เมนู

เล็ก) จะไม่ทำให้ขาดอธิษฐานหามิได้; เพราะฉะนั้น วาทะแม้นี้ก็ไม่ได้
กำหนดขนาดไว้.
แต่อรรถกถาวาทะแรกทั้งหมดนี้ เป็นประมาณ ในอธิการวินิจฉัย
ไตรจีวรเป็นต้นนี้. เพราะเหตุไร ? เพราะมีกำหนด. จริงอยู่ ประมาณ
อย่างเล็กแห่งไตรจีวร ประมาณช่องทะลุ และประมาณแห่งส่วนที่เป็น
ช่องทะลุ ท่านกำหนดกล่าวไว้แล้วในทุกอรรถกถาเหมือนกัน. เพราะ-
ฉะนั้น วาทะนั้นนั่นแลเป็นประมาณ. ด้วยว่า อรรถกถาวาทะนั้น ท่าน
กล่าวคล้อยตามพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแน่แท้. ส่วนใน 3
วาทะนอกนี้ ไม่มีกำหนดเลย. คำหน้ากับคำหลังไม่สมกันฉะนี้แล.
ก็ภิกษุใดตามผ้าปะลงในที่ชำรุดก่อนแล้ว เลาะที่ชำรุดออกในภาย
หลัง, การอธิษฐานของภิกษุนั้นยังไม่ขาดไป. แม้ในการเปลี่ยนแปลง
กระทง (จีวร) ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. สำหรับจีวร 2 ชั้น เมื่อชั้น
หนึ่งเกิดเป็นช่องทะลุ หรือครากไป อธิษฐานยังไม่ขาด. ภิกษุกระทำ
จีวรผืนเล็กให้เป็นผืนใหญ่ หรือกระทำผืนใหญ่ให้เป็นผืนเล็ก, อธิษฐาน
ยังไม่ขาด. เมื่อจะต่อริมสองข้างเข้าที่ตรงกลาง ถ้าว่า ตัดออกก่อนแล้ว
ภายหลังเย็บติดกัน, อธิษฐานย่อมขาด. ถ้าเย็บต่อกันแล้วภายหลังจึงตัด,
ยังไม่ขาดอธิษฐาน. แม้เมื่อใช้พวกช่างย้อมซักให้เป็นผ้าขาว อธิษฐาน
ก็ยังคงเป็นอธิษฐานอยู่ทีเดียวแล.
วินิจฉัยในการอธิษฐาน ในคำว่า อนฺโตทสาหํ อธิฏฺเฐติ วิกปฺเปติ
นี้ เท่านี้ก่อน.

[อธิบายการวิกัปจีวร]


ส่วนในการวิกัปมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

วิกัปมี 2 อย่าง คือ วิกัปต่อหน้า 1 วิกัปลับหลัง 1.
ถามว่า วิกัปต่อหน้า เป็นอย่างไร ?
แก้ว่า ภิกษุพึงทราบว่า จีวรผืนเดียว หรือมากผืน และว่า จีวร
วางไว้ใกล้ หรือมิได้วางไว้ใกล้ (อยู่ในหัตถบาสหรือนอกหัตถบาส) แล้ว
กล่าวว่า อิมํ จีวรํ จีวรผืนนี้ บ้าง ว่า อิมานิ จีวรานิ จีวรเหล่านี้
บ้าง ว่า เอตํ จีวรํ จีวรนั่น บ้าง ว่า เอตานิ จีวรานิ จีวรเหล่านั่น
บ้าง แล้วพึงกล่าวว่า ตุยหํ วิกปฺเปมิ ข้าพเจ้าวิกัปแก่ท่าน ดังนี้. วิกัป
ต่อหน้านี้ มีอยู่อย่างเดียว. ด้วยการวิกัปเพียงเท่านี้ จะเก็บไว้สมควรอยู่.
จะใช้สอย หรือจะสละ หรือจะอธิษฐานไม่ควร. แต่เมื่อภิกษุนั้น
(ภิกษุผู้รับวิกัป) กล่าวคำว่า มยฺหํ สนฺตกํ สนฺตกานิ ปริภุญฺช วา
วิสฺสชฺเชหิ วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ
แปลว่า จีวรนี้ หรือจีวร
เหล่านี้ เป็นของข้าพเจ้า ท่านจงใช้สอย จงจำหน่าย จงกระทำตาม
สมควรแก่ปัจจัยเถิด ดังนี้ ชื่อว่า ปัจจุทธรณ์ (ถอนวิกัป), จำเดิมแต่นั้น
แม้การบริโภคเป็นต้น ย่อมสมควร.
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุพึงรู้ว่า จีวรผืนเดียวหรือมากผืน และว่าวางไว้
ใกล้ หรือมิได้วางไว้ใกล้ อย่างนั้นนั่นแล แล้วกล่าวว่า อิมํ จีวรํ หรือว่า
อิมานิ จีวรานิ ดังนี้ ว่า เอตํ จีวรํ หรือว่า เอตานิ จีวรานิ ดังนี้
ในสำนักของภิกษุนั้นนั่นแล ระบุชื่อสหธรรมิก 5 รูปใดรูปหนึ่ง คือ
ผู้ใดผู้หนึ่ง ที่คนชอบใจแล้ว พึงกล่าวว่า ติสฺสสฺส ภิกฺขุโน วิกปฺเปมิ
ข้าพเจ้าวิกัป... แก่ภิกษุติสสะ หรือว่า ติสฺสาย ภิกขุนิยา, ติสฺสาย
สิกฺขมานาย, ติสฺสสฺส สามเณรสฺส, ติสฺสาย สามเณริยา วิกปฺเปมิ

ข้าพเจ้าวิกัป... แก่ติสสาภิกษุณี, แก่ติสสาสิกขมานา, แก่ติสสสามเณร,

แก่ติสสาสามเณรี ดังนี้. นี้เป็นวิกัปต่อหน้า อีกอย่างหนึ่ง. ด้วยการวิกัป
เพียงเท่านี้ จะเก็บไว้สมควรอยู่. แต่ในการใช้สอยเป็นต้น กิจแม้อย่าง
หนึ่ง ย่อมไม่ควร. แต่เมื่อภิกษุนั้นกล่าวคำว่า จีวรนี้ ของภิกษุชื่อติสสะ
ฯ ล ฯ ของสามเณรีชื่อติสสา ท่านจงบริโภคก็ตาม จงจำหน่ายก็ตาม จง
กระทำตามสมควรแก่ปัจจัยก็ตาม ดังนี้ ชื่อว่าเป็นอันถอน, จำเดิมแต่
นั้นแม้การใช้สอยเป็นต้น ก็สมควร.
ถามว่า การวิกัปลับหลัง เป็นอย่างไร ?
แก้ว่า ภิกษุพึงทราบว่า จีวรผืนเดียวหรือมากผืน และจีวรวางไว้
ใกล้ หรือมิได้วางไว้ใกล้ เหมือนอย่างนั้นแล้ว กล่าวว่า อิมํ จีวรํ
ซึ่งจีวรนี้ หรือว่า อิมานิ จีวรานิ ซึ่งจีวรทั้งหลายนี้ ว่า เอตํ จีวรํ
ซึ่งจีวรนั่น หรือว่า เอตานิ จีวรานิ ซึ่งจีวรทั้งหลายนั่น ดังนี้ แล้ว
กล่าวว่า ตุยหํ วิกปฺปนตฺถาย ทมฺมิ ข้าพเจ้าให้แก่ท่าน เพื่อประโยชน์
แก่การวิกัป. ภิกษุผู้วิกัป อันภิกษุผู้รับวิกัปนั้น พึงกล่าวว่า ใครเป็นมิตร
หรือเป็นเพื่อนเห็น หรือเป็นเพื่อนคบกันของท่าน, ลำดับนั้น ภิกษุผู้
วิกัปนอกนี้พึงกล่าวว่า ภิกษุชื่อติสสะ หรือว่า ฯลฯ สามเณรีชื่อติสสา
โดยนัยก่อนนั่นแล. ภิกษุนั้นพึงกล่าวอีกว่า อหํ ติสฺสสฺส ภิกฺขุโน
ทมฺมิ
ข้าพเจ้าให้แก่ภิกษุชื่อติสสะ ฯลฯ หรือว่า อหํ ติสฺสาย สามเณริยา
ทมฺมิ
ข้าพเจ้าให้แก่สามเณรีชื่อติสสา ดังนี้. อย่างนี้ ชื่อว่าวิกัปลับหลัง.
ด้วยการวิกัปเพียงเท่านี้ การเก็บไว้ สมควรอยู่. ส่วนในการใช้สอยเป็นต้น
กิจแม้อย่างเดียว ก็ไม่สมควร. แต่เมื่อภิกษุนั้นกล่าวคำว่า อิตฺถนฺนามสฺส
ภิกฺขุโน สนฺตกํ ปริภุญฺช วา วิสฺสชฺเชหิ วา ยถาปจฺจยํ วา กโรหิ

(จีวร) ของภิกษุข้อนี้ ท่านจงใช้สอยก็ได้ จงจำหน่ายก็ได้ จงกระทำ

ตามสมควรแก่ปัจจัยก็ได้ โดยนัยดังกล่าวแล้วในวิกัปต่อหน้าอย่างที่สอง
นั่นแล ชื่อว่าเป็นอันถอน. จำเดิมแต่ถอนแล้วนั้น แม้กิจทั้งหลายมี
การใช้สอยเป็นต้น ย่อมควร.
ถามว่า การวิกัปทั้ง 2 อย่าง ต่างกันอย่างไร ?
ตอบว่า ในการวิกัปต่อหน้า ภิกษุวิกัปเองแล้วให้ผู้อื่นถอนได้,
ในวิกัปลับหลัง ภิกษุให้คนอื่นวิกัปแล้วให้คนอื่นนั่งเองถอน, นี้เป็น
ความต่างกัน ในเรื่องวิกัปทั้ง 2 นี้. ก็ถ้าวิกัปแก่ผู้ใด ผู้นั้นไม่ฉลาด
ในพระบัญญัติ ไม่รู้จะถอน, พึงถือจีวรนั้น ไปยังสำนักสหธรรมิก
อื่นผู้ฉลาด วิกัปใหม่แล้วพึงให้ถอน. นี้ชื่อว่า การวิกัปบริขารที่วิกัปแล้ว
ควรอยู่.
ในบทว่า วิกปฺเปติ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- ก็คำที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้โดยไม่แปลกกันว่า วิกปฺเปติ นี้ ดูเหมือนจะผิด จาก
พระบาลีเป็นต้นว่า อนุชานามิ ภิกขุเว ติจีวรํ อธิฏฺฐาตุํ น วิกปฺเปตุํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้อธิษฐานไตรจีวร ไม่ใช่ให้วิกัป
ดังนี้, แต่พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ตรัสคำที่ผิด; เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษา
พึงทราบเนื้อความแห่งคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ติจีวรํ เป็นต้นนั้น
โดยนัยอย่างนี้ว่า เราอนุญาตให้อธิษฐาน สำหรับภิกษุผู้บริหารไตรจีวร
โดยสังเขปว่าไตรจีวรเท่านั้น ไม่ใช่ให้วิกัป. แต่ผ้าอาบน้ำฝน อนุญาต
ให้วิกัปอย่างเดียว ถัดจาก 4 เดือน (ฤดูฝน) ไม่ใช่อธิษฐาน, และเมื่อ
มีอรรถอย่างนี้ ภิกษุรูปใดใคร่จะอยู่ปราศจากไตรจีวร ผืนใดผืนหนึ่ง,
เป็นอันทรงประทานโอกาสแก่ภิกษุนั้น เพื่อถอนจีวรอธิษฐานแล้ววิกัป
เพื่อสะดวกในการอยู่ปราศ (ไตรจีวร) ไม่เป็นอาบัติ ในเมื่อล่วง 10 วัน.

โดยอุบายนี้ บัณฑิตพึงทราบความที่วิกัปไม่สำเร็จในจีวรเป็นต้นทั้งหมด
ฉะนี้แล.
บทว่า วิสฺสชฺเชติ มีวินิจฉัยว่า ภิกษุให้จีวรแก่ผู้อื่น ก็อย่างไร
เป็นอันให้แล้ว และอย่างไร เป็นอันถือเอาแล้ว ? ภิกษุผู้สละให้กล่าวว่า
อิทํ ตุยฺหํ เทมิ ททามิ หชฺชามิ โอโณเชมิ ปริจฺจชามิ วสฺสชฺชามิ
ข้าพเจ้าให้ ยกให้ มอบให้ น้อมให้ สละให้ จำหน่ายจีวรผืนนี้แก่ท่าน
หรือว่า อิตฺถนฺนามสฺส เทมิ ฯ เป ฯ นิสฺสชฺชามิ ข้าพเจ้าให้ ฯ ล ฯ
สละให้แก่ท่านผู้มีชื่อนี้ ดังนี้ เป็นอันให้ทั้งต่อหน้าทั้งลับหลังแล้วทีเดียว;
เมื่อผู้สละให้กล่าวว่า ตุยฺหํ คณฺหาหิ ท่านจงถือเอาของท่าน ดังนี้, ภิกษุ
ผู้รับกล่าวว่า มยฺหํ คณฺหามิ ข้าพเจ้าถือเอาของข้าพเจ้า เป็นอันให้ถูก
และถือเอาถูก, เมื่อผู้สละให้กล่าวว่า ตว สนฺตถํ กโรหิ ตว สนฺตกํ โหตุ
ตว สนฺตถํ กริสฺสสิ
ท่านจงทำให้เป็นของท่าน จงเป็นของท่าน ท่าน
จักกระทำให้เป็นของท่าน ดังนี้. ภิกษุผู้รับกล่าวว่า มม สนฺตกํ กโรมิ
ข้าพเจ้าจะทำให้เป็นของข้าพเจ้า มม สนฺตกํ โหตุ จงเป็นของข้าพเจ้า
มม สนฺตกํ กริสฺสามิ ข้าพเจ้า จักกระทำให้เป็นของข้าพเจ้า ดังนี้,
เป็นอันให้ไม่ถูกและเป็นอันถือเอาไม่ถูก.
ภิกษุ ผู้สละให้ ไม่รู้เพื่อจะให้ (ไม่รู้วิธีเสียสละให้) เลย, ฝ่ายผู้รับ
ก็ไม่รู้เพื่อจะรับ (ไม่รู้วิธีรับ). ก็ถ้าเมื่อภิกษุผู้เสียสละให้กล่าวว่า ขอท่าน
จงทำให้เป็นของท่านเสีย ภิกษุผู้รับกล่าวว่า ดีละ ขอรับ ! ผมจะรับเอา
แล้วถือเอา, เป็นอันให้ไม่ถูกต้อง แต่เป็นอันรับเอาถูกต้อง. ก็ถ้ารูปหนึ่ง
กล่าวว่า, ท่านจะถือเอาเสีย, อีกรูปหนึ่ง (คือผู้รับ) กล่าวว่า ผมจะไม่
ถือเอา, ผู้เสียสละให้นั้นกล่าวอีกว่า ท่านจงถือเอาของที่ผมให้แล้วเพื่อ

ท่าน, ฝ่ายภิกษุนอกนี้กล่าวว่า ผมไม่มีความต้องการด้วยของสิ่งนี้, หลัง
จากนั้นแม้รูปก่อนก็ให้ล่วง 10 วันไปด้วยเข้าใจว่า เราให้แล้ว, ฝ่าย
รูปหลังก็ให้ล่วง 10 วัน ไปด้วยเข้าใจว่า เราได้ปฏิเสธไปแล้ว เป็นอาบัติ
แก่ใคร ไม่เป็นอาบัติแก่ใคร ? ไม่เป็นอาบัติแก่ใคร, ก็ท่านรูปใดชอบใจ,
ท่านรูปนั้นพึงอธิษฐานใช้สอยเถิด.
ฝ่ายภิกษุผู้ที่มีความสงสัยในการอธิษฐาน จะพึงทำอย่างไร ? พึง
บอกความเป็นผู้สงสัยแล้วกล่าวว่า ถ้าจีวรจักไม่ได้อธิษฐาน เมื่อเป็น
อย่างนั้น จีวรเป็นของควรแก่ข้าพเจ้า แล้วพึงเสียสละโดยนัยดังกล่าวแล้ว
นั้นแล. เพราะว่าเมื่อภิกษุให้รู้อย่างนี้แล้วทำวินัยกรรมไม่เป็นมุสาวาท.
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า จีวรนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถือเอาเป็นวิสาสะแล้ว
คืนให้ ก็ควร. คำของอาจารย์บางพวกนั้นไม่ชอบ. เพราะนั่น ไม่ใช่
วินัยกรรมของภิกษุผู้มีความสงสัยนั้น. ทั้งผ้านั้น ก็ไม่เป็นวัตถุอื่น ด้วย
เหตุสักว่าถือเอาแล้วให้คืนนี้.
คำว่า นสฺสติ เป็นต้น มีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
ในคำว่า โย น ทเทยฺย อาปตฺติ ทุกกฏสฺส นี้มีวินิจฉัยดังนี้:-
เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่คืนให้ ด้วยความสำคัญนี้ว่า ภิกษุนี้ให้แล้วแก่เรา.
แต่ภิกษุผู้รู้ว่าเป็นของภิกษุนั้นแล้วชิงเอาด้วยเลศ พระวินัยธรพึงให้ตีราคา
สิ่งของปรับอาบัติ ฉะนี้แล.
ในสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ ชื่อว่ากฐินสมุฏฐาน ย่อมเกิด
ทางกายกับวาจา และทางกายวาจากับจิต เป็นอกิริยา เพราะต้องด้วย
การไม่อธิษฐานและไม่วิกัป เป็นโนสัญญาวิโมกข์ เพราะไม่พ้นด้วยสัญญา

แม้ไม่รู้ก็ต้อง เป็นอจิตตกะ ปัณณัติติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม
มีจิต 3 มีเวทนา 3 ฉะนี้แล.
พรรณนาปฐมกฐินสิกขาบท ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ

จีวรวรรค สิกขาบทที่ 2


เรื่องภิกษุหลายรูป


[10] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลาย
ฝากผ้าสังฆาฎิไว้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว มีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้าอันตรวาสก
หลีกไปสู่จาริกในชนบท ผ้าสังฆาฎิเหล่านั้นถูกเก็บไว้นานก็ขึ้นราตกหนาว
ภิกษุทั้งหลายจึงผึ่งผ้าสังฆาฏิเหล่านั้น
ท่านพระอานนท์เที่ยวตรวจดูเสนาสนะ ได้พบภิกษุเหล่านั้นกำลัง
ผึ่งผ้าสังฆาฏิอยู่ ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ถามว่าจีวรที่ขึ้นรา
เหล่านี้ของใคร
จึงภิกษุเหล่านั้นแจ้งความนั้นแก่ท่านพระอานนท์แล้ว
ท่านพระอานนท์จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ
ทั้งหลายจึงได้ฝากผ้าสังฆาฎิไว้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว มีแต่ผ้าอุตราสงค์กับผ้า
อันตรวาสก หลีกไปสู่จาริกในชนบทเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า