เมนู

สิกขาบทวิภังค์


็ [645] คำว่า อนึ่ง สถานหาเป็นอาสนะกำบังไม่เลยทีเดียว
อธิบายว่า อาสนะเป็นที่เปิดเผย คือ เป็นสถานที่มิได้กำบังด้วยฝา
บานประตู เสื่อลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ เสา หรือฉาง อย่างใด
อย่างหนึ่ง.
บทว่า หาเป็นที่พอจะทำการได้ไม่ คือ ไม่อาจเสพเมถุนธรรมได้
คำว่า แต่เป็นที่พอจะพูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบได้อยู่
คือ อาจจะพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้.
[646] บทว่า แล...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงาน
อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด
มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ
ก็ดีตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แล...ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา
ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียง
กันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดา

ภิกษุเหล่านี้นั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม
อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ .
บทว่า ในอาสนะมีรูปอย่างนั้น คือ ในอาสนะเห็นปานนั้น.
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ใช่
หญิงเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย เป็นสตรีผู้รู้เดียงสา สามารถซาบซึ้ง
ถึงถ้อยคำ เป็นสุภาษิต ทุรภาษิต วาจาชั่วหยาบ และสุภาพ.
บทว่า กับ คือ ร่วมกัน.
คำว่า รูปเดียว...ผู้เดียว ได้แก่ ภิกษุ 1 มาตุคาม 1.
ที่ชื่อว่า ในที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตา 1 ที่ลับหู 1 ที่ลับตา ได้แก่
สถานที่ซึ่งเมื่อภิกษุ หรือมาตุคาม ขยิบตา ยักคิ้ว หรือชูศีรษะไม่มีใคร
สามารถจะแลเห็นได้.
ที่ลับหู ได้แก่ สถานที่ซึ่งไม่มีใครสามารถได้ยินถ้อยคำที่พูดตาม
ปกติได้.
คำว่า สำเร็จการนั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่งแล้ว ภิกษุ
นั่งใกล้หรือนอนใกล้ก็ดี เมื่อภิกษุนั่งแล้ว มาตุคามนั่งใกล้ หรือนอนใกล้
ก็ดี นั่งทั้งสองคน หรือนอนทั้งสองคนก็ดี.
[647] อุบาสิกาที่ชื่อว่า มีวาจาเชื่อได้ คือ เป็นสตรีผู้บรรลุผล
ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจศาสนาดี.
ที่ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่ สตรีผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้ถึง
พระธรรมเป็นสรณะ ผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ.
บทว่า เห็น คือ พบ.

[648] อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้เช่นนั้น พึงพูดขึ้นด้วยธรรม
2 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์
ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม 2 ประการ อย่างใด
อย่างหนึ่ง คือ ด้วยสังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกประการหนึ่ง
อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น กล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วย
ธรรมนั้น.

ปฏิญญาตกรณะ
เห็นนั่งกำลังเคล้าคลึง


[649] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลัง
ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึง
ปรับตามอาบัติ
หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึง
ความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
นั่งจริง แต่ไม่ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง
หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึง
ความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่
ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน
หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังถึง
ความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
ไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.