เมนู

ที่ชื่อว่าสีสูปคะ เพราะอรรถว่า ประดับศีรษะ. ก็ในคัมภีร์ทั้งหลายเขียนไว้
ว่า สีสูปกํ ก็มี. คำว่า สีสูปกํ นี้ เป็นชื่อของเครื่องประดับศีรษะชนิด
ใดชนิดหนึ่ง. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.
ในบทว่า กเตน กตํ เป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบการซื้อขายด้วย
รูปิยะล้วน ๆ เท่านั้น.
ข้าพเจ้า จักกล่าววินิจฉัยในบทว่า รูปิเย รูปิยสญฺญี เป็นต้น
ต่อไป:- บรรดาวัตถุที่กล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน เมื่อภิกษุซื้อขาย
นิสสัคคิยวัตถุด้วยนิสสัคคิยวัตถุ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยสิกขาบทก่อน
ในเพราะการรับมูลค่า, ในเพราะการซื้อขายของอื่น ๆ เป็นนิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์ด้วยสิกขาบทนี้แล. แต่เมื่อซื้อขายทุกกฏวัตถุ หรือกัปปิยวัตถุ
ด้วยนิสสัคคิยวัตถุ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

[ว่าด้วยการซื้อขายรูปิยะด้วยรูปิยะเป็นต้น]


จริงอยู่ ผู้ศึกษาพึงทราบติกะว่า ภิกษุมีความสำคัญในรูปิยะว่าเป็น
รูปิยะ ซื้อขายสิ่งที่มิใช่รูปิยะ เป็นต้น นี้ เป็นอีกติกะหนึ่ง ซึ่งแม้มิได้
ตรัสไว้ เพราะอนุโลมแก่ติกะที่สองที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุมีความสำคัญในสิ่ง
ที่มิใช่รูปิยะว่าเป็นรูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นต้นนี้. แท้จริง ภิกษุซื้อขาย
รูปิยะของผู้อื่นด้วยสิ่งมิใช่รูปิยะของตนก็ดี ซื้อขายสิ่งที่มิใช่รูปิยะของ
ผู้อื่นด้วยรูปิยะของตนก็ดี แม้โดยการซื้อขายทั้งสองประการ ก็จัดเป็น
ทำการซื้อขายด้วยรูปิยะเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ในบาลี จึงตรัสไว้ติกะ
เดียวเท่านั้น ในฝ่ายรูปิยะข้างเดียวฉะนี้แล.
ก็เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุแห่งนิสสัคคีย์ ด้วยวัตถุแห่งทุกกฏ เป็น

ทุกกฏด้วยสิกขาบทก่อน ในเพราะการรับมูลค่า. เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
ด้วยสิกขาบทนี้ ในเพราะแลกเปลี่ยนในภายหลัง เพราะซื้อขายของหนัก.
เมื่อซื้อขายทุกกฏวัตถุนั่นแหละ หรือกัปปิยวัตถุ ด้วยวัตถุแห่งทุกกฏ
เป็นทุกกฏด้วยสิกขาบทก่อน ในเพราะการรับมูลค่า, เป็นทุกกฏเช่นกัน
ด้วยสิกขาบทนี้ แม้ในเพราะแลกเปลี่ยนภายหลัง. เพราะเหตุไร ? เพราะ
ซื้อขายด้วยอกัปปิยวัตถุ.
ส่วนในอรรถกถาอันธกะ ท่านกล่าวว่า ถ้าภิกษุถึงการซื้อขายเป็น
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ คำนั้น ท่านกล่าวไว้ไม่ชอบ. เพราะเหตุไร ? เพราะ
ชื่อว่าการซื้อขาย นอกจากการให้และการรับ ไม่มี. และกยวิกกยสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาการแลกเปลี่ยนกัปปิยวัตถุด้วยกัปปิยวัตถุ
เท่านั้น. ก็แลการแลกเปลี่ยนนั้นนอกจากพวกสหธรรมิก.
สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาการซื้อขายรูปิยะ และ
สิ่งมิใช่รูปิยะด้วยรูปิยะ และการซื้อขายรูปิยะด้วยสิ่งมิใช่รูปิยะ, ส่วนการ
ซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฏด้วยวัตถุแห่งทุกกฏ มิได้ตรัสไว้ในบาลีในสิกขาบท
นี้ (และ) มิได้ตรัสไว้ในบาลีในกยวิกกสิกขาบทนั้นเลย. ก็ในการซื้อ
ขายวัตถุแห่งทุกกฏ ด้วยวัตถุแห่งทุกกฏนี้ ไม่ควรจะ (เป็นอนาบัติ).
เพราะฉะนั้น พวกอาจารย์ผู้รู้พระประสงค์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้
กล่าวคำว่า ในเพราะรับวัตถุแห่งทุกกฏ เป็นทุกกฏ ฉันใด, แม้ในเพราะ
ซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฏนั้น ด้วยวัตถุแห่งทุกกฏนั้นนั่นแล เป็นทุกกฏ ก็
ชอบแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน.
อนึ่ง เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุนิสสัคคีย์ ด้วยกัปปิยวัตถุ เป็นอนาบัติ
ด้วยสิกขาบทก่อนในเพราะการรับมูลค่า, เป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ด้วย

สิกขาบทนี้ ในเพราะแลกเปลี่ยนภายหลัง. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งมิใช่รูปิยะว่าไม่ใช่รูปิยะ ซื้อ
ขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฏด้วย
กัปปิยวัตถุนั้นนั่นแหละ ไม่เป็นอาบัติ เหมือนอย่างนั้น ในเพราะการ
รับมูลค่า, เป็นทุกกฏด้วยสิกขาบทนี้ ในเพราะการแลกเปลี่ยนภายหลัง.
เพราะเหตุไร ? เพราะซื้อขายสิ่งเป็นอกัปปิยะ.
อนึ่ง เมื่อภิกษุแลกเปลี่ยนกัปปิยวัตถุ ด้วยกัปปิยวัตถุ นอกจาก
พวกสหธรรมิก ไม่เป็นอาบัติ ด้วยสิกขาบทก่อน ในเพราะการรับมูลค่า.
เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์ด้วยวิกกยสิกขาบทข้างหน้า เพราะการแลกเปลี่ยน
ภายหลัง. เมื่อภิกษุถือเอาพ้นการซื้อขายไป ไม่เป็นอาบัติ แม้โดย
สิกขาบทข้างหน้า. (แต่) เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ประกอบการหาผลกำไร.

[อธิบายปัตตจตุกกะเป็นอุทาหรณ์]


อนึ่ง ผู้ศึกษาพึงทราบปัตตจตุกกะนี้ อันแสดงถึงความที่รูปิยสัพ-
โยหารสิกขาบทนี้หนัก. ความพิสดารว่า ภิกษุใด รับเอารูปิยะ แล้ว
จ้างให้ขุดแร่เหล็กขึ้นด้วยรูปิยะนั้น, ให้ช่างเหล็กถลุงแร่เหล็กนั้น แล้ว
ให้ทำบาตรด้วยโลหะนั้น. บาตรนี้ ชื่อว่า เป็นมหาอกัปปิยะ ภิกษุนั้น
ไม่อาจทำให้เป็นกัปปิยะได้ด้วยอุบายไร ๆ. ก็ถ้าว่า ทำลายบาตรนั้นแล้ว
ให้ช่างทำกระถาง. แม้กระถางนั้นก็เป็นอกัปปิยะ. ให้กระทำมีด แม้ไม้
สีพื้นที่ตัดด้วยมีดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ. ให้กระทำเบ็ด แม้ปลาที่เขาให้
ตายด้วยเบ็ดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ. ภิกษุให้ช่างเผาตัวมีดให้ร้อนแล้ว แช่
น้ำ หรือนมสดให้ร้อน. แม้น้ำและนมสดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะเช่นกัน.