เมนู

สันถัตทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ เป็นนิสสัคคีย์ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุทำต่อให้สำเร็จเอง เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สันถัตคนอื่นทำค้างไว้ ภิกษุใช้ผู้อื่นทำต่อจนสำเร็จ เป็นนิสสัคคีย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ


ภิกษุทำเองก็ดี ใช้ผู้อื่นทำก็ดี เพื่อใช้เป็นของอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุได้สันถัตที่คนอื่นทำไว้แล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[85] ภิกษุถือเอาขนเจียมขาว 1 ชั่ง ขนเจียมแดง 1 ชั่ง แล้ว
ทำ 1 ภิกษุถือเอาขนเจียมขาวมากกว่า ขนเจียมแดงมากกว่า แล้วทำ 1
ภิกษุถือเอาขนเจียมขาวล้วน ขนเจียมแดงล้วน แล้วทำ 1 ภิกษุทำเป็น
เพดานก็ดี เป็นเครื่องลาดพื้นก็ดี เป็นม่านฟูกก็ดี เป็นเปลือกก็ดี เป็น
ปลอกหมอนก็ดี 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 3 จบ

โกสิยวรรคที่ 2 สิกขาบทที่ 3


พรรณนาเทวภาคสิกขาบท


เทวภาคสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว
ต่อไป:- ในเทวภาคสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
สองบทว่า อนฺเต อาทิยิตฺวา มีความว่า ให้ติดขนเจียมขาวไว้ที่
ชายแห่งสันถัตดุจอนุวาตที่ชายผ้าฉะนั้น.
สองบทว่า เทฺว ภาคา แปลว่า 2 ส่วน.
บทว่า อาทาตพฺพา แปลว่า พึงถือเอา.
บทว่า โคจริยานํ แปลว่า มีสีแดง.
คำว่า เทฺว ตุลา อาทาตพฺพา ท่านกล่าวหมายเอาภิกษุผู้ประสงค์
จะให้ทำด้วยขนเจียม 4 ส่วน. บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐานว่า ก็โดยใจ
ความ เป็นอันทรงแสดงคำนี้ทีเดียวว่า ภิกษุมีความประสงค์จะทำด้วยขน
เจียม มีประมานเท่าใด, ในขนเจียมมีประมาณเท่านั้น ขนเจียมดำ 2 ส่วน
ขนเจียมขาว 1 ส่วน ขนเจียมแดง 1 ส่วน. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
แม้สมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเหมือนโกสิยสิกขาบทนั่นเอง. สิกขาบท
นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า เป็นกิริยาและอกิริยาอย่างเดียว เพราะถือเอาและ
ไม่ถือเอาทำ ฉะนี้แล.
พรรณนาเทวภาคสิกขาบทที่ 3 จบ

โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 4
เรื่องภิกษุหลายรูป


[86] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น