เมนู

อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ ย่อมทราบได้ด้วยการอนุมานบ้าง
ย่อมทราบได้โดยนัยนี้บ้างว่า ท่านพระสารีบุตร เมื่อทนอดกลั้นความวิโยค
(พลัดพราก) จากพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่สิ้นวันมีประมาณเท่านี้, บัดนี้
นับแต่นี้ไป จักไม่เลยวันชื่อโน้น, ท่านจักมาแน่นอน, จริงอยู่ ชน
ทั้งหลายผู้ซึ่งมีปัญญามาก ย่อมมีความรักและความเคารพในพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามาก ดังนี้. พระเถระย่อมทราบได้ด้วยเหตุหลายอย่างด้วยประการ
อย่างนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกราบทูลว่า จักมาในวัน ที่ 9 หรือวันที่
10 พระพุทธเจ้าข้า ! ดังนี้ เมื่อพระอานนทเถระกราบทูลอย่างนี้แล้ว
เพราะสิกขาบทนี้มีโทษทางพระบัญญัติ มิใช่มีโทษทางโลก; เพราะเหตุ
นั้น ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงทำวันที่ท่านพระอานนท์
กราบทูลนั่นแลให้เป็นกำหนด จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ! เราอนุญาตให้ทรงอดิเรกจีวรไว้ 10 วันเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้
ถ้าหากว่า พระเถระนี้ จะพึงทูลแสดงขึ้นกึ่งเดือน หรือเดือนหนึ่ง, แม้
กึ่งเดือน หรือเดือนหนึ่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็จะพึงทรงอนุญาต.

[แก้อรรถสิกขาบทวิภังค์ว่าด้วยการเดาะกฐิน]


บทว่า นิฏฺฐิตจีวรสฺมึ ได้แก่ เมื่อจีวรสำเร็จแล้ว โดยการสำเร็จ
อย่างใดอย่างหนึ่ง. ก็เพราะจีวรนี้ ย่อมเป็นอันสำเร็จแล้ว ด้วยการ
กระทำบ้าง ด้วยเหตุมีการเสียหายเป็นต้นบ้าง; ฉะนั้น เพื่อทรงแสดง
เพียงแต่อรรถเท่านั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า นิฏฺฐิตจีวรสฺมึ นั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า ภิกฺขุนา จีวรํ กตํ วา โหติ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตํ คือ อันภิกษุกระทำแล้วด้วยกรรม
มีสูจิกรรมเป็นที่สุด. ที่ชื่อว่า กรรมมีสูจิกรรมเป็นที่สุด ได้แก่การทำ