เมนู

โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่นเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุม-
ชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อม-
ใสแล้ว

ทรงบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยอเนก
ปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคน
บำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุก-
คลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็น
คนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนก
ปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น
แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความ
รับว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ-
ยาก 1 เพื่อความอยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกัน
อาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดใน
อนาคต 1 เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1 เพื่อความ
เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระ-
สัทธรรม 1 เพื่อถือตามพระวินัย 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล พวกเธอพึงยกสิกขาบทนั้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


29. 10. อนึ่ง พระราชาก็ดี ราชอำมาตย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี
คหบดีก็ดี ส่งทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไปด้วยทูตเฉพาะภิกษุว่า เจ้าจงจ่าย
จีวรด้วยทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้แล้วยังภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร ถ้าทูตนั้น
เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรนี้นำมาเฉพาะ
ท่าน ขอท่านจงรับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวร ภิกษุนั้นพึงกล่าวต่อทูตนั้น
อย่างนี้ว่า พวกเราหาได้รับทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไม่ พวกเรารับแต่
จีวรอันเป็นของควรโดยกาล ถ้าทูตนั้นกล่าวต่อภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ก็
ใคร ๆ ผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านมีหรือ ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดง
ชนผู้ทำการในอารามหรืออุบาสกให้เป็นไวยาจักร ด้วยคำว่า คนนั้น
แลเป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ถ้าทูตนั้นสั่งไวยาวัจกรนั้นให้เข้า
ใจแล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า คนที่ท่านแสดงเป็นไวยา-
วัจกรนั้น ข้าพเจ้าสั่งให้เข้าใจแล้ว ท่านจงเข้าไปหา เขาจักให้ท่าน
ครองจีวรตามกาล ภิกษุผู้ต้องการจีวรเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้ว พึงทวง
พึงเตือนสองสามครั้งว่า รูปต้องการจีวร ภิกษุทวงอยู่ เตือนอยู่ สอง
สามครั้ง ยังไวยาจักรนั้น ให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้ด้วย
อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ พึงยืนต่อหน้า 4 ครั้ง
5 ครั้ง 6 ครั้ง เป็นอย่างมาก เธอยืนนิ่งต่อหน้า 4 ครั้ง 5 ครั้ง 6 ครั้ง
เป็นอย่างมาก ยังไวยาวัจกรนั้นให้จัดจีวรสำเร็จได้ การให้สำเร็จได้
ด้วยอย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าให้สำเร็จไม่ได้ ถ้าเธอพยายามให้ยิ่ง
กว่านั้น ยังจีวรนั้นให้สำเร็จ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าให้สำเร็จไม่ได้