เมนู

โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 3
เรื่องพระฉัพพัคคีย์


[82] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการกระทำสันถัตแห่ง
ขนเจียมดำล้วน จึงถือเอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัต แล้ว
ให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วนเหมือนอย่างเดิมนั่นแหละ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้
ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์
จึงได้ถือเอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน
เหมือนอย่างเดิมนั้นเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระ-
ฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอถือเอาขนเจียมขาว
หน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัด แล้วให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน
เหมือนอย่างเดิมนั่นแหละ จริงหรือ
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย
การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของ

สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้ถือเอาขนเจียมขาว
หน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัต แล้วให้ทำสันถัตแห่งขนเจียมดำล้วน
เหมือนอย่างเดิมนั้นเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็น
ไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็น
อย่างอื่น ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ทรงบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยายดังนี้
แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก
ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ
เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย
ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า
เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยอเนกปริยาย ทรง
กระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุ
ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความ
รับว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ-
ยาก 1 เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะ
อันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต 1