เมนู

ผ้าปิดฝีได้ประมาณพึงอธิษฐานชั่วเวลาที่ยังมีอาพาธอยู่, เมื่ออาพาธ
หายแล้ว พึงปัจจุทธรณ์วิกัปไว้. ผืนเดียวเท่านั้น จึงควร.
ผ้าเช็ดหน้า พึงอธิษฐานเหมือนกัน. ภิกษุจำต้องปรารถนาผืนอื่น
เพื่อต้องการใช้เวลาที่ยังซักอีกผืนหนึ่งอยู่, เพราะฉะนั้น สองผืนก็ควร.
แต่พระเถระอีกพวกหนึ่งกล่าวว่า การอธิษฐานผ้าเช็ดหน้านั้น มุ่งการ
เก็บไว้เป็นสำคัญ แม้มากผืนก็ควร.
ในบริขารโจล ชื่อว่าการนับจำนวนไม่มี, พึงอธิษฐานได้เท่า
จำนวนที่ต้องการนั่นเทียว. ถุงย่ามก็ดี ผ้ากรองน้ำก็ดี มีประมาณเท่าจีวร
ที่ควรวิกัปเป็นอย่างต่ำ พึงอธิษฐานว่า บริขารโจล เหมือนกัน. แม้จะ
รวมจีวรมากผืนเข้าด้วยกันแล้วอธิษฐานว่า ข้าพเจ้าอธิษฐานจีวรเหล่านี้
เป็นบริขารโจล ดังนี้ ก็สมควรเหมือนกัน. แม้ภิกษุจะเก็บไว้เพื่อประโยชน์
แก่เภสัช นวกรรมและมารดาบิดาเป็นต้น ก็จำต้องอธิษฐานแท้. แต่ใน
มหาปัจจรีท่านกล่าวว่า ไม่เป็นอาบัติ.
ส่วนในเสนาสนบริขารเหล่านี้ คือ ฟูกเตียง 1 ฟูกตั่ง 1 หมอน 1
ผ้าปาวาร 1 ผ้าโกเชาว์ 1 และในเครื่องปูลาดที่เขาถวายไว้เพื่อประโยชน์
แก่เสนาสนบริขาร ไม่มีกิจที่ต้องอธิษฐานเลย.

[ว่าด้วยเหตุให้ขาดอธิษฐาน]


ถามว่า ก็จีวรที่อธิฐานแล้ว เมื่อภิกษุใช้สอยอยู่ จะละอธิษฐาน
ไปด้วยเหตุอย่างไร ?
ตอบว่า ย่อมละด้วยเหตุ 9 อย่างนี้ คือ ด้วยให้บุคคลอื่น 1
ด้วยถูกชิงเอาไป 1 ด้วยถือเอาโดยวิสาสะ 1 ด้วยหันไปเป็นคนเลว 1

ด้วยลาสิกขา 1 ด้วยกาลกิริยา 1 ด้วยเพศกลับ 1 ด้วยถอนอธิษฐาน 1
ด้วยความเป็นช่องทะลุ 1.
บรรดาเหตุ 9 อย่างนั้น จีวรทุกชนิดย่อมละอธิษฐานด้วยเหตุ 8
อย่างข้างต้น. แต่เฉพาะไตรจีวรละอธิษฐานด้วยความเป็นช่องทะลุ ท่าน
กล่าวไว้ในอรรถกถาทุกแห่ง. และการละอธิษฐานนั้น ท่านกล่าวไว้ด้วย
ช่องทะลุประมาณเท่าหลังเล็บ. ในช่องทะลุประมาณเท่าหลังเล็บนั้น ผู้
ศึกษาพึงทราบขนาดเท่าหลังเล็บ ด้วยสามารถแห่งเล็บนิ้วก้อย. และช่อง
ทะลุ เป็นช่องโหว่ทีเดียว. ก็ถ้าแม้นว่า ภายในช่องทะลุมีเส้นด้ายเส้น
หนึ่งยังไม่ขาด, ก็ยังรักษาอยู่.
บรรดาไตรจีวรนั้น สำหรับสังฆาฎิและอุตราสงค์ ช่องทะลุจาก
ด้านในแห่งเนื้อที่มีประมาณเพียง 1 คืบ จากซ้ายด้านยาว, มีประมาณ
8 นิ้ว จากชายด้านกว้าง ย่อมทำให้ขาดอธิษฐาน. แต่สำหรับอันตรวาสก
ช่องทะลุจากด้านในแห่งเนื้อที่ มีประมาณเพียง 1 คืบ จากชายด้านยาว,
มีประมาณ 4 นิ้ว จากชายด้านกว้าง ย่อมทำให้ขาดอธิษฐาน, ช่องทะลุ
เล็กลงมา ไม่ทำให้ขาดอธิษฐาน. เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดเป็นช่องทะลุ
จีวรนั้นย่อมตั้งอยู่ในฐานแห่งอติเรกจีวร, ควรกระทำสูจิกรรมแล้ว
อธิษฐานใหม่.
แต่พระมหาสุมเถระกล่าวว่าสำหรับจีวรที่ได้ประมาณมีช่องทะลุที่ใด
ที่หนึ่ง ย่อมทำให้ขาดอธิษฐาน, แต่สำหรับจีวรที่ใหญ่ ช่องทะลุภายนอก
จากประมาณ ยังไม่ทำให้ขาดอธิษฐาน, ช่องทะลุที่เกิดข้างในจึงทำให้
ขาด ดังนี้ .

พระกรวิยติสสเถระกล่าวว่า จีวรเล็ก ใหญ่ ไม่เป็นประมาณ, ช่อง
ทะลุในที่ซึ่งภิกษุเมื่อครองจีวรซ้อนกัน* 2 ตัวม้วนมาพาดไว้บนแขนซ้าย
ยังไม่ทำให้ขาดอธิษฐาน, ช่องทะลุส่วนภายในย่อมทำให้ขาด, แม้สำหรับ
อันตรวาสก ช่องทะลุในที่แห่งจีวรที่ภิกษุม้วนให้เป็นลูกบวบ ย่อมไม่ทำ
ให้ขาด, ช่องทะลุที่ต่ำลงจากที่ม้วนให้เป็นลูกบวบนั้น ย่อมทำให้ขาด.
เเต่ในอรรถกถาอันธกะ ท่านทำวาทะของพระมหาสุมเถระให้เป็น
หลักในไตรจีวรแล้วกล่าวว่า จีวรประมาณอย่างต่ำ ย่อมรักษาอธิษฐาน
ไว้ได้ จึงกล่าวคำแม้นี้เพิ่มเติมไว้ว่า ในบริขารโจล ด้านยาว 9 นิ้ว โดย
นิ้วสุคต ด้านกว้าง 4 นิ้ว เป็นช่องทะลุ ณ ที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ย่อมละ
อธิษฐานไป, ในบริขารโจลผืนใหญ่ช่องทะลุที่ต่ำกว่า 8 นิ้วและ 4 นิ้ว
นั้น ยังไม่ละอธิษฐาน, ในจีวรที่ควรอธิษฐานทั้งหมด ก็นัยนี้ ดังนี้.
บรรดาวาทะทั้ง 4 นั้น เพราะขึ้นชื่อว่า ประมาณอย่างเล็กอื่น ๆ
ที่ต่ำกว่าประมาณอย่างเล็ก แห่งจีวรที่ควรวิกัป ของจีวรที่จะพึงอธิษฐาน
แม้ทั้งหมด ย่อมไม่มี. ด้วยว่า ประมาณแห่งผ้านิสีทนะ ผ้าปิดแผล และ
ผ้าอาบน้ำฝนที่ท่านกล่าวไว้นั้น เป็นประมาณอย่างใหญ่ เพราะประมาณ
ที่ยิ่งกว่าประมาณอย่างใหญ่นั้น สำเร็จแล้ว (ใช้ได้), หาใช่ประมาณอย่าง
เล็กไม่ เพราะประมาณอย่างเล็กลงมาจากประมาณอย่างใหญ่นั้น ไม่สำเร็จ
(ใช้ไม่ได้). แม้ไตรจีวรที่หย่อนกว่าประมาณแห่งสุคตจีวร จัดเป็น
ประมาณอย่างใหญ่เหมือนกัน. แต่ประมาณอย่างเล็กที่ท่านแยกกล่าวไว้
ต่างหากในพระสูตรไม่มี.
* วิมติ: เทฺว จีวรานิ ปารุปนฺตสฺสาติ คามปฺปเวเส ทฺวิคุณํ กตฺวา สงฺฆาฏิโย ปารุปนํ
สนฺธาย วุตฺตํ. แม้สารัตถทีปนี 3/146 ก็แก้คล้ายกันนี้.

การกำหนดขนาดใหญ่แห่งผ้าเช็คหน้า ผ้าปูนอน และผ้าบริขารโจล
ไม่มีเหมือนกัน. แต่ท่านกล่าวกำหนดไว้ด้วยประมาณอย่างเล็กขนาดจีวรที่
ควรวิกัป เพราะฉะนั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ก่อน ในอรรถกถาอันธกะ
ว่า ประมาณอย่างเล็กย่อมรักษาการอธิษฐานไว้ได้ แล้วแสดงประมาณ
อย่างเล็ก 8 นิ้ว และ 4 นิ้ว โดยนิ้วสุคตแห่งบริขารโจลเท่านั้น ใน
บรรดาไตรจีวรและบริขารโจลเป็นต้นนั้นแล้ว และหมายเอาประมาณอย่าง
เล็กแห่งไตรจีวรเป็นต้นนอกนี้ ซึ่งมีชนิด 5 ศอกกำเป็นต้น จึงกล่าวว่า
ในจีวรที่ควรอธิษฐานทั้งหมด ก็นัยนี้, คำที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถา
อันธกะนั้น ย่อมไม่สมกัน. แม้ในวาทะของพระกรวิยติสสเถระ ท่านก็
แสดงช่องทะลุจากชายด้านยาวเท่านั้น จากชายด้านกว้างท่านมิได้แสดงไว้;
เพราะฉะนั้น วาทะของพระกรวิยติสสเถระนั้น ก็ไม่ได้กำหนดไว้.
ในวาทะของพระมหาสุมเถระท่านกล่าวไว้ว่า ช่องทะลุในที่แห่งใด
แห่งหนึ่งแห่งจีวรที่ได้ประมาณ ย่อมทำให้ขาดอธิษฐาน, ช่องทะลุภาย
นอกจากประมาณ แห่งจีวรขนาดใหญ่ ย่อมไม่ทำให้ขาดอธิษฐาน. แต่
ท่านก็ไม่ได้กล่าวคำนี้ว่า จีวรชื่อนี้ จัดเป็นจีวรที่ได้ประมาณ, ที่โตกว่า
จีวรที่ได้ประมาณนี้ จัดเป็นจีวรใหญ่.
อีกอย่างหนึ่ง ในวิสัยแห่งไตรจีวรเป็นต้นนี้ อาจารย์ทั้งหลาย
ประสงค์เอาคำว่า ขนาดที่ต่างกันมี 5 ศอกกำเป็นอาทิ เป็นประมาณ
อย่างเล็กแห่งไตรจีวรเป็นต้น, ถ้าในจีวรใหญ่นั้น ช่องทะลุในภายนอก
จากประมาณอย่างเล็ก ไม่พึงทำให้ขาดอธิษฐานไซร้, ช่องทะลุในภายนอก
จากประมาณอย่างเล็กแม้เเห่งบาตรขนาดใหญ่ หรือแห่งบาตรขนาดกลาง
ก็ไม่พึงทำให้ขาดอธิษฐาน, แต่ (ช่องทะลุในภายนอกจากประมาณอย่าง

เล็ก) จะไม่ทำให้ขาดอธิษฐานหามิได้; เพราะฉะนั้น วาทะแม้นี้ก็ไม่ได้
กำหนดขนาดไว้.
แต่อรรถกถาวาทะแรกทั้งหมดนี้ เป็นประมาณ ในอธิการวินิจฉัย
ไตรจีวรเป็นต้นนี้. เพราะเหตุไร ? เพราะมีกำหนด. จริงอยู่ ประมาณ
อย่างเล็กแห่งไตรจีวร ประมาณช่องทะลุ และประมาณแห่งส่วนที่เป็น
ช่องทะลุ ท่านกำหนดกล่าวไว้แล้วในทุกอรรถกถาเหมือนกัน. เพราะ-
ฉะนั้น วาทะนั้นนั่นแลเป็นประมาณ. ด้วยว่า อรรถกถาวาทะนั้น ท่าน
กล่าวคล้อยตามพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแน่แท้. ส่วนใน 3
วาทะนอกนี้ ไม่มีกำหนดเลย. คำหน้ากับคำหลังไม่สมกันฉะนี้แล.
ก็ภิกษุใดตามผ้าปะลงในที่ชำรุดก่อนแล้ว เลาะที่ชำรุดออกในภาย
หลัง, การอธิษฐานของภิกษุนั้นยังไม่ขาดไป. แม้ในการเปลี่ยนแปลง
กระทง (จีวร) ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. สำหรับจีวร 2 ชั้น เมื่อชั้น
หนึ่งเกิดเป็นช่องทะลุ หรือครากไป อธิษฐานยังไม่ขาด. ภิกษุกระทำ
จีวรผืนเล็กให้เป็นผืนใหญ่ หรือกระทำผืนใหญ่ให้เป็นผืนเล็ก, อธิษฐาน
ยังไม่ขาด. เมื่อจะต่อริมสองข้างเข้าที่ตรงกลาง ถ้าว่า ตัดออกก่อนแล้ว
ภายหลังเย็บติดกัน, อธิษฐานย่อมขาด. ถ้าเย็บต่อกันแล้วภายหลังจึงตัด,
ยังไม่ขาดอธิษฐาน. แม้เมื่อใช้พวกช่างย้อมซักให้เป็นผ้าขาว อธิษฐาน
ก็ยังคงเป็นอธิษฐานอยู่ทีเดียวแล.
วินิจฉัยในการอธิษฐาน ในคำว่า อนฺโตทสาหํ อธิฏฺเฐติ วิกปฺเปติ
นี้ เท่านี้ก่อน.

[อธิบายการวิกัปจีวร]


ส่วนในการวิกัปมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-