เมนู

บทว่า อทฺธานมคฺคํ มีความว่า ทางยาว กล่าวคือทางไกลไม่ใช่
ทางถนนในเมือง.
คำว่า เต ภิกูขู อจฺฉินฺทึสุ มีความว่า ได้ปล้น คือได้แย่งชิง
เอาบาตรและจีวรของภิกษุเหล่านั้นไป.
บทว่า อนุยุญฺชาหิ ความว่า ท่านโปรดสอบถาม เพื่อต้องการ
ทราบความเป็นภิกษุ.
บทว่า อนุยุญฺชิยมานา ความว่า ภิกษุเหล่านั้นถูกท่านพระอุบาลี
สอบสวนถึงการบรรพชา อุปสมบท การอธิษฐานบาตรและจีวรเป็นต้น
อยู่.
ข้อว่า เอตมตฺถํ อาโรเจสุํ มีความว่า ทูลให้ทราบว่าเป็นภิกษุ
แล้ว ได้กราบทูลเรื่องที่ภิกษุเหล่านั้นกล่าว โดยนัยเป็นต้นว่า เป็นผู้
เดินทางไกลจากเมืองสาเกตสู่พระนครสาวัตถี.

[เมื่อถูกโจรชิงเอาจีวรไปห้ามเปลือยกายเดินทาง]


ในคำว่า อญฺญาตกํ คหปตึ วา เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบ
อนุปุพพีกถา ตั้งต้นแต่คำที่ตรัสไว้ข้างหน้าว่า ปกปิดแล้วด้วยหญ้าหรือ
ด้วยใบไม้ เป็นต้น โดยนัยดังจะกล่าวต่อไปอย่างนั้น:-
ถ้าพวกภิกษุหนุ่มเห็นพวกโจรแล้วถือเอาบาตรและจีวรหนีไป, พวก
โจรชิงเอาเพียงผ้านุ่งและผ้าห่มของพระเถระทั้งหลายเท่านั้นไป, พระเถระ
ทั้งหลายยังไม่ควรให้ขอจีวรทีเดียวก่อน, ยังไม่ควรจะหักกิ่งไม้และเด็ด
ใบไม้. ถ้าพวกภิกษุหนุ่มทิ้งห่อของทั้งหมดหนีไป, พวกโจรชิงเอาผ้านุ่ง
และผ้าห่มของพระเถระและห่อสิ่งของนั้นไป, พวกภิกษุหนุ่มมาแล้ว ยัง
ไม่ควรให้ผ้านุ่งและผ้าห่มของตนแก่พระเถระทั้งหลายก่อน. เพราะว่าพวก

ภิกษุผู้มิได้ถูกโจรชิงเอาจีวรไป ย่อมไม่ได้เพื่อจะหักกิ่งไม้และใบไม้เพื่อ
ประโยชน์แก่ตน, แต่ย่อมได้ (เพื่อจะหักกิ่งไม้และใบไม้) เพื่อประโยชน์
แก่พวกภิกษุผู้ถูกโจรชิงเอาจีวรไป. และพวกภิกษุผู้ถูกโจรชิงเอาจีวรไป
ย่อมได้ (เพื่อหักกิ่งไม้และใบไม้) เพื่อประโยชน์ทั้งแก่ตนเองทั้งแก่คนอื่น.
เพราะฉะนั้น พระเถระทั้งหลายพึงหักกิ่งไม้และใบไม้เอาปอเป็นต้นถักแล้ว
พึงให้แก่พวกภิกษุหนุ่ม หรือพวกภิกษุหนุ่มหักเพื่อประโยชน์แก่พระ-
เถระทั้งหลาย ถักแล้วให้แก่พระเถระเหล่านั้นที่มือ หรือไม่ให้ ตนนุ่ง
เสียเอง แล้วให้ผ้านุ่งและผ้าห่มของตนแก่พระเถระทั้งหลาย. ไม่เป็น
ปาจิตตีย์ เพราะพรากภูตคามเลย. ไม่เป็นทุกกฏ เพราะทรงผ้าธงชัยของ
พวกเดียรถีย์นั้น.
ถ้าในระหว่างทางมีลานของพวกช่างย้อม หรือพบเห็นชาวบ้าน
เหล่าอื่นผู้เช่นนั้นเข้า, พึงให้ขอจีวร. และพวกชาวบ้านที่ถูกขอเหล่านั้น
หรือชาวบ้านพวกอื่น เห็นพวกภิกษุนุ่งกิ่งไม้และใบไม้แล้วเกิดความ
อุตสาหะถวายผ้าเหล่าใดแก่ภิกษุเหล่านั้น. ผ้าเหล่านั้นจะมีชายหรือไม่มีชาย
ก็ตาม มีสีต่าง ๆ เช่นสีเขียวเป็นต้นก็ตาม เป็นกัปปิยะบ้าง เป็นอกัปปิยะ
บ้าง, ทั้งหมด ภิกษุเหล่านั้นควรนุ่งและควรห่มได้ทั้งนั้น เพราะพวกเธอ
ตั้งอยู่ในฐานผู้ถูกโจรชิงจีวร. จริงอยู่ แม้ในคัมภีร์ปริวาร ท่านก็กล่าว
คำนี้ไว้ว่า
ผ้าที่ไม่ได้ทำกัปปะ ทั้งไม้ได้ย้อมด้วยน้ำย้อม
ภิกษุพึงนุ่งห่มไปได้ตามปรารถนา และเธอไม่ต้อง
อาบัติ, ก็ธรรมนั้น อันพระสุคตเจ้าทรงแสดงแล้ว,
ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.

จริงอยู่ ปัญหาข้อนี้ ท่านกล่าวหมายถึงภิกษุผู้ถูกโจรชิงจีวร.
ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายสมาคมกับพวกเดียรถีย์ และพวกเดียรถีย์นั้นถวาย
จีวรคากรอง เปลือกไม้กรอง และผลไม้กรอง, แม้ผ้าเหล่านั้นควรที่ภิกษุ
จะนุ่งห่มได้ไม่รับเอาลัทธิ คือ แม้นุ่งห่มแล้ว ก็ไม่พึงถือลัทธิ (ของเขา).
บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐาน ในคำว่า ภิกษุเดินไปถึงวัด
ใดก่อน, ถ้าจีวรสำหรับวิหาร หรือของสงฆ์ในวัดนั้น มีอยู่ เป็นต้นว่า
ที่ชื่อว่า จีวรสำหรับวิหาร คือ จีวรที่พวกชาวบ้านให้สร้างวัดแล้ว เตรียม
จีวรไว้ด้วยกล่าวว่า ปัจจัย 4 เป็นของส่วนตัวของพวกเราเท่านั้น จงถึง
การใช้สอย แล้วตั้งไว้ในวัดที่ตนให้สร้าง จีวรนี้ ชื่อว่า จีวรสำหรับวิหาร.
เครื่องปูลาดบนเตียง ท่านเรียกว่า เครื่องลาดข้างบน.
เครื่องปูลาดที่ทำด้วยเศษผ้า เพื่อต้องการจะรักษาพื้นที่ทำบริกรรม
ท่านเรียกว่า ผ้าลาดพื้น. ภิกษุทั้งหลายลาดเสื่ออ่อนบนเครื่องลาดนั้น
แล้ว เดินจงกรม.
เปลือก (ปลอก) ฟูกรองเตียง หรือฟูกรองตั่ง ชื่อว่า เปลือกฟูก.
ถ้าเปลือกฟูกเขายัดไว้เต็ม, แม้จะรื้อออกแล้วถือเอา ก็ควร. บรรดาจีวร
สำหรับวิหารเป็นต้นเหล่านี้ ดังกล่าวมาอย่างนี้ จีวรทีมีอยู่ในวัดนั้น พวก
ภิกษุที่ถูกโจรชิงเอาไป แม้ไม่ขออนุญาตจะถือเอานุ่งหรือห่มก็ได้. ก็แล
การนุ่งหรือการห่มนั้น ย่อมได้ด้วยความประสงค์ว่า เราได้ (ผ้านุ่งหรือ
ผ้าห่มแล้ว ) จักตั้งลงไว้ คือ จักเก็บไว้อย่างเดิม, ย่อมไม่ได้ โดยการ
ขาดมูลค่า (การถือเอาเป็นกรรมสิทธิ์ของตน). ก็แล ครั้นได้ (ผ้านุ่งหรือ
ผ้าห่ม) จากญาติ หรือจากอุปัฏฐาก หรือแม้จากที่แห่งใดแห่งหนึ่งอื่นแล้ว
พึงกระทำให้กลับเป็นปกติเดิมทีเดียว. ภิกษุไปยังต่างถิ่นแล้ว พึงเก็บไว้

ในอาวาสของสงฆ์แห่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่การใช้สอย โดยการใช้สอย
เป็นของสงฆ์. ถ้าจีวรสำหรับวิหารนั้น ชำรุด หรือหายไป โดยการใช้สอย
ของภิกษุนั้น ไม่เป็นสินใช้. แต่ถ้าว่า ภิกษุไม่ได้ผ้าอะไร ๆ บรรดา
ผ้าเหล่านี้ มีผ้าของคฤหัสถ์เป็นต้น มีเปลือกฟูกเป็นที่สุด มีประการ
ดังกล่าวแล้ว, เธอพึงเอาหญ้า หรือใบไม้ปกปิดเเล้วมาเถิด ฉะนี้แล.
จีวรแม้ที่อาจารย์และอุปัชฌาย์ ผู้ถูกโจรชิงจีวรไป ขอกะชนเหล่า
อื่นว่า นำจีวรมาเถิด อาวุโส ! แล้วถือเอาไป หรือถือเอาไปด้วยวิสาสะ
ย่อมควรเพื่อจะกล่าวว่า ถึงการสงเคราะห์เข้า ในคำว่า เกหิจิ วา
อจฺฉินฺนํ
(ถูกใคร ๆ ชิงเอาไปก็ดี) นี้.
อนึ่ง แม้จีวรที่พวกนิสิตปกปิดด้วยหญ้า และใบไม้ด้วยตนเองแล้ว
ถวายแก่ภิกษุมีอาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นต้น ผู้ถูกโจรชิงจีวรย่อมควร
เพื่อจะกล่าวว่า ถึงการสงเคราะห์เข้า ในคำว่า ปริโภคชิณฺณํ วา
(ใช้สอยเก่าไปก็ดี) นี้. จริงอยู่ เมื่อมีเนื้อความที่ควรกล่าวอย่างนั้น ภิกษุ
เหล่านั้นจักเป็นผู้ตั้งอยู่ในฐานเป็นผู้ถูกชิงจีวร และในฐานเป็นผู้มีจีวรหาย
แท้. เพราะฉะนั้น อนาบัติในเพราะวิญญัตติ และในเพราะบริโภคอกัป-
ปิยจีวร จักเป็นของสมควรแก่ภิกษุเหล่านั้นแล.
ในคำว่า ญาติกานํ ปวาริตานํ นี้ บัณฑิตพึงเห็นความอย่างนี้
ว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ออกปากขอ คือ ผู้อ้อนวอนขอกะญาติและคน
ปวารณาว่า พวกท่านจงถวายของตน แก่ภิกษุเหล่านี้, แท้จริง ไม่มี
อาบัติหรืออนาบัติ แก่ภิกษุทั้งหลายที่พวกญาติปวารณาเเล้ว.*
แม้ในคำว่า อตฺตโน ธเนน นี้ บัณฑิตก็พึงเห็นความอย่างนี้ว่า
* แปลตามอัตถโยชนา 1/541. ญาตกานํ ปวาริตานนฺติ ญาตเกหิ ปริวาริตานํ ภกฺขูนํ-ผู้ชำระ.

ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ออกปากขอ คือผู้สั่งให้จ่าย หรือสั่งให้แลกเปลี่ยน
ด้วยกัปปิยภัณฑ์ของตน โดยกัปปิยโวหารเท่านั้น.
อนึ่ง ในคำว่า ปวาริตานํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ในปัจจัยทั้งหลาย
ที่เขาปวารณาไว้ด้วยอำนาจแห่งสงฆ์ ควรขอแต่พอประมาณเท่านั้น. ใน
การปวารณาเฉพาะบุคคล ควรขอแต่เฉพาะสิ่งของที่เขาปวารณาเหมือนกัน .
แท้จริง คนใดปวารณาด้วยจตุปัจจัยกำหนดไว้เองทีเดียว แล้วถวาย
สิ่งของที่ต้องการโดยอาการอย่างนั้น คือ ย่อมถวายจีวรตามสมควรแก่กาล
ย่อมถวายอาหารมีข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้นทุก ๆ วัน, กิจที่จะต้องออก
ปากขอกะคนเช่นนั้น ไม่มี. ส่วนบุคคลใดปวารณาแล้ว ย่อมไม่ให้ เพราะ
เป็นผู้เขลา หรือเพราะหลงลืมสติ, บุคคลนั้น อันภิกษุควรขอ. บุคคล
กล่าวว่า ผมปวารณาเรือนของผม, ภิกษุพึงไปสู่เรือนของบุคคลนั้นแล้ว
พึงนั่ง พึงนอน ตามสบาย ไม่พึงรับเอาอะไร ๆ. ส่วนบุคคลใด กล่าวว่า
ผมขอปวารณาสิ่งของที่มีอยู่ในเรือนของผม ดังนี้, พึงขอสิ่งของที่เป็น
กัปปิยะซึ่งมีอยู่ในเรือนของบุคคลนั้น. ในกุรุนทีกล่าวว่า แต่ภิกษุจะนั่ง
หรือจะนอนในเรือน ไม่ได้.
ในคำว่า อญฺญสฺสตฺถาย นี้ มีอรรถอย่างหนึ่ง ดังนี้ว่า ไม่เป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้ขอกะญาติและคนปวารณาของตน เพื่อประโยชน์แก่ตนเอง
อย่างเดียวหามิได้ โดยที่แท้ ขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ก็ไม่เป็นอาบัติ.
ส่วนอรรถอย่างที่สองในบทว่า อญฺญสฺส นี้ ดังต่อไปนี้ว่า ไม่เป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้ออกปากขอกะญาติและคนปวารณาของภิกษุอื่น เพื่อประ-

โยชน์แก่ภิกษุนั้นนั่นเอง คือ พระพุทธรักขิต ซึ่งได้โวหารว่า ผู้อื่น*.
คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น.
บรรดาปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทแม้นี้ก็มีสมุฏฐาน 6
เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม
มีจิต 3 มีเวทนา 3 ฉะนี้แล.
พรรณนาอัญญาตกวิญญัตติสิกขาบทที่ 6 จบ

จีวรวรรค สิกขาบทที่ 7
เรื่องของพระฉัพพัคคีย์


[58] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
พระฉัพพัคคีย์เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายผู้มีจีวรถูกชิงไป แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย การขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือนหรือแม่เจ้าเรือนผู้มิใช่ญาติ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุผู้มีจีวรถูกชิงไป หรือผู้มีจีวร
ฉิบหายแล้ว ท่านทั้งหลายจงขอจีวรเถิด
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า พอแล้ว ขอรับ พวกผมได้จีวรมาแล้ว
ฉ. พวกผมจะขอเพื่อประโยชน์ของพวกท่าน
ภิ. จงขอเถิด ขอรับ
* อตฺถโยชนา 1/542/ กำหนดให้แปลว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ขอปัจจัยทั้งหลายที่พวก
ญาติของพวกภิกษุอื่นปวารณาไว้ เพื่อประโยชน์แก่พระพุทธรักขิต หรือพระธรรมรักขิต
นั้นนั่นแล-ผู้ได้โวหารว่า "ภิกษุอื่น" - ผู้ชำระ.