เมนู

บทสรุป


[657] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมคืออนิยต 2 สิกขาบท ข้าพเจ้า
ยกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรม คือ อนิยต 2
สิกขาบทเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถาม
แม้ครั้งที่สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ข้าพเจ้าขอถามแม้
ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ ท่านทั้งหลายเป็นผู้
บริสุทธิ์แล้วในธรรม คือ อนิยต 2 สิกขาบทเหล่านี้ เหตุนั้น จึงนิ่ง
ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.
อนิยตภัณฑ์ จบ

หัวข้อประจำเรื่อง


อนิยต 2 สิกขาบท คือ นั่งในที่ลับพอจะทำการได้ 1 แลนั่ง
ในที่เช่นนั้น แต่หาเป็นที่พอจะทำการได้ไม่ 1 พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
ผู้คงที่ ทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว ดังนี้แล.

พรรณนาอนิยตสิกขาบทที่ 2


อนิยตสิกขาบทที่ 2 ว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น
ข้าพเจ้าจะขอกล่าวต่อไป:- ในอนิยตสิกขาบทที่ 2 นั้น มีวินิจฉัยดัง
ต่อไปนี้ :-
ไม่คำว่า ภควตา ปฏิกฺขิตฺตํ เป็นต้น ผู้ศึกษาพึงทราบสัมพันธ์
อย่างนี้ว่า ภิกษุรูปเดียว พึงสำเร็จการนั่งใด ในที่ลับ คือ อาสนะกำบัง

พอจะทำการได้กับมาตุคามผู้เดียว, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการสำเร็จ
การนั่งนั้น. จริงอยู่ เมื่อจะถือเอาใจความโดยประการอื่นควรจะตรัสว่า
เอกสฺส เอกาย.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะท่านกล่าวคำว่า ทรงห้ามแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง คำว่า เอโก นี้ พึงทราบว่า เป็นปฐมาวิภัตติลง
ในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ.

[อธิบายว่าด้วยสถานที่ลับทำให้ต้องอาบัติ]


ก็ในคำว่า น เหว โข ปน ปฏิจฺฉนฺนํ นี้ แม้สถานที่ล้อม
ในภายนอก ภายในเปิดเผย มีบริเวณสนามเป็นต้น ก็พึงทราบว่า
รวมเข้าในภายใน (นับเนื่องในสถานที่ไม่กำบัง). ท่านกล่าวไว้ในมหา-
ปัจจรีว่า สถานที่แม้เห็นปานนี้ นับเข้าในที่ไม่กำบังทีเดียว. คำที่เหลือ
พึงทราบโดยนัยแห่งสิกขาบทที่ 1 นั่นแล. ก็ในสิกขาบทนี้มีความแปลก
กันเพียงอย่างเดียวนี้ว่า คนรู้เดียงสาผู้หนึ่งผู้ใดเป็นหญิงก็ตาม ชายก็ตาม
ไม่เป็นคนตาบอด และหูหนวก ยืนหรือนั่งอยู่ในโอกาสภายใน 12 ศอก
มีจิตฟุ้งซ่านไปบ้าง เคลิ้มไปบ้าง ก็คุ้มอาบัติได้. ส่วนคนหูหนวก แม้
มีตาดี หรือคนตาบอดแม้หูไม่หนวก ก็คุ้มไม่ได้. และพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงลดอาบัติปาราชิกลงมา ปรับอาบัติเพราะวาจาชั่วหยาบ. คำที่เหลือ
เป็นเช่นกับสิกขาบทก่อนนั่นแล. แม้ในสิกขาบททั้งสอง ไม่เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุบ้า และภิกษุผู้เป็นต้นบัญญัติ.