เมนู

ไม่บอกแก่ภิกษุเลย ไปเสีย. นี้ชื่อว่ากัปปิยการกผู้ออกปากเป็นเองต่อหน้า.
ทูตอีกคนหนึ่งมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมืออุปัฏฐากของภิกษุ หรือคน
อื่นสั่งว่า ท่านพึงถวายจีวรแก่พระเถระ แล้วหลีกไปจากที่นั่นทีเดียว. นี้
ชื่อว่า กัปปิยการกลับหลัง ; ฉะนั้น กัปปิยการกทั้งสองนี้จึงชื่อว่า กัปปิย-
การกที่ทูตไม่ได้แสดง. ในกัปปิยการกทั้ง 2 นี้ พึงปฏิบัติเหมือนในอัญญา-
ตกสิกขาบท และอัปปวาริตสิกขาบทฉะนั้น. ถ้ากัปปิยการกที่ทูตมิได้
แสดงทั้งหลาย นำจีวรมาถวายเอง ภิกษุพึงรับ, ถ้าไม่ได้นำมาถวาย,
อย่าพึงพูดคำอะไร ๆ.
ก็คำว่า ทูเตน จีวรเจตาปนํ ปหิเณยฺย นี้ สักว่าเป็นเทศนาเท่านั้น.
ถึงในพวกกัปปิยการกแม้ผู้นำอกัปปิยวัตถุมาถวาย เพื่อประโยชน์แก่
บิณฑบาตเป็นต้นด้วยตนเอง ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. ภิกษุจะรับเพื่อ
ประโยชน์แก่ตนเองอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สมควร.

[วิธีปฏิบัติในเรื่องเงินและทองที่มีผู้ถวาย]


ถ้าใคร ๆ นำเอาทองและเงินมากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายทองและเงิน
นี้แก่สงฆ์, ท่านทั้งหลายจงสร้างอาราม วิหาร เจดีย์ หรือหอฉันเป็นต้น
อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม, จะรับทองและเงินแม้นี้ไม่ควร. ในมหาปัจจรี
ท่านกล่าวไว้ว่า ด้วยว่าเป็นทุกกฏแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งผู้รับเพื่อประโยชน์
แก่ผู้อื่น. ก็ถ้าเมื่อภิกษุปฎิเสธว่า ภิกษุทั้งหลายจะรับทองและเงินนี้ ไม่
สมควร. เขากล่าวว่า ทองและเงินจักอยู่ในมือของพวกช่างไม้ หรือพวก
กรรมกร, ท่านทั้งหลายจงรับทราบการงานที่เขาทำดี และไม่ดีอย่างเดียว
ดังนี้แล้ว มอบไว้ในมือพวกช่างไม้ หรือพวกกรรมกรเหล่านั้นจึงหลีกไป,