เมนู

ลัชชี บิณฑบาตไม่เป็นธรรม, บิณฑบาตน่ารังเกียจ ไม่ควรรับเอา.
บุคคลเป็นลัชชี แม้บิณฑบาตก็เป็นธรรม ย่อมสมควร.

[อธิบายการยกย่องและการบริโภคอีกอย่างละ 2]


ยังมีการยกย่อง 2 อย่าง และการบริโภค 2 อย่างอีก คือ การ
ยกย่องลัชชี 1 การยกย่องอลัชชี 1 ธรรมบริโภค 1 อามิสบริโภค 1,
ในการยกย่องและการบริโภคนั้น การยกย่องลัชชี แก่อลัชชี สมควร.
เธอไม่ควรถูกปรับอาบัติ. ก็ถ้าว่า ลัชชียกย่องอลัชชี ย่อมเชื้อเชิญด้วย
อนุโมทนา เชื้อเชิญด้วยธรรมกถา อุปถัมภ์ในสกุลทั้งหลาย, แม้อลัชชี
นอกนี้ ก็กล่าวสรรเสริญเธอในบริษัทว่า อาจารย์ของพวกเราย่อมเป็นผู้
เช่นนี้และเช่นนี้, ภิกษุนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมทำพระศาสนาให้เสื่อม
ลง คือ ให้อันตรธานไป.
ก็บรรดาธรรมบริโภคและอามิสบริโภค ในบุคคลใด อามิสบริโภค
สมควร, ในบุคคลนั้น แม้ธรรมบริโภค ก็สมควร. ท่านกล่าวไว้ (ใน
อรรถกถาทั้งหลาย) ว่า ก็คัมภีร์ใด ตั้งอยู่ในสุดท้าย จักฉิบทายไป โดย
กาลล่วงไปแห่งบุคคลนั้น, จะเรียนเอาคัมภีร์นั้นเพื่ออนุเคราะห์ธรรม
ควรอยู่. ในการอนุเคราะห์ธรรมนั้น มีเรื่องต่อไปนี้:-

[เรื่องเรียนคัณฐะจากคนเลวเพื่ออนุเคราะห์ธรรม]


ได้ยินว่า ในยุคมหาภัย ได้มีภิกษุผู้ชำนาญมหานิเทศเพียงรูปเดียว
เท่านั้น. ครั้งนั้น พระอุปัชฌะของพระติสสเถระ ผู้ทรงนิกาย 4 ชื่อว่า
มหาติปิฎกเถระ กล่าวกะพระมหารักขิตเถระว่า อาวุโสมหารักขิต ! เธอ
จงเรียนเอามหานิเทศในสำนักแห่งภิกษุนั่นเถิด. เธอเรียนว่า ได้ทราบว่า
ท่านรูปนี้เลวทราม ขอรับ ! กระผมจักไม่เรียนเอา.

อุปัชฌาย์. เรียนไว้เถิดคุณ ! ฉันจักนั่งใกล้ ๆ เธอ.
พระเถระ. ดีละ ขอรับ ! เมื่อท่านนั่งอยู่ด้วย กระผมจักเรียนเอา
แล้วเริ่มเรียนติดต่อกันทั้งกลางคืนกลางวัน วันสุดท้ายเห็นสตรีภายใต้เตียง
แล้ว เรียนว่า ท่านขอรับ ! กระผมได้สดับมาก่อนแล้วทีเดียว, ถ้าว่า
กระผมพึงรู้อย่างนี้ จะไม่พึงเรียนธรรมในสำนักคนเช่นนี้เลย. ก็พระ-
มหาเถระเป็นอันมาก ได้เรียนเอาในสำนักของพระเถระนั้นแล้ว ได้
ประดิษฐานมหานิเทศไว้สืบมา.
อันทองและเงินแม้ทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ถึงการสงเคราะห์
ว่ารูปิยะทั้งนั้น ในคำว่า รูปิเย รูปิยสญฺญี นี้.
สองบทว่า รูปิเย เวมติโก มีความว่า เกิดมีความสงสัย โดยนัย
เป็นต้นว่า เป็นทองคำ หรือทองเหลือง*หนอ
สองบทว่า รูปิเย อรูปิยสญฺญี ความว่า มีความสำคัญในทองคำ
เป็นต้นว่า เป็นทองเหลืองเป็นต้น .
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ใคร่ในบุญทั้งหลาย มีนางสนมของพระราชา
เป็นต้น ถวายเงินและทองใส่ไว้ในภัต ของควรเคี้ยว ของหอมและ
กำยานเป็นต้น, ถวายแผ่นผ้าเล็ก ๆ รวมกับกหาปณะที่ขอดไว้ที่ชายผ้า
เป็นต้นต้นนั่นแหละ แก่ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวบิณฑบาตผ้า, ภิกษุทั้งหลาย
รับเอาด้วยสำคัญว่าภัตตาหารเป็นต้น หรือสำคัญว่าผ้, ภิกษุนี้ พึงทราบว่า
ผู้มีความสำคัญในรูปิยะว่ามิใ ช่รูปิยะ รันเอารูปิยะด้วยอาการอย่างนี้.
แต่ภิกษุผู้รับ พึงกำหนดให้ดีว่า วัตถุนี้เราได้ในเรือนหลังนี้
* วิมติ ขรปตฺตนฺติ ขรสงฺขาตํ สุวรฺณปฏิรูปกํ วตฺถุ แปลว่า ที่ชื่อว่า ขรปัตตะ ได้แก่ วัตถุ
ที่นับว่าแข็ง เทียมทองคำ. -ผู้ชำระ.

เพราะว่า ผู้ที่ถวายของด้วยไม่มีสติ ได้สติแล้วจะกลับมา (ทวงถาม).
ลำดับนั้น ภิกษุพึงบอกเขาว่า ท่านจงตรวจดูห่อผ้าของท่าน ดังนี้. บท
ที่เหลือในสิกขาบทนี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.
บรรดาสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 6 บางคราวเป็น
กิริยา เพราะต้องด้วยการรับ บางคราวเป็นอกิริยา เพราะไม่ทำการห้าม
จริงอยู่ รูปิยสิกขาบท อัญญวาทกสิกขาบท และอุปัสสุติสิกขาบท ทั้ง 3
มีกำหนดอย่างเดียวกัน เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ
กายกรรม วจีกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ฉะนี้แล.
รูปิยสิกขาบทที่ 8 จบ

โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 9
เรื่องพระฉัพพัคคีย์


[109] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระฉัพพัคคีย์ถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะ มีประการต่าง ๆ ชาวบ้านพากัน
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
จึงได้ถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่าง ๆ เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กามเล่า
ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
อยู่ บรรดาผู้ที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ
ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จงได้