เมนู

ซักจีวรที่ยังไม่ได้บริโภค 1 ภิกษุใช้ให้ซักบริขารอย่างอื่น* เว้นจีวร 1
ใช้สามเณรีให้ซัก 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้อง
อาบัติแล.
จีวรวรรค สิกขาบทที่ 4 จบ

จีวรวรรคที่ 1 สิกขาบทที่ 4


พรรณนาปูราณจีวรโธวาปนสิกขาบท


ปูราณจีวรสิกขาบทว่า เตน สมเยน เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าว
ต่อไป:- ในปูราณจีวรสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

[อธิบายบุคคลที่จัดเป็นญาติและมิใช่ญาติ]


ข้อว่า ยาว สตฺตมา ปิตามหยุคา มีความว่า บิดาของบิดาชื่อว่า
ปิตามหะ. ยุคแห่งปิตามหะ ชื่อว่า ปิตามหยุค. ประมาณแห่งอายุ
ท่านเรียกว่า ยุค. ก็ศัพท์ว่า ยุค นี้ เป็นเพียงโวหารพูดกันเท่านั้น. แต่
โดยเนื้อความ ปิตามหะนั่นแหละ ชื่อว่า ปิตามหยุค. บรรพบุรุษ ถัด
ขึ้นไปจากปิตามหยุคนั้น แม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอา
ด้วยปิตามหศัพท์นั่นเอง. นางภิกษุณี ผู้ซึ่งไม่เกี่ยวเนื่องกันมาตลอด 7
ชั่วบุรุษอย่างนี้ ตรัสเรียกว่า ไม่ใช่คนเกี่ยวเนื่องกันมาตลอด 7 ชั่วอายุ
ของบุรพชนก. ปิตามหศัพท์นี้ เป็นมุขแห่งเทศนาเท่านั้น. แต่เพราะ
พระบาลีว่า มาติโต วา ปิติโต รา ดังนี้ ปิตามหยุคก็ดี ปิตามหียุคก็ดี
* บริขารอย่างอื่น หมายผ้าถุงรองเท้า ผ้าถุงบาตรเป็นต้น

มาตามหยุดก็ดี มาตามหียุดก็ดี ก็ชื่อว่า ปิตามหยุค, แม้พวกญาติมีพี่น้อง
ชายพี่น้องหญิง หลานลูกและเหลนเป็นต้น ของปิตามหยุคเป็นต้นแม้
เหล่านั้น ทั้งหมดนั้น พึงทราบว่า ทรงสงเคราะห์เข้าในคำว่า ปิตามหยุค
นี้ทั้งนั้น.
ใน 4 ยุค คือ ปิตามหยุค ปิตามหียุค มาตามหยุค และมาตา-
มหียุคนั้น มีนัยพิสดารดังต่อไปนี้:-
ภิกษุณี ไม่ใช่คนเนื่องถึงกัน ด้วยความเกี่ยวเนื่องทางมารดา ไม่
ใช่คนเนื่องถึงกัน ด้วยความเกี่ยวเนื่องทางบิดา ตลอด 7 ชั่วอายุของ
บุรพชนกอย่างนี้ คือ บิดา, บิดาของบิดา (ปู่) บิดาของบิดา (ปู่), นั้น
ปู่ทวด), บิดาแม้ของปู่ทวดนั้น (ปู่ชวด),
ตลอด 7 ชั่วยุค ทั้งข้างสูงและข้างต่ำ แม้อย่างนี้ คือ บิดา 1
มารดาของบิดา 1 (ย่า) บิดาและมารดาของมารดาแม้นั้น (ตายาย) 1
พี่น้องชาย 1 พี่น้องหญิง 1 บุตร 1 ธิดา 1,
ตลอด 7 ชั่วยุค แม้อย่างนี้ คือ บิดา, พี่น้องชายของบิดา, พี่น้อง
หญิงของบิดา, ลูกชายของบิดา, ลูกหญิงของบิดา, เชื้อสายบุตรธิดาแม้
ของชนเหล่านั่น,
ตลอด 7 ชั่วยุค อย่างนี้ คือ มารดา, มารดาของมารดา (ยาย),
มารดาของยายนั้น (ยายทวด) มารดาของยายทวดแม้นั้น ( ยายชวด),
ตลอด 7 ชั่วยุค ทั้งข้างสูงและข้างต่ำ แม้อย่างนี้ คือ มารดา 1
บิดาของมารดา (ตา) 1 บิดาและมารดาของบิดานั้น (ทวดชายหญิง) 1
พี่น้องชาย 1 พี่น้องหญิง 1 บุตร 1 ธิดา 1.
ตลอด 7 ชั่วยุค แม้อย่างนี้ คือ มารดา, พี่น้องชายของมารดา

(ลุงน้าชาย), พี่น้องหญิงของมารดา (ป้าน้าหญิง), ลูกชายของมารดา,
ลูกหญิงของมารดา, เชื้อสายบุตรธิดาของชนแมเ้หล่านั้น, นี้ ชื่อว่า ผู้
มิใช่ญาติ.

[ว่าด้วยจีวรเก่าและการใช้ให้ซัก]


บทว่า อุภโตสงฺเฆ มีความว่า ภิกษุณีผู้อุปสมบท ด้วยอัฏฐ-
วาจิยกรรม คือ ด้วยญัตติจตุตถกรรม ในฝ่ายภิกษุสงฆ์ 1 ด้วยญัตติ-
จตุตถกรรม ในฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ 1.
ข้อว่า สกึ นิวตฺถํปิ สกึ ปารุตํปิ มีความว่า จีวรที่ย้อมแล้วทำ
กัปปะเสร็จ นุ่งหรือห่ม แม้เพียงครั้งเดียว. ชั้นที่สุดพาดไว้บนบ่า หรือ
บนศีรษะ โดยมุ่งการใช้สอยเป็นใหญ่ เดินทางไป หรือว่า หนุนศรีษะ
นอน, เเม้จีวรนั่น ก็ชื่อว่า จีวรเก่าเหมือนกัน, ในกุรุนทีท่านกล่าวว่า
ก็ถ้าว่า ภิกษุนอนเอาจีวรไว้ใต้ที่นอน หรือเอามือทั้งสองยกขึ้นทำเป็น
เพดาน บนอากาศ ไม่ให้ถูกศรีษะะเดินไป. นี้ ยังไม่ชื่อว่า ใช้สอย.
ในคำว่า โธตํ นิสฺสคฺคิยํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:-
ภิกษุณีที่ถูกภิกษุใช้อย่างนี้ ย่อมจัดเตาไฟ ขนฟืนมา ก่อไฟ ตัก
น้ำมา เพื่อประโยชน์แก่การซัก, ย่อมเป็นทุกกฏแก่ภิกษุ ทุกๆ ประโยค
ของนางภิกษุณี ตลอดเวลาที่นางภิกษุณียังยกจีวรนั้นขึ้นซักอยู่, จีวรนั้น
พอซักเสร็จแล้วยกขึ้น ก็เป็นนิสสัคคีย์. ถ้านางภิกษุณีสำคัญว่า จีวรยัง
ซักไม่สะอาด จึงเทน้ำราด หรือซักใหม่, เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ประโยค
ตลอดเวลาที่ยังไม่เสร็จ. แม้ในการย้อมและการทุบ ก็มีนัยอย่างนี้. ก็
ภิกษุณี เทน้ำย้อมลงในรางสำหรับย้อม แล้วย้อมเพียงคราวเดียว, กระทำ