เมนู

ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำ
ของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้
ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงได้ให้เขาทำสันถัตใช้
ทุก ๆ ปี วอนขอเขาอยู่ร่ำไปว่า ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม อาตมา
ต้องการขนเจียม ดังนี้เล่า การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ
เลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของ
พวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
และเพื่อความเป็นอย่างอี่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ทรงบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนภิกษุทั้งหลายโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว
ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็น
คนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน
ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมัก
น้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส
การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำ
ธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย
แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความ

รับว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อบุคคลผู้เก้อ-
ยาก 1 เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะ
อันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต 1
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1 เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแต่งพระสัทธรรม 1 เพื่อ
ถือตามพระวินัย 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


33. 4. อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้ให้ได้ 6
ฝน ถ้ายังหย่อนกว่า 6 ฝน เธอสละเสียแล้วก็ดี ยังไม่สละแล้วก็ดี
ซึ่งสันถัตนั้น ให้ทำสันถัตอื่นใหม่ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่
ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ

พระอนุบัญญัติ


เรื่องภิกษุอาพาธ


[87] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธอยู่ในพระนครโกสัมพี
พวกญาติส่งทูตไปในสำนักภิกษุรูปนั้นว่า นิมนต์ท่านมา พวกผมจัก