เมนู

ไม่ควร. ถ้าพวกเขาถวายกัปปิยภัณฑ์เสียเอง. ควรรับ, ถ้าพวกเขาไม่ถวาย,
ไม่ควรทวงไม่ควรเตือน. การที่จะตั้งกัปปิยการกในสระที่รับไว้ด้วยอำนาจ
แห่งปัจจัย ควรอยู่. แต่จะทำการโกยดินขึ้นและกั้นคันสระเป็นต้น ไม่
ควร, ถ้าพวกกัปปิยการก กระทำเองเท่านั้น, จึงควร. เมื่อลัชชีภิกษุ
ผู้ฉลาดใช้พวกกัปปิยการกทำการโกยดินขึ้นเป็นต้น สระน้ำจะเป็นกัปปิยะ
ในเพราะการรับ แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้นก็เป็นการบริโภคไม่ดี ดุจ
บิณฑบาตที่เจือยาพิษ และดุจโภชนะที่เจืออกัปปิยมังสะฉะนั้น เพราะ
กัปปิยภัณฑ์ที่เจือด้วยสิ่งของอันเกิดจากประโยคของภิกษุเป็นปัจจัย เป็น
อกัปปิยะแก่พวกภิกษุทั่วไปเหมือนกัน .
แต่ถ้ายังมีโอกาสเพื่อน้ำ ภิกษุจะจัดการเฉพาะน้ำเท่านั้นอย่างนี้ว่า
ท่านจงทำโดยประการที่คันของสระจะมั่นคง จุน้ำได้มาก คือ จงทำให้
น้ำเอ่อขึ้นปริ่มฝั่ง ดังนี้ ควรอยู่.

[วิธีปฏิบัติในพืชผลที่ได้เพราะอาศัยสระน้ำของวัดเป็นต้น]


ชนทั้งหลายกำลังดับไฟที่เตาไฟ จะกล่าวว่า พวกท่านจงได้อุทก-
กรรมก่อนเถิด อุบาสก ดังนี้ ก็ควร. แต่จะกล่าวว่า ท่านจงกระทำข้าวกล้า
แล้วนำมา ไม่ควร. ก็ถ้าว่า ภิกษุเห็นน้ำในสระมากเกินไป ให้ชักเหมือง
ออกจากด้านข้าง หรือด้านหลัง ให้ถางป่า ให้ทำคันนาทั้งหลาย ไม่ถือ
ส่วนปกติในคันนาเดิม ถือเอาส่วนที่เกิน, กะเกณฑ์เอากหาปณะว่า ท่าน
ทั้งหลายจงให้กหาปณะประมาณเท่านี้ ในข้าวกล้านอกฤดูกาล หรือใน
ข้าวกล้าใหม่ซึ่งไม่ได้กำหนดไว้, เป็นอกัปปิยะแก่ภิกษุทุกรูป.

อนึ่ง ภิกษุใด ไม่ได้กล่าวว่า พวกท่านจงไถ จงหว่าน กะพื้น
ที่อย่างนี้ว่า สำหรับฟื้นที่เท่านี้ มีส่วนชื่อประมาณเท่านี้ก็ดี เมื่อพวก
ชาวนา กล่าวว่า พวกผมกระทำข้าวกล้าในส่วนฟื้นที่เท่านี้, ท่านทั้งหลาย
จงถือเอาส่วนชื่อประมาณเท่านี้ เอาเชือก หรือไม้เท้าวัดเพื่อกำหนด
ประมาณพื้นที่ก็ดี ยืนรักษาอยู่ที่ลานก็ดี ให้ขนออกจากลานไปก็ดี ให้เก็บ
ไว้ในฉางก็ดี ผลที่เกิดขึ้นจากพื้นที่นั้น เป็นอกัปปิยะ แก่ภิกษุรูปนั้น
เท่านั้น.
ถ้าชาวนาทั้งหลายนำกหาปณะมากล่าวว่า กหาปณะเหล่านี้พวกผม
นำมาเพื่อสงฆ์, และภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง กล่าวว่า ท่านจงนำผ้ามาด้วย
กหาปณะเท่านี้, จงจัดข้าวยาคูเป็นต้นด้วยกหาปณะประมาณเท่านี้ ด้วย
ความสำคัญว่า สงฆ์ไม่รับกหาปณะ สิ่งของที่พวกเขานำมา เป็นอกัปปิยะ
แก่พวกภิกษุทั่วไป. ถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะภิกษุจัดการ
กหาปณะ.
ถ้าพวกชาวนานำข้าวเปลือกมากล่าวว่า ข้าวเปลือกนี้ พวกผมนำมา
เพื่อสงฆ์, และภิกษุรูปใดรูปหนึ่งกล่าวว่า พวกท่านจงนำเอาสิ่งนี้และ
สิ่งนี้มาด้วยข้าวเปลือกประมาณเท่านี้ โดยนัยก่อนนั่นแล สิ่งของที่พวก
เขานำมา เป็นอกัปปิยะเฉพาะแก่ภิกษุนั้นเท่านั้น. เพราะเหตุไร ? เพราะ
ภิกษุจัดการข้าวเปลือก.
ถ้าพวกเขานำเอาข้าวสาร หรืออปรัณชาติมากล่าวว่า พวกผมนำ
สิ่งของนี้มาเพื่อสงฆ์. และภิกษุรูปใดรูปหนึ่งกล่าวว่า พวกท่านจงนำเอา
สิ่งนี้ และสิ่งนี้มาด้วยข้าวสารมีประมาณเท่านี้ โดยนัยก่อนนั่นแล, สิ่งของ
ที่พวกเขานำมา เป็นกัปปิยะแก่ภิกษุทั้งหมด. เพราะเหตุไร ? เพราะ

ภิกษุจัดการข้าวสารเป็นต้นที่เป็นกัปปิยะ. ไม่เป็นอาบัติแม้ในเพราะซื้อขาย
เพราะบอกกัปปิยการก.
แต่ในครั้งก่อน ภิกษุรูปหนึ่งที่จิตตลดาบรรพต ได้กระทำมณฑล
(รูปดวงจันทร์) ไว้ ที่พื้นดิน ใกล้ประตูศาลา 4 มุข เพื่อให้เกิดความ
เข้าใจแก่พวกคนวัดโดยรำพึงว่า โอหนอ ! พวกคนวัดพึงทอดขนม
ประมาณเท่านี้ เพื่อสงฆ์ในวันพรุ่งนี้. อารามิกชนผู้ฉลาด เห็นมณฑล
นั้น (รูปดวงจันทร์) แล้ว ได้ทำอย่างนั้น ในวันที่สอง เมื่อพวกเขา
ตีกลองประชุมสงฆ์แล้ว จึงถือขนมไปเรียนพระสังฆเถระว่า ท่านขอรับ !
ในกาลก่อนนี้ พวกผมไม่เคยได้ยินบิดามารดา ไม่เคยได้ฟังปู่ย่าตายาย
(บอกเล่าเหตุการณ์) อย่างนี้เลย, พระคุณเจ้ารูปหนึ่งได้ทำเครื่องหมาย
ที่ประตูศาลา 4 มุข เพื่อประโยชน์แก่ขนม, บัดนี้จำเดิมแต่นี้ไป พระ-
คุณเจ้าทั้งหลาย จงบอกตามความพอใจของตน ๆ เถิด, แม้พวกผมก็จัก
อยู่เป็นผาสุก. พระมหาเถระกลับจากที่นั้นทันที. แม้ภิกษุรูปหนึ่งก็ไม่
รับขนมเลย. ในกาลก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่ฉันแม้ขนมที่เกิดขึ้นใน
อารามนั้น อย่างนี้; เพราะฉะนั้น
ภิกษุ ผู้ไม่ประมาท ไม่ละการปฏิบัติขัดเกลา
ไม่พึงกระทำความโลเล เพื่อประโยชน์แก่อามิส
แม้ในสั่งที่เป็นกัปปิยะ ฉะนี้แล.

อนึ่ง แม้ในสระโบกขรณี ฝายและเหมืองเป็นต้น ก็มีนัยดังนี้
ที่กล่าวไว้แล้วในสระนี้เหมือนกัน. แม้เมื่อทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายนา
หรือว่าสวน อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสถานที่เพาะปลูกบุพพัณชาติ
อปรัณชาติ อ้อยและมะพร้าวเป็นต้น ภิกษุพึงปฏิเสธว่า ไม่ควร แล้ว

ปฏิบัติโดยนัยดังกล่าวแล้วในสระนั่นแล. ในเวลาเขากล่าวด้วยกัปปิย-
โวหารว่า ข้าพเจ้าถวายเพื่อประโยชน์แก่การบริโภคปัจจัย 4 ภิกษุควรรับ,
ก็เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายสวน, ถวายป่า ควรจะรับไว้.
ถ้าพวกชาวบ้านมิได้ถูกภิกษุบังคับเลย ตัดต้นไม้ ในป่านั้น ยัง
อปรัณชาติเป็นต้น ให้ถึงพร้อมแล้ว ถวายสวนแก่ภิกษุทั้งหลาย,
จะรับก็ควร. พวกเขาไม่ถวาย, ไม่ควรทวง ไม่ควรเตือน.
ถ้าเมื่อพวกเขาพากันอพยพไป เพราะอันตรายบางอย่าง. คน
พวกอื่นทำ และไม่ถวายอะไร ๆ เลยแก่ภิกษุทั้งหลาย, พึงห้ามชนเหล่า
นั้น. ถ้าพวกเขากล่าวว่า แม้เมื่อก่อน พวกชาวบ้านได้กระทำข้าวกล้า
ในที่นี้มิใช่หรือ ขอรับ ! ลำดับนั้น พึงบอกเขาว่า พวกนั้นเขาได้ให้
กัปปิยภัณฑ์อย่างนี้ ๆ แก่สงฆ์. ถ้าพวกเขากล่าวว่า แม้พวกผมก็จักถวาย.
อย่างนี้ ควรอยู่.
พวกเขากล่าวหมายถึงภูมิประเทศที่เพาะปลูกข้าวกล้า บางแห่งว่า
ข้าพเจ้าจะถวายเขตแดน ควรอยู่. แต่ภิกษุทั้งหลาย ไม่ควรปักเสาหรือวาง
หิน เพื่อกำหนดเขตแดนเอง. เพราะเหตุไร ? เพราะธรรมดาว่า แผ่นดิน
มีค่านับไม่ได้, ภิกษุจะพึงเป็นปาราชิก แม้ด้วยเหตุเล็กน้อย. แต่พึงบอก
พวกอารามิกชนว่า เขตของพวกเราไปถึงที่นี้. ก็ถ้าแม้นว่าพวกเขาถือ
เอาเกินไปไม่เป็นอาบัติ เพราะกล่าวโดยปริยาย. ก็ถ้าว่าพระราชาและ
ราชอำมาตย์เป็นต้น ให้ปักเสาเองแล้วถวายว่า ขอท่านทั้งหลายจงบริโภค
ปัจจัย 4 เถิด การถวายนั้น ควรเหมือนกัน.

ถ้าใคร ๆ ขุดสระภายในเขตแดนสีมา หรือไขเหมืองไปโดยท่าม
กลางวัด ย่อมทำลายลานพระเจดีย์และลานโพธิ์เป็นต้น, พึงห้าม. ถ้าสงฆ์
ได้อะไร ๆ บางอย่างแล้ว ไม่ห้าม เพราะหนักในอามิส, ภิกษุรูปหนึ่งห้าม,
ภิกษุรูปนั้นเท่านั้น เป็นใหญ่. ถ้าภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า พวกท่านจงไขไป
ไม่ห้าม คือ เป็นพรรคพวกของชาวบ้านเหล่านั้นนั่นแล, สงฆ์ห้าม,
สงฆ์เท่านั้น เป็นใหญ่. จริงอยู่ ในกรรมอัน เป็นของสงฆ์ ภิกษุรูปใด
ทำกรรมเป็นธรรม. ภิกษุรูปนั้น เป็นใหญ่. ถ้าแม้บุคคลที่ถูกภิกษุห้าม
อยู่ ยังขืนกระทำ, พึงกลบดินร่วนที่เขาคุ้ยไว้ข้างล่างถมข้างล่าง กลบดิน
ร่วนที่เขาคุ้ยไว้ข้างบนถมข้างบนให้เต็ม.
พระมหาสุมเถระกล่าวว่า ถ้าใคร ๆ ประสงค์จะถวายอ้อย หรือ
อปรัณชาติ หรือผลไม้เถา มีน้ำเต้าและฟักเป็นต้น ตามที่เกิด
แล้วนั่นแหละ กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะถวายไร่อ้อย ไร่อปรัณชาติ หลุม
(เพาะปลูก) ผลไม้เถาทั้งหมดนี้ ดังนี้, ไม่ควร เพราะเขาระบุพร้อมวัตถุ
(ไร่). ส่วนพระมหาปทุมเถระ กล่าวว่า นั่นเป็นแต่เพียงโวหาร, เพราะ
ภูมิภาคนั่น ยังเป็นของพวกเจ้าของอยู่นั่นเอง; เพราะเหตุนั้น จึงควร.

[วิธีปฏิบัติในทาส คนวัด และปศุสัตว์ที่มีผู้ถวาย]


ทายกกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายทาส การถวายนั้น ไม่ควร. เมื่อเขา
กล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายคนวัด, ถวายไวยาวัจกร ถวายกัปปิยการก ดังนี้
จึงควร. ถ้าอารามิกชนนั้น ทำการงานของสงฆ์เท่านั้นทั้งก่อนภัตและ
ภายหลังภัต, ภิกษุพึงกระทำแม้การพยาบาลด้วยยาทุกอย่างแก่เขาเหมือน
กับสามเณร, ถ้าเขาทำการงานของสงฆ์ก่อนภัตเวลาเดียว, ภายหลังภัตไป