เมนู

แล้ว ดังนี้. เพราะอรรถด้วยอำนาจแห่งตติยาวิภัตติว่า กิจชื่อนี้ อันภิกษุ
พึงกระทำ ดังนี้ ไม่มี, แต่ว่า อรรถด้วยอำนาจแห่งฉัฏฐีวิภัตติอย่างนี้ว่า
เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว และเมื่อกฐินเดาะแล้ว ถ้าภิกษุมีปลิโพธขาด
แล้วอย่างนี้ พึงอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้สิ้นราตรีหนึ่ง ดังนี้ ย่อมสมควร
(เพราะเหตุใด; เพราะเหตุนั้น พึงทราบอรรถแห่งตติยาวิภัตติด้วยอำนาจ
ฉัฏฐีวิภัตติ).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติจีวเรน ได้แก่ จากบรรดาไตรจีวรที่
อธิษฐานแล้ว จีวรผืนใดผืนหนึ่ง. จริงอยู่ ภิกษุแม้อยู่ปราศจากจีวรผืน
เดียว ก็จัดว่าเป็นผู้อยู่ปราศจากไตรจีวร เพราะเป็นผู้อยู่ปราศจาก (จีวร
ผืนหนึ่ง) อันนับเนื่องในความสำเร็จเป็นไตรจีวร เพราะเหตุนั้นนั่นแล
ในบทภาชนะแห่งบทว่า ติจีวเรน นั้น พระองค์จึงตรัสคำว่า สงฺฆาฏิยา
เป็นต้น.
บทว่า วิปฺปวเสยฺย คือ พึงเป็นผู้อยู่ปราศจาก.

[อธิบายสถานที่เก็บจีวรและวิธีปฏิบัติ]


คำว่า คาโม เอกูปจาโร เป็นอาทิ ตรัสไว้เพื่อให้กำหนดลักษณะ
แห่งการไม่อยู่ปราศจาก (ไตรจีวร). ต่อจากคำว่า คาโม เอกูปจาโร
เป็นต้นนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงขยายบทมาติกา 15 บท
เหล่านั้นนั่นแล ให้พิสดารตามลำดับ จึงตรัสว่า คาโม เอกูปจาโร นาม
เป็นต้น. ในคำว่า คาโม เอกูปจาโร นั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-
พระราชวังของพระราชาพระองค์หนึ่ง หรือบ้านของนายบ้านคน
หนึ่ง ชื่อว่าบ้านของตระกูลเดียว. บทว่า ปริกฺขิตฺโต มีความว่า ล้อม
แล้วด้วยกำแพง ด้วยรั้ว หรือด้วยคู อย่างใดอย่างหนึ่ง.