เมนู

ชาตินั้น; เหตุนั้น ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า นิสสัคคีย์ ฉะนี้แล. นิสสัคคีย์
นั้น คืออะไร ? คือ ปาจิตตีย์. ในคำว่า ตํ อติกฺกามยโต นสฺสคฺคิยํ
ปาจิตฺติยํ
นี้ มีใจความดังนี้ว่า เป็นปาจิตตีย์มีการเสียสละเป็นวินัยกรรม
แก่ภิกษุผู้ให้ล่วงกาลนั้นไป.
แต่ในบทภาชนะ เพื่อทรงแสดงอรรถวิกัปแรกก่อน พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงทรงตั้งมาติกาว่า เมื่อภิกษุให้ล่วงกาลนั้นไป เป็นนิสสัคคีย์
แล้วตรัสคำว่า ในเมื่ออรุณวันที่ 11 ขึ้น เป็นนิสสัคคีย์ คือ อันภิกษุ
พึงเสียสละ ดังนี้. และจีวรนั้น อันภิกษุพึงเสียสละแก่บุคคลใดพึงเสียสละ
โดยวิธีอย่างใด เพื่อทรงแสดงบุคคลและวิธีเสียสละนั้นอีก จึงตรัสคำ
เป็นต้นว่า สงฺฆสฺส วา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ในคำว่า เอกาทเส อรุณุคฺคมเน นี้ ผู้ศึกษา
พึงทราบว่า จีวรเกิดขึ้นในวันใด อรุณแห่งวันนั้น อาศัยวันที่จีวรเกิด
ขึ้น; เพราะเหตุนั้น จึงเป็นนิสสัคคีย์ ในเมื่ออรุณวันที่ 11 ขึ้นรวมกัน
วันที่จีวรเกิด ถ้าแม้ว่า จีวรเป็นอันมากผูกหรือพับรวมกันเก็บไว้ ก็เป็น
อาบัติเพียงตัวเดียว. ไม่จีวรที่พับไว้ไม่รวมกันเป็นอาบัติหลายตัวตาม
จำนวนแห่งวัตถุ.

[อธิบายวิธีเสียสละและวิธีแสดงอาบัติ]


ข้อว่า นิสฺสชฺชิตฺวา อาปตฺติ เทเสตพฺพา มีความว่า ถามว่า พึง
แสดงอาบัติอย่างไร ?
แก้ว่า พึงแสดงเหมือนอย่างที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
ขันธกะ.