เมนู

อุป. ท่านเจ้าข้า ความจริง พวกดิฉันชื่อว่ามาตุคามมีลาภน้อย
ทั้งผ้าผืนนี้ก็เป็นจีวรผืนสุดท้ายที่ครบ 5 ของดิฉัน ๆ ถวายไม่ได้
อุทายี. ดูก่อนน้องหญิง เปรียบเหมือนบุรุษให้ช้างแล้ว ก็ควรสละ
สัปคับ สำหรับช้างด้วยฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ถวายเนื้อแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็จงสละผ้าอันตรวาสกถวายแก่อาตมา
ครั้นนางถูกท่านพระอุทายีแคะได้ จึงได้ถวายผ้าอันตรวาสกแล้ว
กลับไปสู่สำนัก ภิกษุณีทั้งหลายที่คอยรับบาตรจีวรของภิกษุณีอุปปลวัณณา
ได้ถามว่า แม่เจ้า ผ้าอันตรวาสกของคุณแม่อยู่ที่ไหน นางได้เล่าเรื่อง
แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ๆ จึงพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
พระคุณเจ้าอุทายีจึงได้รับจีวรจากมือภิกษุณีเล่า เพราะมาตุคามมีลาภน้อย
ครั้นแล้วภิกษุณีเหล่านั้นได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ
ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระอุทายี
จงได้รับจีวรจากมือภิกษุณีเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่าน
พระอุทายีว่า ดูก่อนอุทายี ข่าวว่า เธอรับจีวรจากมือภิกษุณี จริงหรือ
ท่านพระอุทายีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ดูก่อนอุทายี นางเป็นญาติของเธอ หรือมิใช่ญาติ
อุ. มิใช่ญาติ พระพุทธเจ้าข้า

ทรงติเตียน


พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ การ
กระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้
ไม่ควรทำ บุรุษที่มิใช่ญาติ ย่อมไม่รู้การกระทำอันสมควร หรือไม่
สมควร ของที่มีอยู่หรือไม่มี ของสตรีที่มิใช่ญาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น
เธอยังรับจีวรจากมือภิกษุณีผู้มิใช่ญาติได้ การกระทำของเธอนั้น ไม่
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความ
เลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น
เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความ
เป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

ทรงบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนท่านพระอุทายี โดยอเนกปริยายดังนี้
แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก
ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความ
เกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย
ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่า
เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรง
กระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุ
ทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือเพื่อความ