เมนู

พระอนุบัญญัติ


25. 6. ก. อนึ่ง ภิกษุใด ขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือนก็ดี ต่อแม่
เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ นอกจากสมัย เป็นนิสสัคติยปาจิตตีย์ สมัย
ในคำนั้นดังนี้ ภิกษุเป็นผู้มีจีวรถูกชิงเอาไปก็ดี มีจีวรฉิบหายก็ดี
นี้สมัยในคำนั้น.
เรื่องภิกษุเดินทางถูกแย่งชิงจีวร จบ

สิกขาบทวิภังค์


[55] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่าผู้ใด คือผู้เช่นใด มีการงาน
อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด
มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม
เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง...ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า
ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่
กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน

อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า
ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้
ที่ชื่อว่า ผู้มิใช่ญาติ คือ ไม่ใช่คนเนื่องถึงกันทางมารดาก็ดี ทาง
บิดาก็ดี ตลอด 7 ชั่วอายุของบุรพชนก
ที่ชื่อว่า พ่อเจ้าเรือน ได้แก่ บุรุษผู้ครอบครองเรือน
ที่ชื่อว่า แม่เจ้าเรือน ได้แก่ สตรีผู้ครอบครองเรือน
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร 6 ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์
กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ.
บทว่า นอกจากสมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า เป็นผู้มีจีวรถูกชิงเอาไป ได้แก่ จีวรของภิกษุผู้ถูกชิงเอา
ไป คือ ถูกพวกราชาก็ดี พวกโจรก็ดี พวกนักเลงก็ดี หรือพวกใด
พวกหนึ่ง ชิงเอาไป
ที่ชื่อว่า มีจีวรฉิบหาย คือ จีวรของภิกษุถูกไฟไหม้ก็ดี ถูกน้ำพัด
ไปก็ดี ถูกหนูหรือปลวกกัดก็ดี เก่าเพราะใช้สอยก็ดี
ภิกษุขอ นอกจากสมัย เป็นทุกกฏในประโยคที่ขอ เป็นนิสสัคคีย์
ด้วยได้จีวรมา ต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้:-

วิธีเสียสละ
เสียสละแก่สงฆ์


ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบเท้า
ภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-