เมนู

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนั่ง
ในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคามผู้เดียว
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้
ไม่พึงปรับ.

เห็นนอนในที่ลับ


[641] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้า
รูปเดียวนอนในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคาม
ผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับเพราะการนอน
หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอน
ในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุ
นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งต่างหาก ดังนี้ พึง
ปรับเพราะการนั่ง
หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอน
ในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุ
นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้
ไม่พึงปรับ.
[642] บทว่า อนิยต แปลว่า ไม่แน่นอน คือ เป็นปาราชิก
ก็ได้ เป็นสังฆาทิเสสก็ได้ เป็นปาจิตตีย์ก็ได้.

บทภาชนีย์


[643] ภิกษุปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ
พึงปรับตามอาบัติ

ภิกษุปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ
ตามอาบัติ
ภิกษุปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ
เพราะการนั่ง
ภิกษุปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ ไม่พึง
ปรับ
ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ
ตามอาบัติ
ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ
ตามอาบัติ
ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ พึงปรับ
เพราะการนั่ง
ภิกษุไม่ปฏิญาณการไป ไม่ปฏิญาณการนั่ง ไม่ปฏิญาณอาบัติ
ไม่พึงปรับ
อนิยตสิกขาบทที่ 1 จบ

อนิยตกัณฑวรรณนา


ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! อนึ่ง ธรรม คือ อนิยต 2 สิกขาบทนี้แล
ย่อมมาสู่อุเทศ.

พรรณนาอนิยตสิกขาบทที่ 1


อนิยตสิกขาบทที่ 1 ว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น
ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:- ในอนิยตสิกขาบทที่ 1 นั้น มีวินิจฉัยดังต่อ
ไปนี้:-

[แก้อรรถมูลเหตุแห่งปฐมบัญญัติเป็นต้น]


คำว่า กาลยุตฺตํ สมุลฺลปนฺโต มีความว่า กำหนดกาลแล้ว
กล่าวถ้อยคำเกี่ยวด้วยเรื่องชาวบ้าน ในเวลาที่ใคร ๆ ไม่เดินผ่านไปหรือ
เดินผ่านมาที่ใกล้ คือ ตามที่เหมาะแก่เวลาเช่นนั้น มีอาทิว่า เธอไม่
กลุ้มใจ ไม่ลำบากใจ ไม่อดอยากละหรือ ?
คำว่า กาลยุตฺตํ ธมฺมํ ภณนฺโต มีความว่า กำหนดกาลแล้ว
กล่าวธรรมกถา ในเวลาที่ใครคนอื่นเดินผ่านมา หรือเดินผ่านไป คือ
ตามที่เหมาะแก่เวลาเช่นนั้น มีอาทิว่า เธอควรทำอุโบสถ, เธอควรถวาย
สลากภัต ดังนี้
นางวิสาขานั้น ชื่อว่า มีบุตรมาก เพราะนางมีธิดาและบุตรมาก
ได้ยินว่า นางมีบุตรชาย 10 คน และบุตรหญิง 10 คน. ชื่อว่า
มีนัดดามาก เพราะนางมีหลานมาก. เหมือนอย่างว่า นางวิสาขานั้น
มีบุตรชายหญิง 20 คน ฉันใดแล, แม้บุตรชายหญิงของนางก็มีทารก