เมนู

น้ำฝนไหลเข้าไป สมควรอยู่. แม้น้ำที่มาใหม่ซึ่งซื้อมาพร้อมกับสระ
โบกขรณีที่ซื้อมา (ด้วยวัตถุนั้น ) ก็ไม่ควร.
สงฆ์ตั้งวัตถุนั้นเป็นของฝาก (เก็บดอกผล) บริโภคปัจจัย แม้
ปัจจัยเหล่านั้น ก็ไม่ควรแก่เธอ. แม้อารามซึ่งเป็นที่อันสงฆ์รับไว้
(ด้วยวัตถุนั้น ) ก็ไม่ควรเพื่อบริโภคใช้สอย. ถ้าพื้นดินก็ดี พืชก็ดี เป็น
อกัปปิยะ, จะใช้สอยพื้นดิน จะบริโภคผลไม้ไม่ควรทั้งนั้น. ถ้าภิกษุ
ซื้อพื้นดินอย่างเดียว เพาะปลูกพืชอื่น, จะบริโภคผล ควรอยู่. ถ้าพืช
ภิกษุซื้อมาปลูกลงในพื้นดินอันเป็นกัปปิยะ จะบริโภคผล ไม่ควร. จะนั่ง
หรือนอนบนพื้นดิน ควรอยู่.
ข้อว่า สเจ โส ฉฑฺเฑติ มีความว่า เขาโยนทิ้งไป ที่แห่งใด
แห่งหนึ่ง. ถ้าแม้นเขาไม่ทิ้ง หรือถือเอาไปเสียเอง, ไม่พึงห้ามเขา
ข้อว่า โน เจ ฉฑฺเฑติ มีความว่า ถ้าเขาไม่ถือเอาไป และไม่
ทิ้งให้ หลีกไปตามความปรารถนา ด้วยใส่ใจว่า ประโยชน์อะไรของเรา
ด้วยการขวนขวายนี้, ลำดับนั้น สงฆ์พึงสมมติภิกษุผู้มีลักษณะตามที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเเล้ว ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ.

[ว่าด้วยองค์แห่งภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ]


ในคำว่า โย น ฉนฺทาคตึ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุผู้
กระทำวัตถุนั้นเพื่อตน หรือยกตนขึ้นอ้าง ด้วยอำนาจแห่งความโลภ
ชื่อว่า ย่อมถึงความลำเอียงเพราะชอบกัน. เมื่อรุกรานผู้อื่นด้วยอำนาจ
แห่งโทสะว่า ภิกษุนี้ไม่รู้แม่บทเลย ไม่รู้วินัย ชื่อว่า ย่อมถึงความ ลำเอียง
เพราะโทสะ. เมื่อถึงความเป็นผู้พลั้งเผลอและหลงลืมสติด้วยอำนาจโมหะ

ชื่อว่า ย่อมถึงความลำเอียงเพราะหลง. เมื่อไม่อาจจะทิ้งเพราะกลัวภิกษุ
ผู้รับรูปิยะ ชื่อว่าย่อมถึงความลำเอียงเพราะกลัว. ภิกษุผู้ไม่กระทำอย่างนี้
บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมไม่ถึงความลำเอียงเพราะชอบกัน ฯลฯ ย่อมไม่ถึง
ความลำเอียงเพราะกลัว.
สองบทว่า อนิมิตฺตํ กตฺวา ได้แก่ ไม่กระทำให้มีที่หมาย. อธิบายว่า
ภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะนั้น หลับตาแล้ว ไม่เหลียวดูดุจคูถคือไม่กำหนดหมายที่ตก
พึงทิ้งให้ตกไปในแม่น้ำ ในเหว หรือในพุ่มไม้. ในรูปิยะแม้อันภิกษุ
พึงรังเกียจอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสบอกการบริโภคใช้สอย แก่
ภิกษุทั้งหลายโดยปริยาย. ก็การบริโภคปัจจัยที่เกิดขึ้นจากรูปิยะนั้น ย่อม
ไม่สมควรแก่ภิกษุผู้รับรูปิยะ โดยปริยายไร ๆ เลย. ก็การบริโภคปัจจัย
ที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ควรแก่ภิกษุผู้รับรูปิยะนั่น ฉันใด. ปัจจัยที่เกิดขึ้น เพราะ
การอวดอุตริมนุสธรรมอันไม่มีจริงก็ดี เพราะกุลทูสกกรรมก็ดี เพราะ
การหลอกลวงเป็นต้นก็ดี ย่อมไม่ควรแก่ภิกษุนั้น และแก่ภิกษุอื่น ฉันนั้น
ถึงปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยธรรมโดยสม่ำเสมอ ยังไม่ได้พิจารณา จะบริโภค
ก็ไม่ควร.

[อธิบายการบริโภคปัจจัยมี 4 อย่าง]


จริงอยู่ การบริโภค มี 4 อย่าง คือ ไถยบริโภค (บริโภคอย่าง
ขโมย ) 1 อิณบริโภค (บริโภคอย่างเป็นหนี้ ) 1 ทายัชชบริโภค (บริโภค
อย่างเป็นผู้รับมรดก) 1 สามีบริโภค (บริโภคอย่างเป็นเจ้าของ) 1. บรรดา
การบริโภค 4 อย่างนั้น การบริโภคของภิกษุผู้ทุศีลซึ่งนั่งบริโภคอยู่
แม้ในท่ามกลางสงฆ์ ชื่อว่า ไถยบริโภค. การบริโภคไม่พิจารณาของ