เมนู

เรียบร้อย หรือห่มไม่เรียบร้อย ให้เรียบร้อย ไม่เป็นอาบัติ. ไม่เป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้ใช้สอยของภิกษุอื่น. ก็คำมีอาทิว่า ภิกษุได้จีวรที่ผู้อื่น
กระทำแล้วใช้สอย ดังนี้ เป็นเครื่องสาธกในความไม่เป็นอาบัตินี้. ทรง
หมายเอาการใช้สอย ปรับเป็นอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญในจีวร
ยังไม่ล่วง (10 วัน) ว่าล่วงแล้ว และภิกษุผู้มีความสงสัย.

[ว่าด้วยขนาดจีวรที่ควรอธิฐานและวิกัป]


ก็ในข้อว่า อนาปตฺติ อนฺโตทสาหํ อธิฏฺเฐติ วิกปฺเปติ นี้ ผู้ศึกษา
พึงทราบจีวรที่ควรอธิษฐาน และที่ควรวิกัป. ในจีวรที่ควรอธิษฐานและ
วิกปะนั้น มีพระบาลีดังต่อไปนี้:-
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายได้มีความรำพึงอย่างนี้ว่า จีวรทั้งหลาย
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ คือ ไตรจีวรก็ดี คือ วัสสิกสาฎก
ก็ดี คือ นิสีทนะก็ดี คือ ปัจจัตถรณะก็ดี คือ กัณฑุปฏิจฉาทิก็ดี คือ
มุขปุญฉนโจลกะก็ดี คือ ปริขารโจลกะก็ดี ควรอธิษฐานทั้งหมดหรือว่า
ควรจะวิกัปหนอแล*. ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนี้ แด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาต
ให้อธิษฐานไตรจีวร ไม่อนุญาตให้วิกัป, ให้อธิษฐานวัสสิกสาฎก ตลอด
4 เดือนแห่งฤดูฝน พ้นจากพ 4 เดือนฤดูฝนนั้น อนุญาตให้วิกัปไว้,
อนุญาตให้อธิษฐานนิสีทนะ ไม่ใช่ให้วิกัป, อนุญาตให้อธิษฐานผ้าปูนอน
ไม่ใช่ให้วิกัป, อนุญาตให้อธิษฐานกัณฑุปฏิจฉาทิ (ผ้าปิดแผล) ชั่วเวลา
อาพาธ พ้นจากกาลอาพาธนั้น อนุญาตให้วิกัป อนุญาตให้อธิษฐาน
* วิ. มหา. 5/218.

มุขปุญฉนโจล (ผ้าเช็ดหน้า) ไม่อนุญาตให้วิกัป, อนุญาตให้อธิษฐาน
บริขารโจล ไม่อนุญาตให้วิกัป* ดังนี้.

[ว่าด้วยการอธิษฐานไตรจีวรเป็นต้น]


บรรดาจีวรเป็นต้นเหล่านั้น อันภิกษุเมื่อจะอธิษฐานไตรจีวรย้อม
แล้วให้กัปปะพินทุ พึงอธิษฐานจีวรที่ได้ประมาณเท่านั้น. ประมาณแห่ง
จีวรนั้น โดยกำหนดอย่างสูง หย่อนกว่าสุคตจีวร (จีวรของพระสุคต)
จึงควร และโดยกำหนดอย่างต่ำ ประมาณแห่งสังฆาฏิ และอุตราสงค์
ด้านยาว 5 ศอกกำ ด้านกว้าง 3 ศอกกำ จึงควร. อันตรวาสก ด้าน
ยาว 5 ศอกกำ ด้านกว้าง แม้ 2 ศอก ก็ควร. เพราะอาจเพื่อจะปกปิด
สะดือด้วยผ้านุ่งบ้าง ผ้าห่มบ้างแล. ก็จีวรที่เกินและหย่อนกว่าประมาณ
ดังกล่าวแล้ว พึงอธิษฐานว่า บริขารโจล.
ในวิสัยแห่งการอธิษฐานจีวรนั้น ท่านกล่าวไว้ว่า การอธิษฐาน
จีวร มี 2 อย่าง คืออธิษฐานด้วยกายอย่างหนึ่ง อธิษฐานด้วยวาจาอย่าง
หนึ่ง; ฉะนั้น ภิกษุพึงถอนสังฆาฎิผืนเก่าว่า อิมํ สงฺฆาฏึ ปจฺจุทฺธรามิ (เรา
ถอนสังฆาฎิผืนนี้) แล้วเอามือจับสังฆาฎิใหม่ หรือพาดบนส่วนแห่งร่างกาย
กระทำการผูกใจว่า อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺฐามิ (เราอธิษฐานสังฆาฎินี้) แล้ว
พึงทำกายวิการ อธิษฐานด้วยกาย นี้ ชื่อว่า การอธิษฐานด้วยกาย
เมื่อไม่ถูกต้องจีวรนั้นด้วยส่วนแห่งร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง การอธิษฐาน
นั้น ไม่ควร.
ส่วนในการอธิษฐานด้วยวาจา พึงเปล่งวาจาแล้วอธิษฐานด้วย
* วิ. มหา. 5/218-219.