เมนู

คำว่า วิสภาเค อุปฺปนฺเน มูลจีวเร มีความว่า ถ้าว่าจีวรเดิม
เนื้อละเอียด จีวรที่หวังจะได้มา เนื้อหยาบ ไม่อาจเพื่อประกอบเข้ากันได้
และราตรีก็ยังมีเหลือ คือยังไม่เต็มเดือนก่อน.
บทว่า น อกามา มีความว่า ภิกษุเมื่อไม่ปรารถนาก็ไม่พึงให้ทำ
จีวร. ได้จีวรที่หวังจะได้มาอื่นแล้วเท่านั้น พึงกระทำในภายในกาล.
แม้จีวรที่หวังจะได้มา พึงอธิษฐานเป็นบริขารโจล. ถ้าจีวรเดิมเป็นผ้า
เนื้อหยาบ, จีวรที่หวังจะได้มาเป็นผ้าเนื้อละเอียด พึงอธิษฐานจีวรเดิม
ให้เป็นบริขารโจล แล้วเก็บจีวรที่หวังจะได้มานั่นแล ให้เป็นจีวรเดิม.
จีวรนั้นย่อมได้บริหารอีกเดือนหนึ่ง ภิกษุย่อมได้เพื่อผลัดเปลี่ยนกันและกัน
เก็บไว้เป็นจีวรเดิมจนตราบเท่าที่ตนปรารถนา โดยอุบายนี้นั้นแล. คำที่
เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น. ปกิณกะมีสมุฏฐานเป็นต้น ก็เป็นเช่นเดียวกับ
ปฐมกฐินสิกขาบทนั้นแล.
พรรณนาตติยกฐินสิกขาบทที่ 3 จบ

จีวรวรรค สิกขาบทที่ 4


เรื่องพระอุทายี


[42] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ปุราณทุติยิกา
ของท่านพระอุทายี บวชอยู่ในสำนักภิกษุณี นางมายังสำนักท่านพระ-
อุทายีเสมอ แม้ท่านพระอุทายีก็ไปยังสำนักภิกษุณีนั้นเสมอ และบางครั้ง
ก็ฉันอาหารอยู่ในสำนักภิกษุณีนั้น เช้าวันหนึ่ง ท่านพระอุทายีครอง