เมนู

โกสิยวรรคที่ 2 สิกขาบทที่ 8


พรรณนารูปิยสิกขาบท


รูปิยสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-
ในรูปิยสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า ปฏิวึโส แปลว่า ส่วน.
ในบทว่า ชาตรูปรชตํ นี้ คำว่า ชาตรูป เป็นชื่อแห่งทองคำ.
ก็เพราะทองคำนั้นเป็นเช่นกับพระฉวีวรรณแห่งพระตถาคต; เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวไว้ในบทภาชนะว่า ท่านเรียกพระฉวีวรรณของพระศาสดา.
เนื้อความแห่งบทภาชนะนั้นว่า โลหะพิเศษมีสีเหมือนพระฉวีวรรณของ
ของพระศาสดา นี้ชื่อว่า ชาตรูป (ทองคำธรรมชาติ ). ส่วนเงินท่านเรียก
ว่า รูปิยะ. ในคำทั้งหลายว่า สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง เป็นต้น.
แต่ในสิกขาบทนี้ ท่านประสงค์เอากหาปณะเป็นต้นอย่างใดอย่างอย่างหนึ่ง
ที่ให้ถึงการซื้อขายได้. เพราะเหตุนั้นนั่นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า รชตํ
นั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า กหาปณะ โลหมาสก ดังนี้ เป็นต้น.

[อธิบายวัตถุแห่งนิสสัคคีย์และทุกกฏ]


บรรดาบทว่า กหาปณะ เป็นต้นนั้น กหาปณะที่เขาทำด้วย
ทองคำก็ดี ทำด้วยเงินก็ดี กหาปณะธรรมดาก็ดี ชื่อว่า กหาปณะ.
มาสกที่ทำด้วยแร่ทองแดงเป็นต้น ชื่อว่า โลหมาสก.
มาสกที่ทำด้วยไม้แก่นก็ดี ด้วยข้อไม้ไผ่ก็ดี โดยที่สุดแม้มาสกที่เขา
ทำด้วยใบตาลสลักเป็นรูป ก็ชื่อว่า มาสกไม้.

มาสกที่เขาทำด้วยครั่งก็ดี ด้วยยางก็ดี ดุนให้เกิดรูปขึ้น ชื่อว่า
มาสกยาง.
ก็ด้วยบทว่า เย โวหารํ คจฺฉนฺติ นี้ ท่านสงเคราะห์เอามาสก
ทั้งหมดที่ใช้เป็นมาตราซื้อขายในชนบท ในเวลาซื้อขายกัน โดยที่สุดทำ
ด้วยกระดูกบ้าง ทำด้วยหนังบ้าง ทำด้วยเมล็ดผลไม้บ้าง ดุนให้เป็นรูปบ้าง
มิได้ดุนให้เป็นรูปบ้าง. วัตถุทั้ง 4 อย่าง คือ เงิน ทอง ทั้งหมดนี้อย่างนี้
(และ) มาสกทอง มาสกเงิน มีประเภทดังกล่าวแล้วแม้ทั้งหมด จัดเป็น
วัตถุแห่งนิสสัคคีย์, วัตถุนี้ คือ มุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ
ทับทิม บุพราคัม ธัญชาติ 7 ชนิด ทาสหญิง ทาสชาย นาไร่ สวนดอกไม้
สวนผลไม้เป็นต้น จัดเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. วัตถุนี้ คือ ด้าย ผาลไถ ผืนผ้า
ฝ้ายอปรัณชาติมีอเนกประการ และเภสัช มีเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง
น้ำอ้อยงบเป็นต้น จัดเป็นกัปปิยวัตถุ.
บรรดานิสสัคคิยวัตถุและทุกกฏวัตถุนั้น ภิกษุจะรับนิสสัคคิยวัตถุ
เพื่อประโยชน์ตนเอง หรือเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะบุคคลและเจดีย์
เป็นต้น ย่อมไม่ควร, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รับเพื่อประโยชน์
แก่ตนเอง. เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้รับเพื่อประโยชน์แก่สิ่งที่เหลือ เป็น
ทุกกฏอย่างเดียว แก่ภิกษุผู้รับทุกกฏวัตถุ เพื่อประโยชน์ทุกอย่าง, ไม่เป็น
อาบัติในกัปปิยวัตถุ. เป็นปาจิตตีย์ด้วยอำนาจที่มาในรัตนสิกขาบทข้างหน้า
แก่ภิกษุผู้รับวัตถุมีเงินเป็นต้นแม้ทั้งหมด ด้วยหน้าที่แห่งภัณฑาคาริก
เพื่อต้องการจะเก็บไว้.

[ว่าด้วยการรับ การใช้ให้รับ และวิธีปฏิบัติในรูปิยะ]


บทว่า อุคฺคณฺเหยฺย แปลว่า พึงถือเอา. ก็เพราะเมื่อภิกษุรับเอา
จึงต้องอาบัติ; ฉะนั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า อุคฺคณฺเหยฺย นั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า ภิกษุรับเอง เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. แม้ในบทที่เหลือ ก็มี
นัยอย่างนี้ .
ในการรับเองและใช้ให้รับนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
เป็นอาบัติตัวเดียวแก่ภิกษุผู้รับเอง หรือใช้ให้รับวัตถุสิ่งเดียว ใน
บรรดาภัณฑะ คือ ทองเงิน ทั้งกหาปณะ และมาสก. ถ้าแม้นว่า ภิกษุ
รับเอง หรือใช้ให้รับตั้งพันอย่างรวมกัน, เป็นอาบัติมากตามจำนวนวัตถุ.
แต่ในมหาปัจจรีและกุรุนที กล่าวรวมกันว่า เป็นอาบัติ โดยนับรูป
ในถุงที่ผูกไว้หย่อน ๆ หรือในภาชนะที่บรรจุไว้หลวม ๆ. ส่วนในถุงที่
ผูกไว้แน่น หรือในภาชนะที่บรรจุแน่น เป็นอาบัติตัวเดียวเท่านั้น.
ส่วนในการยินดีเงินทองที่เขาเก็บไว้ มีวินิจฉัยดังนี้:- เมื่อเขา
กล่าวว่า นี้เป็นของพระผู้เป็นเจ้า ถ้าแม้นภิกษุยินดีด้วยจิต เป็นผู้
ใคร่เพื่อจะรับเอาด้วยกายหรือวาจา, แต่ปฏิเสธว่า นี้ไม่ควร ไม่เป็น
อาบัติ. แม้ไม่ห้ามด้วยกายและวาจา เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์ ไม่ยินดีด้วยคิดว่า
นี้ไม่ควรแก่เรา ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน. จริงอยู่ บรรดาไตรทวาร
อันภิกษุห้ามแล้วด้วยทวารใดทวารหนึ่ง ย่อมเป็นอันห้ามแล้วแท้. แต่ถ้า
ไม่ห้ามด้วยกายและวาจา รับอยู่ด้วยจิต ย่อมต้องอาบัติ ในกายทวาร
และวจีทวาร มีการไม่กระทำเป็นสมุฏฐาน เพราะไม่กระทำการห้ามที่ตน
พึงกระทำด้วยกายและวาจา. แต่ ชื่อว่า อาบัติ ทางมโนทวาร ไม่มี.
บุคคลคนเดียววางเงินทองตั้งร้อยตั้งพันไว้ใกล้เท้า ด้วยกล่าวว่า นี้ จงเป็น