เมนู

อดิเรกจีวรบังเกิดแก่เรา และเราก็ใคร่จะถวายแก่ท่านพระสารีบุตร แต่
ท่านอยู่ถึงเมืองสาเกต เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ ครั้นแล้วท่านพระ-
อานนท์ได้กราบทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ ยังอีกนานเท่าไร
สารีบุตรจึงจักกลับมา
พระอานนท์กราบทูลว่า จักกลับมาในวันที่ 9 หรือวันที่ 10
พระพุทธเจ้าข้า

ทรงอนุญาตอดิเรกจีวร


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทรงอดิเรกจีวรไว้ได้ 10 วัน
เป็นอย่างยิ่ง
อนึ่ง พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระอนุบัญญัติ


20. 1. ก. จีวรสำเร็จแล้ว กฐินอันภิกษุเดาะเสียแล้ว พึง
ทรงอดิเรกจีวรได้ 10 วันเป็นอย่างยิ่ง ภิกษุให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็น
นิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องพระอานนท์ จบ

สิกขาบทวิภังค์


[3] บทว่า จีวรสำเร็จแล้ว ความว่า จีวรของภิกษุทำสำเร็จแล้ว

ก็ดี หายเสียก็ดี ฉิบทายเสียก็ดี ถูกไฟไหม้เสียก็ดี หมดหวังว่าจะได้ทำ
จีวรก็ดี
คำว่า กฐิน...เดาะเสียแล้ว คือ เดาะเสียแล้วด้วยมาติกาอันใด
อันหนึ่งในมาติกา 8 หรือสงฆ์เดาะเสียในระหว่าง
บทว่า 10 วันเป็นอย่างยิ่ง คือ ทรงไว้ได้ 10 วันเป็นอย่างมาก
ที่ชื่อว่า อดิเรกจีวร ได้แก่ จีวรที่ยังไม่ได้อธิษฐาน ยังไม่ได้วิกัป
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ ผ้า 6 ชนิด ชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเข้าองค์
กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ
คำว่า ให้ล่วงกำหนดนั้นไป เป็นนิสสัคคีย์ ความว่า เมื่ออรุณ
ที่ 11 ขึ้นมา จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์
คณะ หรือบุคคล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้น อย่างนี้:-

วิธีเสียสละ


เสียสละแก่สงฆ์


[4] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า กราบ
เท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งประณมมือกล่าวอย่างนั้นว่า
ท่านเจ้าข้า จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า ล่วง 10 วัน เป็นของจำจะ
สละ ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์
ครั้น สละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ
พึงคืนจีวรที่เสียสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุมีชื่อนี้