เมนู

ครั้นท่านพระอุบาลีสอบสวนภิกษุเหล่านั้นแล้ว ได้แจ้งแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย พวกเปลือยกายเหล่านี้เป็นภิกษุ จงให้จีวร
แก่ภิกษุเหล่านั้นเถิด
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ
ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย
จึงได้เปลือยกายเดินมาเล่า ธรรมดาภิกษุควรจะต้องปกปิดด้วยหญ้าหรือ
ใบไม้เดินมา แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุญาตให้ขอจีวรได้


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ถูกโจรแย่งชิงจีวรไป หรือ
มีจีวรหาย ขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือน หรือแม่เจ้าเรือน ผู้มิใช่ญาติได้
เธอเดินไปถึงวัดใดก่อน ถ้าจีวรสำหรับวิหารก็ดี ผ้าลาดเตียงก็ดี
ผ้าลาดฟื้นก็ดี ผ้าปูที่นอนก็ดี ของสงฆ์ในวัดนั้นมีอยู่ จะถือเอาผ้าของ
สงฆ์นั้นไปห่มด้วยคิดว่า ได้จีวรนั้นมาแล้ว จักคืนไว้ดังเก่า ดังนี้ก็ควร
ถ้าจีวรสำหรับวิหารก็ดี ผ้าลาดเตียงก็ดี ผ้าลาดฟื้นก็ดี ผ้าปูนอนก็ดี
ของสงฆ์ไม่มี ต้องปกปิดด้วยหญ้าหรือใบไม้เดินมา ไม่พึงเปลือยกาย
เดินมา ภิกษุใดเปลือยกายเดินมา ต้องอาบัติทุกกฏ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ


25. 6. ก. อนึ่ง ภิกษุใด ขอจีวรต่อพ่อเจ้าเรือนก็ดี ต่อแม่
เจ้าเรือนก็ดี ผู้มิใช่ญาติ นอกจากสมัย เป็นนิสสัคติยปาจิตตีย์ สมัย
ในคำนั้นดังนี้ ภิกษุเป็นผู้มีจีวรถูกชิงเอาไปก็ดี มีจีวรฉิบหายก็ดี
นี้สมัยในคำนั้น.
เรื่องภิกษุเดินทางถูกแย่งชิงจีวร จบ

สิกขาบทวิภังค์


[55] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่าผู้ใด คือผู้เช่นใด มีการงาน
อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด
มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม
เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง...ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า
ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่
กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน