เมนู

เห็นนอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย


[639] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้า
นอนกำลังถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการ
นอนนั้น พึงปรับตามอาบัติ
หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลัง
ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
นอนจริง แต่ไม่ได้ถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย ดังนี้ พึงปรับเพราะการ
นอน
หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลัง
ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
ไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง
หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลัง
ถึงความเคล้าคลึงด้วยกายกับมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
ไม่ได้นอน ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

เห็นนั่งในที่ลับ


[640] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้า
รูปเดียวนั่งในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคาม
ผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับเพราะการนั่ง
หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนั่ง
ในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคามผู้เดียว
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้
พึงปรับเพราะการนอน

หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนั่ง
ในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคามผู้เดียว
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้
ไม่พึงปรับ.

เห็นนอนในที่ลับ


[641] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้า
รูปเดียวนอนในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคาม
ผู้เดียว ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น พึงปรับเพราะการนอน
หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอน
ในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุ
นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้านั่งต่างหาก ดังนี้ พึง
ปรับเพราะการนั่ง
หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้ารูปเดียวนอน
ในที่ลับ คือในอาสนะกำบัง พอจะทำการได้ กับมาตุคามผู้เดียว ถ้าภิกษุ
นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นอน ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้
ไม่พึงปรับ.
[642] บทว่า อนิยต แปลว่า ไม่แน่นอน คือ เป็นปาราชิก
ก็ได้ เป็นสังฆาทิเสสก็ได้ เป็นปาจิตตีย์ก็ได้.

บทภาชนีย์


[643] ภิกษุปฏิญาณการไป ปฏิญาณการนั่ง ปฏิญาณอาบัติ
พึงปรับตามอาบัติ