เมนู

บุ. ความจริง พวกผมได้พูดกันไว้อย่างนี้ว่า จักยังท่านพระ-
อุปนันทะให้ครองจีวร
อุ. ถ้าท่านทั้งสองประสงค์จะให้อาตมาครองจีวร ก็จงให้ครองจีวร
ชนิดนี้เถิด เพราะจีวรทั้งหลายที่อาตมาไม่ใช้ แม้ครองแล้วจักทำอะไรได้
บุรุษทั้งสองคนนั้น จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาขึ้นในขณะ
นั้นว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นคนมักมาก ไม่
สันโดษ จะให้ครองจีวรก็ทำได้ไม่ง่าย ไฉนพระคุณเจ้าอุปนันทะอันพวก
เราไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงได้เข้ามาหาแล้วถึงการกำหนดในจีวรเล่า
ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษทั้งสองนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้
ใคร่ต่อสิกขาต่างก็เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุปนันท-
ศากยบุตรอันเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน จึงได้เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนทั้งหลาย
แล้วถึงการกำหนดในจีวรเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันท-
ศากยบุตรว่า ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่า เธออันเขาไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน
ได้เข้าไปหาพ่อเจ้าเรือนทั้งหลายแล้วถึงการกำหนดในจีวร จริงหรือ
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ภ. ดูก่อนอุปนันทะ เขาเหล่านั้นเป็นญาติของเธอ หรือมิใช่ญาติ
อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำ
ของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่
ได้ ไม่ควรทำ คนที่ไม่ใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำอันสมควรหรือ
ไม่ควร ของที่มีอยู่ หรือไม่มี ของคนที่ไม่ใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น
เธออันเขาทั้งหลายไม่ได้ปวารณาไว้ก่อน ยังเข้าไปหาพ่อเจ้าเรือน
ทั้งหลายผู้มิใช่ญาติ แล้วถึงการกำหนดในจีวรได้ การกระทำของเธอ
นั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อ
ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของ
เธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และ
เพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล

ทรงบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดย
อเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็น
คนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน
ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมัก
น้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส
การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำ
ธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย
แล้วรับสั่งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความ