้ง 5. แต่ภิกษุนั้นอาจทำบาตรนั้น ให้เป็นกัปปิยะได้. จริง
อยู่ บาตรนั้น จะเป็นกัปปิยะได้ ต่อเมื่อให้มูลค่าแก่เจ้าของมูลค่า และ
เมื่อให้บาตรแก่เจ้าของบาตร. ภิกษุจะให้กัปปิยภัณฑ์แล้วรับเอาไปใช้สอย
สมควรอยู่.
ฝ่ายภิกษุใด ให้รับเอารูปิยะไว้แล้วไปยังตระกูลช่างเหล็กกับด้วย
กัปปิยการก เห็นบาตรแล้วพูดว่า บาตรนี้ เราชอบใจ. และกัปปิยการก
ให้รูปิยะนั้นแล้ว ให้ช่างเหล็กตกลง. แม้บาตรใบนี้ อันภิกษุนั้นถือเอา
โดยกัปปิยโวหาร เป็นเช่นกับบาตรใบที่ 2 นั่นเอง จัด เป็นอกัปปิยะ
เหมือนกัน เพราะภิกษุรับมูลค่า.
ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่ควรแก่สหธรรมิกที่เหลือ ?
แก้ว่า เพราะไม่เสียสละมูลค่า.
อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รับรูปิยะไปยังตระกูลช่างเหล็ก พร้อมกับกัปปิย-
การกที่ทายกส่งมาว่า ท่านจงซื้อบาตรถวายพระเถระ เห็นบาตรแล้ว ให้
กัปปิยการกจ่ายกหาปณะว่า เธอจงรับเอากหาปณะเหล่านี้แล้ว ให้บาตรนี้
แล้วได้ถือเอาไป. บาตรนี้ ไม่ควรแก่ภิกษุรูปนี้เท่านั้น เพราะจัดการไม่
ชอบ, แต่ควรแก่ภิกษุเหล่าอื่น เพราะไม่ได้รับมูลค่า.
ได้ทราบว่า อุปัชฌาย์ของพระมหาสุมเถระ มีชื่อว่าอนุรุทธเถระ.
ท่านบรรจุบาตรเห็นปานนี้ของตนให้เต็ม ด้วยเนยใสแล้ว สละแก่สงฆ์.

พวกสัทธิวิหาริกแม้ของพระจุลนาคเถระผู้ทรงไตรปิฏก ก็ได้มีบาตร
เช่นนั้นเหมือนกัน. พระเถระสั่งให้บรรจุบาตรนั้นให้เต็ม ด้วยเนยใสแล้ว
ให้เสียสละแก่สงฆ์ ดังนี้แล. นี้ชื่ออกัปปิยปัตตจตุกกะ. ก็ถ้าว่า ภิกษุ
ไม่รับรูปิยะไปสู่ตระกูล แห่งช่างเหล็ก พร้อมด้วยกัปปิยการกที่ทายกส่งมา
ว่า เธอจงซื้อบาตรถวายพระเถระ เห็นบาตรแล้วกล่าวว่า บาตรนี้เรา
ชอบใจ หรือว่า เราจักเอาบาตรนี้, และกัปปิยการกจ่ายรูปิยะนั้นให้แล้ว
ให้ช่างเหล็กยินยอมตกลง. บาตรนี้สมควรทุกอย่าง ควรแก่การบริโภค
แม้เเห่งพระพุทธทั้งหลาย.
สองบทว่า อรูปิเย รูปิยสญฺญี ได้แก่ มีความสำคัญในทองเหลือง
เป็นต้น ว่าเป็นทองคำเป็นต้น.
สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า ถ้าภิกษุซื้อขายสิ่งที่มิใช่
รูปิยะ.. ด้วยสิ่งที่มิใช่รูปิยะ ซึ่งมีความสำคัญว่าเป็นรูปิยะนั้น เป็นอาบัติ
ทุกกฏ. ในภิกษุผู้มีความสงสัย ก็มีนัยอย่างนี้. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ
มีความสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ แม้กระทำการซื้อขาย กับด้วย สหธรรมิก 5
ว่า ท่านจงถือเอาสิ่งนี้แล้วให้สิ่งนี้. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 6 เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ เป็น
อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3
ดังนี้แล.
รูปิยสัพโยหาร สิกขาบทที่ 9 จบ

โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 10
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร


[113] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
ท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็นผู้ชำนาญทำจีวรกรรม เธอเอาผ้าเก่า ๆ
ทำผ้าสังฆาฏิย้อมแต่งดีแล้วใช้ห่ม
ขณะนั้นแล ปริพาชกผู้หนึ่งห่มผ้ามีราคามาก เข้าไปหาท่านพระ-
อุปนันทศากยบุตรถึงสำนัก ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุปนันท-
ศากยบุตรว่า ผ้าสังฆาฏิผืนนี้ของท่านงามแท้ จงแลกกันกับผ้าของข้าพเจ้า
เถิด
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า ท่านจงรู้เอาเองเถิด
ปริพาชกตอบสนองว่า ข้าพเจ้ารู้ ขอรับ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรตอบว่า ตกลง ขอรับ แล้วได้ให้ไป
จึงปริพาชกนั้น ได้ห่มผ้าสังฆาฏิผืนนั้น ไปสู่ปริพาชการาม
พวกปริพาชกพากันรุมถามปริพาชกผู้นั้นว่า สังฆาฏิผืนนี้ของท่าน
ช่างงามจริง ท่านได้มาแต่ไหน
ปริพาชกผู้นั้นตอบว่า ผมเอาผ้าของผมผืนนั้นแลกเปลี่ยนมา
พวกปริพาชกกล่าวว่า ผ้าสังฆาฏิของท่านผืนนี้จักอยู่ได้สักกี่วัน ผ้า
ของท่านผืนนั้นแหละดีกว่า
ปริพาชกผู้นั้นเห็นจริงว่า ปริพาชกทั้งหลายพูดถูกต้อง ผ้าสังฆาฎิ
ของเราผืนนี้ จักอยู่ได้สักกี่วัน ผ้าผืนนั้นของเราดีกว่า แล้วเข้าไปหา