เมนู

จีวรวรรคที่ 1 สิกขาบทที่ 10


พรรณนาราชสิกขาบท


ราชสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-
ในราชสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถมูลเหตุปฐมบัญญัติ]


สองบทว่า อุปาสกํ สญฺญาเปตฺวา ได้แก่ ให้อุบาสกเข้าใจแล้ว.
อธิบายว่า กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ท่านจงซื้อจีวรด้วยมูลค่านี้แล้ว ถวาย
พระเถระ.
บทว่า ปญฺญาสพนฺโธ มีคำอธิบายว่า ถูกปรับ 50 กหาปณะ.
ปาฐะว่า ปญฺญาสมฺพนฺโธ ก็มี.
หลายบทว่า อชฺชุณฺโห ภนฺเต อาคเมหิ มีความว่า ท่านขอรับ !
วันนี้ โปรดหยุด คือ ยับยั้ง ให้กระผมสักวันหนึ่ง.
บทว่า ปรามสิ แปลว่า ได้ยืดไว้.
บทว่า ชิโนสิ มีความว่า ท่านถูกพวกเราชนะ คือ ชนะท่าน
50 กหาปณะ อธิบายว่า ท่านจะต้องเสียให้ 50 กหาปณะ.
บทว่า ราชโภคโค มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่าราชอำมาตย์ เพราะมี
เบี้ยเลี้ยงจะพึงบริโภค หรือพึงใช้สอย จากพระราชา. ปาฐะว่า ราชโภโค
ก็มี. ความว่า ผู้มีโภคะ (ความเป็นใหญ่) จากพระราชา.
บทว่า ปหิเณยฺย แปลว่า พึงส่งไป. แต่เพราะมีอรรถตื้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้ตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า ปหิเณยฺย นั้นไว้.
ก็บทว่า ปหิเณยฺย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสบทภาชนะไว้ฉันใด,

แม้บทว่า จีวรํ อิตฺถนฺนามํ ภิกฺขุํ เป็นต้น ก็ฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า
ไม่ได้ตรัสบทภาชนะไว้ เพราะมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
บทว่า อาภฏํ แปลว่า นำมาแล้ว .
สองบทว่า กาเลน กปฺปิยํ คือ โดยกาลอันถึงความสมควร.
ความว่า พวกเราจะรับจีวรที่ควรในเวลาพวกเรามีความต้องการ.
บทว่า เวยฺยาวจฺจกโร ได้แก่ ผู้ทำกิจ, ความว่า กัปปิยการก
(ผู้ทำของให้สมควร).
ข้อว่า สญฺญตฺโต โส มยา มีความว่า คนที่ท่านแสดงเป็น
ไวยาจักรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว คือ สั่งโดยประการที่เมื่อท่านมี
ความต้องการด้วยจีวรเขาจะถวายจีวรแก่ท่าน.
คำว่า อตฺโถ เม อาวุโส จีวเรน นี้ เป็นคำแสดงลักษณะแห่ง
การทวง (ด้วยวาจา). จริงอยู่ คำสำนวนนี้ ควรกล่าว, อีกอย่างหนึ่ง
อรรถแห่งคำว่า อาวุโส ! รูปมีความต้องการด้วยจีวรนั้น ควรกล่าวด้วย
ภาษาหนึ่ง. ลักษณะนี้ ชื่อว่าลักษณะแห่งการทวง. ส่วนคำว่า จงให้
จีวรแก่รูป เป็นต้น ตรัสไว้เพื่อแสดงอาการที่ไม่ควรกล่าว. จริงอยู่
คำเหล่านี้ หรือเนื้อความของคำเหล่านี้ไม่ควรกล่าวด้วยภาษาใดภาษาหนึ่ง.
ข้อว่า ทุติยํปิ วตฺตพฺโพ ตติยํปิ วตฺตพฺโพ มีความว่า ไวยาวัจกร
นั้น อันภิกษุพึงกล่าวคำนี้แลถึง 3 ครั้งว่า อาวุโส ! รูปมีความต้อง
การจีวร.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกำหนดการทวง ที่ยกขึ้นแสดง
ในคำว่า พึงทวงพึงเตือนสองสามครั้ง อย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรง
แสดงใจความโดยสังเขปแห่งบทเหล่านี้ว่า ทฺวิตฺติกฺขตฺตุํ โจทยมาโน

สารยมาโน ตํ จีวรํ อภินิปฺผาเทยฺย อิจฺเจตํ กุสลํ จึงตรัสว่า ถ้าภิกษุ
สั่งไวยาวัจกรนั้นให้จัดสำเร็จ การให้จัดสำเร็จได้อย่างนี้นั้น เป็นการดี.
เมื่อทวงถึง 3 ครั้ง อย่างนั้น ถ้าจัดจีวรนั้นให้สำเร็จได้ คือ ย่อมอาจเพื่อ
ให้สำเร็จ ด้วยอำนาจ (ทำ) ให้ตนได้มา. การจัดการให้สำเร็จได้อย่างนี้
นั่นเป็นการดี คือ ให้สำเร็จประโยชน์ ดี งาม.
คำว่า จตุกฺขตฺตุํ ปญฺจกขตตุํ ฉกฺขตฺตุปรมํ ตุณฺหีภูเตน อุทฺทิสฺส
ฐาตพฺพํ
นี้ เป็นการแสดงลักษณะแห่งการยืน. ก็คำว่า ฉกฺขตฺตุปรมํ นี้
บอกภาวนปุงสกลิงค์. จริงอยู่ ภิกษุนี้ พึงยืนนิ่งเฉพาะจีวร 6 ครั้งเป็น
อย่างมาก. ไม่พึงกระทำกิจอะไร ๆ อื่น. นี้เป็นลักษณะแห่งการยืน.
เพื่อจะทรงแสดงความเป็นผู้นิ่ง (ที่ตรัส) ไว้ในบทว่า ตุณฺหีภูเตน นั้น
ซึ่งเป็นสาธารณะแก่การยืนทุก ๆ ครั้งก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า
ตตฺถ คนฺตฺวา ตุณฺหีภูเตน เป็นต้น ในบทภาชนะ.

[อธิบายการทวงการยืน]


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า น อาสเน นิสีทิตพฺพํ มีความว่า
ภิกษุแม้อันไวยาจักรกล่าวว่า โปรดนั่งที่นี้เถิด ขอรับ ! ก็ไม่ควรนั่ง.
สองบทว่า น อามิสํ ปฏิคฺคเหตพฺพํ ความว่า แม้อันเขา
อ้อนวอนอยู่ว่า โปรดรับอามิสต่างโดยยาคูและของเคี้ยวเป็นต้น สักเล็ก
น้อย ขอรับ ! ก็ไม่ควรรับ.
สองบทว่า น ธมฺโม ภาสิตพฺโพ มีความว่า แม้ถูกเขาอ้อนวอน
อยู่ว่า โปรดกล่าวมงคล หรืออนุโมทนาเถิด ก็ไม่ควรกล่าวอะไรเลย
เมื่อถูกเขาถามอย่างเดียวว่า ท่านมาเพราะเหตุอะไร ? พึงบอบเขาว่า