เมนู

แล้ว ดังนี้. เพราะอรรถด้วยอำนาจแห่งตติยาวิภัตติว่า กิจชื่อนี้ อันภิกษุ
พึงกระทำ ดังนี้ ไม่มี, แต่ว่า อรรถด้วยอำนาจแห่งฉัฏฐีวิภัตติอย่างนี้ว่า
เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว และเมื่อกฐินเดาะแล้ว ถ้าภิกษุมีปลิโพธขาด
แล้วอย่างนี้ พึงอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง ดังนี้ ย่อมสมควร
(เพราะเหตุใด; เพราะเหตุนั้น พึงทราบอรรถแห่งตติยาวิภัตติด้วยอำนาจ
ฉัฏฐีวิภัตติ).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติจีวเรน ได้แก่ จากบรรดาไตรจีวรที่
อธิษฐานแล้ว จีวรผืนใดผืนหนึ่ง. จริงอยู่ ภิกษุแม้อยู่ปราศจากจีวรผืน
เดียว ก็จัดว่าเป็นผู้อยู่ปราศจากไตรจีวร เพราะเป็นผู้อยู่ปราศจาก (จีวร
ผืนหนึ่ง) อันนับเนื่องในความสำเร็จเป็นไตรจีวร เพราะเหตุนั้นนั่นแล
ในบทภาชนะแห่งบทว่า ติจีวเรน นั้น พระองค์จึงตรัสคำว่า สงฺฆาฏิยา
เป็นต้น.
บทว่า วิปฺปวเสยฺย คือ พึงเป็นผู้อยู่ปราศจาก.

[อธิบายสถานที่เก็บจีวรและวิธีปฏิบัติ]


คำว่า คาโม เอกูปจาโร เป็นอาทิ ตรัสไว้เพื่อให้กำหนดลักษณะ
แห่งการไม่อยู่ปราศจาก (ไตรจีวร). ต่อจากคำว่า คาโม เอกูปจาโร
เป็นต้นนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงขยายบทมาติกา 15 บท
เหล่านั้นนั่นแล ให้พิสดารตามลำดับ จึงตรัสว่า คาโม เอกูปจาโร นาม
เป็นต้น. ในคำว่า คาโม เอกูปจาโร นั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
พระราชวังของพระราชาพระองค์หนึ่ง หรือบ้านของนายบ้านคน
หนึ่ง ชื่อว่าบ้านของตระกูลเดียว. บทว่า ปริกฺขิตฺโต มีความว่า ล้อม
แล้วด้วยกำแพง ด้วยรั้ว หรือด้วยคู อย่างใดอย่างหนึ่ง.

ท่านแสดงความที่บ้านของตระกูลเดียว มีอุปจารเดียวด้วยคำมี
ประมาณเพียงเท่านี้.
สองบทว่า อนฺโตคาเม วฏฺฐพฺพํ มีความว่า ภิกษุจะเก็บจีวรไว้ใน
บ้านเช่นนี้แล้ว ให้อรุณขึ้นในที่ซึ่งตนชอบใจในละแวกบ้านย่อมควร.
ด้วยบทว่า อปริกฺขิตฺโต นี้ ท่านแสดงความที่บ้านนั้นนั่นแล มี
อุปจารต่าง ๆ กัน.
คำว่า ตสฺมึ ฆเร วฎฺฐพฺพํ มีความว่า พึงอยู่ในเรือนหลังที่ตนเก็บ
จีวรไว้ในบ้านเห็นปานนั้น.
หลายบทว่า หตฺถปาสา วา น วิชหิตพฺพํ มีความว่า อีกอย่างหนึ่ง
ไม่พึงละเรือนนั้น จากหัตถบาสโดยรอบ. มีคำอธิบายว่า ไม่พึงละให้
ห่างจากประเทศประมาณ 2 ศอกคืบไป. ก็การอยู่ภายใน 2 ศอกคืบ
ย่อมสมควร. ล่วงเลยประมาณนั้นไป ถ้าแม้นภิกษุผู้มีฤทธิ์ยังอรุณให้ตั้ง
ขึ้นในอากาศ ก็เป็นนิสสัคคีย์เหมือนกัน.
ก็บัณฑิตพึงทราบการกำหนดเรือนในบทว่า ยสฺมึ ฆเร ในวิสัยว่า
บ้านของตระกูลเดียวนี้ โดยลักษณะเป็นต้นว่า เป็นเรือนของตระกูลเดียว
ดังนี้.
คำว่า นานากุลสฺส คาโม ได้แก่ ตำหนักแห่งพระราชาต่างพระองค์
กัน หรือบ้านของพวกนายบ้านต่าง ๆ เช่นเมืองไพศาลีและเมืองกุสินารา
เป็นต้น.
ด้วยบทว่า ปริกฺขิตฺโต นี้ ท่านแสดงความที่บ้านของตระกูลต่าง
กัน มีอุปจารเดียวกัน.

ท่านกล่าวสภาด้วยลิงค์ตรงกันข้าม ในคำว่า สภาเย วา ทฺวารมูเล
วา
นี้ ว่า สภายํ
บทว่า ทฺวารมูเล ได้แก่ ที่ใกล้ประตูเมือง มีคำอธิบายว่า หรือ
พึงอยู่ในเรือนที่ตนเก็บจีวรไว้ในบ้านเห็นปานนั้น. เมื่อภิกษุไม่อาจจะอยู่
ในเรือนนั้น แพราะเสียงอึกทึก หรือเพราะคนพลุกพล่าน พึงอยู่ในสภา
หรือที่ใกล้ประตูเมือง. เมื่อไม่อาจอยู่แม้ในสภา หรือในที่ใกล้ประตูเมือง
นั้น พึงอยู่ในที่ผาสุก แห่งใดแห่งหนึ่งแล้วมาในภายในอรุณ ไม่พึงละ
จากหัตถบาส แห่งสภาและที่ใกล้ประตูเมืองนั้นเลย. ส่วนกิจที่ภิกษุจะพึง
อยู่ในหัตถบาสแห่งเรือน หรือแห่งจีวร ไม่มีเลย.
คำว่า สภายํ คจฺฉนฺเตน หตฺถปาเส จีวรํ นิกฺขิปิตฺวา มีความว่า
ถ้าว่า ภิกษุไม่เก็บไว้ในเรือน ไปยังสภาด้วยทำในใจว่า เราจักเก็บไว้ที่
สภา, เมื่อภิกษุนั้น ไปยังสภา พึงเหยียดแขนออกไปในหัตถบาส เก็บ
จีวรไว้ที่ร้านตลาดบางร้าน ที่เป็นทางแห่งการเก็บไว้ คือ อยู่ในหัตถบาส
อย่างนี้ว่า เอาเถอะ! เราจักเก็บจีวรนี้ไว้ แล้วพึงอยู่ที่สภา หรือที่ใกล้
ประตู หรือไม่พึงละ (จีวร) จากหัตถบาส โดยนัยก่อนนั่นแล.

[มติต่าง ๆ ในสถานที่เก็บและการรักษาจีวร]


ในวิสัยว่า สภาเย วา ทฺวารมูเล วา นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
พระปุสสเทวเถระ กล่าวไว้ก่อนว่า ไม่มีกิจจำเป็นที่จะต้องอยู่ใน
หัตถบาสแห่งจีวร, จะอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง จะเป็นหัตถบาสถนนก็ดี หัตถ-
บาสสภาก็ดี หัตถบาสประตูก็ดี ย่อมสมควรทั้งนั้น ดังนี้.