เมนู

สิกขาบทวิภังค์


[633] บทว่า อนึ่ง...ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด มีการ
งานอย่างใด มีชาติอย่างใด มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด
มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะ
ก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อนึ่ง...ใด
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุ เพราะ
อรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา ชื่อว่า
ภิกษุ โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ ชื่อว่า
ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า มีสารธรรม
ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า
เป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียง
กันอุปสมบทให้ ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติ
จตุตถกรรมอันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์
ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า มาตุคาม ได้แก่ หญิงมนุษย์ไม่ใช่หญิงยักษ์ ไม่ไช่หญิง
เปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย โดยที่สุด แม้เด็กหญิงที่เกิดในวันนั้น
ไม่ต้องพูดถึงสตรีผู้ใหญ่.
บทว่า กับ คือ ร่วมกัน

คำว่า รูปเดียว...ผู้เดียว ได้แก่ ภิกษุ 1 มาตุคาม 1
ที่ชื่อว่า ในที่ลับ ได้แก่ ที่ลับตา 1 ที่ลับหู 1
ที่ลับตา ได้แก่ที่ซึ่งเมื่อภิกษุหรือมาตุคามขยิบตา ยักคิ้ว หรือ
ชูศีรษะไม่มีใครสามารถจะแลเห็นได้
ทีลับหู ได้แก่ที่ซึ่งไม่มีใครสามารถจะได้ยินถ้อยคำที่พูดตามปกติได้
อาสนะทึ่ชื่อว่า กำบัง คือ เป็นอาสนะที่เขากำบังด้วยฝา บานประตู
เสื่อลำแพน ม่านบัง ต้นไม้ เสา หรือฉาง อย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า พอจะทำการได้ คือ อาจเพื่อจะเสพเมถุนธรรมได้
คำว่า สำเร็จการนั่ง หมายความว่า เมื่อมาตุคามนั่งแล้ว ภิกษุ
นั่งใกล้หรือนอนใกล้ก็ดี เมื่อภิกษุนั่งแล้ว มาตุคามนั่งใกล้ หรือนอน
ใกล้ก็ดี นั่งทั้งสองคนหรือนอนทั้งสองคนก็ดี.
[634] อุบาสิกาที่ชื่อว่า มีวาจาที่เชื่อได้ คือ เป็นสตรีผู้บรรลุผล
ผู้ตรัสรู้ธรรม ผู้เข้าใจศาสนาดี
ที่ชื่อว่า อุบาสิกา ได้แก่ สตรีผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้ถึง
พระธรรมเป็นสรณะ ผู้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ.
บทว่า เห็น คือ พบ.
[635] อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้เช่นนั้น พึงพูดขึ้นด้วยธรรม
3 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกก็ดี ด้วยสังฆาทิเสส
ก็ดี ด้วยปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุปฏิญาณซึ่งการนั่ง พึงถูกปรับด้วยธรรม
3 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยปาราชิกบ้าง ด้วยสังฆาทิเสส
บ้าง ด้วยปาจิตตีย์บ้าง อีกประการหนึ่ง อุบาสิกามีวาจาที่เชื่อได้นั้น
กล่าวด้วยธรรมใด ภิกษุนั้นพึงถูกปรับด้วยธรรมนั้น.

ปฏิญญาตกรณะ
เห็นนั่งกำลังเสพเมถุนธรรม


[636] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่ง
กำลังเสพเมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนั่งนั้น พึงปรับ
ตามอาบัติ
หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังเสพ
เมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านั่งจริง แต่ไม่
ได้เสพเมถุนธรรมเลย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนั่ง
หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังเสพ
เมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง
ข้าพเจ้านอนอยู่ต่างหาก ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน
หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านั่งกำลังเสพ
เมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่ได้นั่ง
ข้าพเจ้ายืนอยู่ต่างหาก ดังนี้ ไม่พึงปรับ.

เห็นนอนกำลังเสพเมถุนธรรม


[637] หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้า
นอนกำลังเสพเมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นปฏิญาณการนอนนั้น
พึงปรับตามอาบัติ
หากอุบาสิกานั้นพูดขึ้นอย่างนี้ว่า ดิฉันเห็นพระคุณเจ้านอนกำลัง
เสพเมถุนธรรมในมาตุคาม ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้านอนจริง
แต่ไม่ได้เสพเมถุนธรรมเลย ดังนี้ พึงปรับเพราะการนอน