เมนู

(ลุงน้าชาย), พี่น้องหญิงของมารดา (ป้าน้าหญิง), ลูกชายของมารดา,
ลูกหญิงของมารดา, เชื้อสายบุตรธิดาของชนแมเ้หล่านั้น, นี้ ชื่อว่า ผู้
มิใช่ญาติ.

[ว่าด้วยจีวรเก่าและการใช้ให้ซัก]


บทว่า อุภโตสงฺเฆ มีความว่า ภิกษุณีผู้อุปสมบท ด้วยอัฏฐ-
วาจิยกรรม คือ ด้วยญัตติจตุตถกรรม ในฝ่ายภิกษุสงฆ์ 1 ด้วยญัตติ-
จตุตถกรรม ในฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ 1.
ข้อว่า สกึ นิวตฺถํปิ สกึ ปารุตํปิ มีความว่า จีวรที่ย้อมแล้วทำ
กัปปะเสร็จ นุ่งหรือห่ม แม้เพียงครั้งเดียว. ชั้นที่สุดพาดไว้บนบ่า หรือ
บนศีรษะ โดยมุ่งการใช้สอยเป็นใหญ่ เดินทางไป หรือว่า หนุนศรีษะ
นอน, เเม้จีวรนั่น ก็ชื่อว่า จีวรเก่าเหมือนกัน, ในกุรุนทีท่านกล่าวว่า
ก็ถ้าว่า ภิกษุนอนเอาจีวรไว้ใต้ที่นอน หรือเอามือทั้งสองยกขึ้นทำเป็น
เพดาน บนอากาศ ไม่ให้ถูกศรีษะะเดินไป. นี้ ยังไม่ชื่อว่า ใช้สอย.
ในคำว่า โธตํ นิสฺสคฺคิยํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-
ภิกษุณีที่ถูกภิกษุใช้อย่างนี้ ย่อมจัดเตาไฟ ขนฟืนมา ก่อไฟ ตัก
น้ำมา เพื่อประโยชน์แก่การซัก, ย่อมเป็นทุกกฏแก่ภิกษุ ทุกๆ ประโยค
ของนางภิกษุณี ตลอดเวลาที่นางภิกษุณียังยกจีวรนั้นขึ้นซักอยู่, จีวรนั้น
พอซักเสร็จแล้วยกขึ้น ก็เป็นนิสสัคคีย์. ถ้านางภิกษุณีสำคัญว่า จีวรยัง
ซักไม่สะอาด จึงเทน้ำราด หรือซักใหม่, เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ประโยค
ตลอดเวลาที่ยังไม่เสร็จ. แม้ในการย้อมและการทุบ ก็มีนัยอย่างนี้. ก็
ภิกษุณี เทน้ำย้อมลงในรางสำหรับย้อม แล้วย้อมเพียงคราวเดียว, กระทำ

กิจอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนแต่การเทน้ำย้อมเป็นต้นนั้น เพื่อประโยชน์แก่
การย้อม หรือว่าภายหลัง กลับย้อมใหม่ เป็นทุกกฏแก่ภิกษุทุกๆ ประโยค
ในฐานะทั้งปวง. แม้ในการทุบ ก็พึงทราบประโยคอย่างนั้น.
ข้อว่า อญฺญาติกาย อญฺญติสญฺญี ปุราณจีวรํ โธวาเปติ ความาว่า
ถ้าแม้นว่า ภิกษุไม่พูดว่า เธอจงซักจีวรนี้ให้เรา, แต่ทำกายวิการ เพื่อ
ประโยชน์แก่การซัก ให้ที่มือด้วยมือ หรือวางไว้ใกล้เท้า หรือฝาต่อ ๆ
ไป คือ ส่งไปในมือของนางสิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสิกา
และเดียรถีย์ เป็นต้น หรือว่า โยนไปในที่ใกล้แห่งนางภิกษุณีผู้กำลังซัก
อยู่ที่ท่าน้ำ, คือ ในโอกาสภายใน 12 ศอก จีวรเป็นอันภิกษุใช่นาง
ภิกษุณีให้ซักเหมือนกัน. ก็ถ้าว่าภิกษุละอุปจารวางไว้ห่างจากร่วมในเข้ามา
และนางภิกษุณีนั้น ซักแล้วนำมา, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ. ภิกษุให้จีวร
ในมือแห่งนางสิกขมานาก็ดี สามเณรก็ดี อุบายสิกาก็ดี เพื่อประโยชน์แก่
การซัก, ถ้านางสิกขมานานั้น อุปสมบทแล้ว จึงซัก, เป็นอาบัติเหมือน
กัน . ให้ไว้ในมือแห่งอุบาสก, ถ้าอุบาสกนั้น เมื่อเพศกลับแล้ว บรรพชา
จีวรที่ให้ในมือของสามเณร หรือของภิกษุในเวลาเพศกลับ ก็มีนัยอย่างนั้น
เหมือนกัน.

[ว่าด้วยอาบัติ และอนาบัติในใช้ให้ซัก]


ในคำว่า โธวาเปติ รชาเปติ เป็น มีวินิจฉัยดังนี้:-
จีวรเป็นนิสสัคคีย์ด้วยวัตถุแรก เป็นทุกกฏแก่ภิกษุด้วยวัตถุที่ 2,
เมื่อภิกษุให้กระทำทั้ง 3 วัตถุ เป็นนิสสัคคีย์ด้วยวัตถุแรก เป็นทุกกฏ