เมนู

ป่วยกล่าวไปไย ในเรื่องหักการทวงและการยืน ของภิกษุผู้กระทำอย่างนี้
ในต่างวันกันเล่า ?
ข้อว่า ยตสฺส จีวรเจตาปนํ อาภฏํ มีความว่า ทรัพย์สำหรับ
จ่ายจีวร ที่เขานำมาเพื่อภิกษุนั้น จากพระราชา หรือจากราชอำมาตย์ใด.
ปาฐะว่า ยตฺราสฺส ก็มี เนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน. อาจารย์บางพวก
สวดว่า ยตฺถสฺส ก็มี และกล่าวอรรถว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรอันเขา
ส่งมาเพื่อภิกษุนั้นในที่โด. แต่ว่า พยัญชนะไม่สมกัน.
บทว่า ตตฺถ มีความว่า ในสำนักแห่งพระราชา หรือว่าราชอำมาตย์
นั้น. จริงอยู่ คำว่า ตตฺถ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่าใกล้.
ข้อว่า น ตํ ตสฺส ภิกฺขุโน กิญฺจ อตฺถํ อนุโภติ มีความว่า
ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนั้น ไม่ให้สำเร็จกรรมน้อยหนึ่ง คือ แม้มีประมาณ
เล็กน้อย แก่ภิกษุนั้น.
ข้อว่า ยุญฺชนฺตายสฺมนฺโต สกํ มีความว่า ท่านทั้งหลายจงทวง
เอาทรัพย์ของตน คือ จงตามเอาทรัพย์นั่นคืนไปเสีย.
ข้อว่า มา โว สกํ วินสฺส มีความว่า ทรัพย์ส่วนตัวของท่าน
จงอย่าสูญหายไปเลย, อนึ่ง ภิกษุใด ย่อมไม่ไปเอง ทั้งไม่ส่งทูตไป
ภิกษุนั้น ย่อมต้องทุกกฏ เพราะละเลยวัตร.

[ว่าด้วยกัปปิยการกและไวยาวัจกร]


ถามว่า ก็ในกัปปิยการกทั้งปวง จะพึงปฏิบัติอย่างนี้หรือ ?
แก้ว่า ไม่ต้องปฏิบัติ (อย่างนี้เสมอไป).