เมนู

แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความรับ
ว่าดีแห่งสงฆ์ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก 1
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะอันบังเกิด
ในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะอันจักเกิดในอนาคต เพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1 เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อม
ใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม 1 เพื่อถือตามพระวินัย 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดง
อย่างนี้ ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


19. 2. อนึ่ง สถานหาเป็นอาสนะกำบังไม่เลยทีเดียว หาเป็น
ที่พอจะทำการได้ไม่ แต่เป็นที่พอจะพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่ว
หยาบได้อยู่ แลภิกษุใดรูปเดียว สำเร็จการนั่งในที่ลับ กับด้วย
มาตุคามผู้เดียว ในอาสนะมีรูปอย่างนั้น อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้
เห็นภิกษุกับมาตุคามนั้นนั่นแล้ว พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการ อย่าง
ใดอย่างหนึ่ง คือด้วยสังฆาทิเสสก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณ
ซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม 2 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วย
สังฆาทิเสสบ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกอย่างหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อ
ได้นั้นกล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น แม้ธรรมนี้
ก็ชื่อ อนิยต.
เรื่องพระอุทายี กับนางวิสาขา จบ

สิกขาบทวิภังค์


็ [645] คำว่า อนึ่ง สถานหาเป็นอาสนะกำบังไม่เลยทีเดียว
อธิบายว่า อาสนะเป็นที่เปิดเผย คือ เป็นสถานที่มิได้กำบังด้วยฝา
บานประตู เสื่อลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ เสา หรือฉาง อย่างใด
อย่างหนึ่ง.
บทว่า หาเป็นที่พอจะทำการได้ไม่ คือ ไม่อาจเสพเมถุนธรรมได้
คำว่า แต่เป็นที่พอจะพูดเคาะมาตุคาม ด้วยวาจาชั่วหยาบได้อยู่
คือ อาจจะพูดเคาะมาตุคามด้วยวาจาชั่วหยาบได้.
[646] บทว่า แล...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการงาน
อย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด
มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ
ก็ดีตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แล...ใด.
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา
ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียง
กันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ บรรดา