เมนู

[เรื่องพระขีณาสพเถระนั่งกับมาตุคาม]


ได้ทราบว่า ในมัลลารามวิหาร พระเถระผู้ขีณาสพรูปหนึ่งไปสู่
ตระกูลอุปัฏฐาก ในวันหนึ่ง นั่งแล้ว ณ ภายในเรือน. ฝ่ายอุบาสิกาก็ยืน
พิงบัลลังก์สำหรับนอน. ลำดับนั้น ภิกษุถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง
ยืนที่ใกล้ประตู เห็นเข้า ได้ความสำคัญว่า พระเถระนั่งบนอาสนะเดียว
กันกับอุบาสิกา จึงมองดูบ่อย ๆ. แม้พระเถระก็กำหนดรู้ว่า ภิกษุรูปนี้
เกิดเป็นผู้มีความเข้าใจในเราว่าไม่บริสุทธิ์ ทำภัตกิจแล้วไปยังวิหาร เข้า
ไปสู่ที่อยู่ของตนแล้วนั่งอยู่ ภายในนั่นเอง. ภิกษุรูปนั้นมาแล้วด้วย
ตั้งใจว่า เราจักโจทพระเถระ กระแอมแล้วเปิดประตู. พระเถระทราบ
จิตของเธอ จึงเหาะขึ้นบนอากาศ นั่งโดยบัลลังก์พิงช่อฟ้าเรือนยอด.
แม้ภิกษุนั้นเข้าไปภายใน ตรวจดูเตียงและภายใต้เตียงไม่เห็นพระเถระ
จึงแหงนดูเบื้องบน ลำดับนั้น ท่านเห็นพระเถระนั่งอยู่บนอากาศ จึง
กล่าวว่า ท่านขอรับ ! ท่านชื่อว่า มีฤทธิ์มากอย่างนี้ ขอจงให้บอกความ
ที่ท่านนั่งบนอาสนะเดียวกับมาตุคามมาก่อนเถิด. พระเถระจึงกล่าวว่า
ท่านผู้มีอายุ ! นี้เป็นโทษของละแวกบ้าน แต่เราไม่อาจให้ท่านเชื่อได้
จึงได้กระทำอย่างนี้, ท่านควรจะช่วยรักษาเราไว้ด้วย, พระเถระกล่าวอย่าง
นี้แล้วก็ลง.
ต่อจากนี้ไป คำว่า สา เจ เอวํ วเทยฺย เป็นต้นทั้งหมด
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพื่อแสดงอาการแห่งเหตุของการปฏิญญา.

[พึงปรับอาบัติตามปฏิญญาของภิกษุ]


บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า มาตุคามสฺส เมถุนํ ธมฺมํ
ปฏิเสวนฺโต
มีความว่า ผู้เสพเมถุนธรรมในมรรคของมาตุคาม.

คำว่า นิสชฺชาย กาเรตพฺโพ มีความว่า ภิกษุปฏิญญาการนั่งแล้ว
ไม่ปฏิญญาการเสพเมถุนธรรม อย่าปรับด้วยอาบัติเมถุนธรรมปาราชิก
พึงปรับด้วยอาบัติที่ต้องด้วยเหตุสักว่านั่ง. อธิบายว่า พึงปรับด้วยอาบัติ
ปาจิตตีย์. พึงทราบวินิจฉัยในจตุกกะทั้งหมดโดยนัยนี้.
บรรดาบทมีบทว่า คมนํ ปฏิชานาติ เป็นต้นที่ตรัสไว้ เพื่อทรง
แสดงการกำหนดอาบัติ และอนาบัติ ในสุดท้ายแห่งสิกขาบท. สองบทว่า
คมนํ ปิฏิซานาติ มีความว่า ย่อมปฏิญญาการเดินอย่างนี้ว่า เราเป็น
ผู้เดินไปเพื่อยินดีการนั่งในที่ลับ
บทว่า นิสฺชฺชํ มีความว่า ย่อมปฏิญญาซึ่งการนั่งด้วยความยินดี
ในการนั่งเท่านั้น.
บทว่า อาปตฺตึ ได้แก่ บรรดาอาบัติทั้ง 3 อาบัติอย่างใดอย่าง
หนึ่ง.
สองบทว่า อาปตฺติยา กาเรตพฺโพ มีความว่า บรรดาอาบัติ
ทั้ง 3 พึงปรับด้วยอาบัติที่ภิกษุปฎิญญา.
คำที่เหลือในจตุกกะในสิกขาบทนี้ มีอธิบายตื้นทั้งนั้น.
ส่วนในทุติยจตุกกะ มีวินิจฉัยดังนี้:-
สองบทว่า คมนํ น ปฏิชานาติ มีความว่า ย่อมไม่ปฎิญญาด้วย
อำนาจแห่งความยินดีการนั่งในที่ลับ ย่อมกล่าวว่า เราไปด้วยการงาน
ส่วนตัว มีสลากภัตเป็นต้น, ส่วนอุบาสิกานั้น มาสู่สถานที่เรานั่งเอง.
บทที่เหลือ แม้ในทุติจตุกกะนี้ ก็มีอธิบายตื้นเหมือนกัน.

แต่บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในจตุกกะทั้งปวง ดังต่อไปนี้:-
กิเลสที่อาศัยเมถุนธรรม ตรัสเรียกว่า ความยินดีการนั่งในที่ลับ.
ภิกษุใด ใคร่จะไปยังสำนักแห่งมาตุคามด้วยความยินดีนั้นหยอดนัยน์ตา
ต้องทุกกฏ. นุ่งผ้านุ่ง คาดประคดเอว ห่มจีวร เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ประโยค
ในจตุกกะทั้งปวง. เมื่อเดินไป เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ย่างเท้า. เดินไปแล้วนั่ง
เป็นทุกกฏอย่างเดียว, พอเมื่อมาตุคามมานั่ง เป็นปาจิตตีย์. ถ้าหญิงนั้น
ผุดลุกผุดนั่ง ด้วยกรณียกิจบางอย่าง เป็นปาจิตตีย์ ในการนั่งทุก ๆ ครั้ง.
ภิกษุมุ่งหมายไปหาหญิงใด ไม่พบหญิงนั้น, หญิงอื่นมานั่ง เมื่อเกิดความ
ยินดี ก็เป็นปาจิตตีย์. แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า เพราะมีจิต
ไม่บริสุทธิ์ตั้งแต่เวลามา เป็นอาบัติเหมือนกัน ถ้าหญิงมามากคนด้วยกัน,
เป็นปาจิตตีย์ตามจำนวนผู้หญิง. ถ้าพวกผู้หญิงเหล่านั้นผุดลุกผุดนั่ง
บ่อย ๆ เป็นปาจิตตีย์หลายตัว ตามจำนวนกับกิริยาที่นั่ง. แม้เมื่อภิกษุไม่
กำหนดไว้ไปนั่งด้วยตั้งใจว่า เราจักสำเร็จความยินดีในที่ลับกับหญิงที่เรา
พบแล้ว ๆ ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบอาบัติหลายตัว ด้วยสามารถแห่งหญิง
ทั้งหลายผู้มาแล้ว ๆ และด้วยอำนาจการนั่งบ่อยครั้ง โดยนัยดังกล่าวแล้ว
นั้นแล. ถ้าแม้นว่า ภิกษุไปนั่งด้วยจิตบริสุทธิ์ เกิดความยินดีในที่ลับ
กับหญิงผู้มายังสำนักแล้วนั่ง, ไม่เป็นอาบัติเลย. สมุฏฐานเป็นต้น เป็น
เช่นเดียวกันกับปฐมปาราชิกสิกขาบททีเดียวแล.
พรรณนาอนิยตสิกขาบทที่ 1 จบ

อนิยตสิกขาบทที่ 2


เรื่องพระอุทายีกับนางวิสาขา มิคารมาตา


[644] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระ-
อุทายีดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการสำเร็จการนั่งในที่ลับ คือ
ในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่ง จึงสำเร็จ
การนั่งในที่ลับ กับสาวน้อยคนนั้นแล หนึ่งต่อหนึ่ง เจรจากล่าวธรรมอยู่
ควรแก่เวลา
แม้ครั้งที่สองแล นางวิสาขา มิคารมาตา ก็ได้ถูกเชิญไปสู่สกุลนั้น
นางได้เห็นท่านพระอุทายีนั่งในที่ลับ กับสาวน้อยนั้นแล หนึ่งต่อหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระอุทายีว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า การที่พระ-
คุณเจ้านั่งในที่ลับกับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเช่นนี้ ไม่เหมาะ ไม่ควร
พระคุณเจ้าแม้ไม่ต้องการด้วยธรรมนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น พวกชาวบ้าน
ผู้ที่ไม่เลื่อมใส จงบอกให้เชื่อได้โดยยาก
ท่านพระอุทายี แม้ถูกนางวิสาขา มิคารมาตา ว่ากล่าวอยู่อย่างนี้
ก็มิได้เชื่อฟัง
เมื่อนางวิสาขา มิคารมาตากลับไปแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ
ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่าน
พระอุทายีจึงได้สำเร็จการนั่งในที่ลับ กับมาตุคาม หนึ่งต่อหนึ่งเล่า แล้ว
กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า