เมนู

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุมีชื่อผู้นี้อาพาธ ไม่สามารถ
จะนำสันถัตไปด้วยได้ เธอขอสมมติสันถัตต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สมมติสันถัต
แก่ภิกษุมีชื่อนี้ การให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน
ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด การสมมติสันถัต
อันสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุมีชื่อนี้ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรง
ความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


33. 4. ก. ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ 6 ฝน
ถ้ายังหย่อนกว่า 6 ฝน เธอสละเสียแล้วก็ดี ยังไม่สละแล้วก็ดี ซึ่ง
สันถัตนั้น ให้ทำสันถัตอื่นใหม่ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมิต เป็นนิส-
สัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุอาพาธ จบ

สิกขาบทวิภังค์


[88] ที่ชื่อว่า ใหม่ ตรัสหมายการทำขึ้น.
ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่เขาหล่อ ไม่ใช่ทอ.
บทว่า ให้ทำแล้ว คือ ทำเองก็ตาม ใช้ให้ขาทำก็ตาม
บทว่า พึงทรงไว้ให้ได้ 6 ฝน คือ พึงทรงไว้ให้ได้ 6 ฝนเป็น
อย่างเร็ว.

บทว่า ถ้ายังหย่อนกว่า 6 ฝน คือ ยังไม่ถึง 6 ฝน.
บทว่า สละเสียแล้วก็ดี...ซึ่งสันถัตนั้น คือ ให้แก่คนอื่นไป.
บทว่า ยังไม่สละแล้วก็ดี คือ ยังไม่ได้ให้แก่ใครๆ.
บทว่า เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ คือ ยกเว้น ภิกษุผู้ได้รับสมมติ
ภิกษุทำเองก็ตาม ใช้ให้เขาทำก็ตาม ซึ่งสันถัตอื่นใหม่ เป็นทุกกฏ
ในประโยคที่ทำ เป็นนิสสัคคีย์ด้วยได้สันถัตมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ
หรือบุคคล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละสันถัตนั้น อย่างนี้:-

วิธีสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์


ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า
ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
ท่านเจ้าข้า สันถัตผืนนี้ของข้าพเจ้า ให้ทำหย่อนกว่า 6 ฝน
เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ เป็นของจำจะสละ ข้าพเจ้าสละสันถัตผืนนี้
แก่สงฆ์
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ
พึงคืนสันถัตที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้
เป็นของจำจะสละ เธอสละแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์
ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุมีชื่อนี้