เมนู

[แก้อรรถบทสรูปสังฆาทิเสส]


ในคำว่า อุทฺทิฏฺฐา โข ฯ เป ฯ เอวเมตํ ธารยามิ นี้ มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้:-
ธรรมเหล่านี้ มีการต้องแต่แรก; เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปฐมา-
ปัตติกะ อธิบายว่า พึงต้องในครั้งแรก คือ ในขณะที่ล่วงละเมิดทีเดียว.
ส่วนธรรมทั้งหลายนอกนี้ พึงทราบว่าเป็น ยาวตติยกะ ด้วยอรรถว่ามี
(เป็นอาบัติ) ในเพราะสมนุภาสนกรรมครั้งที่ 3 เหมือนโรคไข้เชื่อม
(โรคผอม) มี (เป็น) ในวันที่ 3 และที่ 4 เขาเรียกว่า โรคที่ 3 ที่ 4
ฉะนั้น.
ข้อว่า ยาวตีหํ ชานํ ปฏิจฺฉาเทติ มีความว่า รู้อยู่ ปกปิดไว้ คือ
ไม่บอกแก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้ สิ้นวัน
มีประมาณเท่าใด.
บทว่า ตาวตีหํ ความว่า (ต้องอยู่ปริวาสด้วยความไม่ปรารถนา)
สิ้นวันมีประมาณเท่านั้น.
ข้อว่า อกามา ปริวตฺตพฺพํ มีความว่า ไม่ใช่ด้วยความปรารถนา
คือ ไม่ใช่ด้วยอำนาจ (ของตน), ที่แท้พึงสมาทานปริวาสอยู่ด้วยความไม่
ปรารถนา คือ ด้วยมิใช่อำนาจ (ของตน).
สองบทว่า อุตฺตรึ ฉารตฺตํ คือ สิ้น 6 ราตรี เพิ่มขึ้นจากปริวาส.
บทว่า ภิกขุมานตฺตาย ได้แก่ เพื่อความนับถือของภิกษุทั้งหลาย,
มีคำอธิบายว่า เพื่อประโยชน์ให้ภิกษุทั้งหลายยินดี.
ภิกษุสงฆ์นั้น ชื่อว่า วิสติคณะ เพราะมีคณะนับได้ 20 รูป.

บทว่า ตตฺถ มีความว่า ในสีมาที่ภิกษุสงฆ์ มีคณะ 2 รูป โดย
กำหนดอย่างต่ำกว่าเขาทั้งหมด.
บทว่า อพฺเภตพฺโพ มีความว่า อันภิกษุสงฆ์พึงอัพภาน คือ พึง
รับรอง, มีคำอธิบายว่า พึงเรียกเข้าด้วยอำนาจแห่งอัพภานกรรม อีกอย่าง
หนึ่ง มีใจความว่า สงฆ์พึงเรียกเข้าหมู่.
บทว่า อนพฺภิโต ได้แก่ เป็นผู้อันสงฆ์ไม่ได้อัพภาน คือ ไม่ได้
รับรอง. มีคำอธิบายว่า ยังไม่ได้ทำอัพภานกรรม. อีกอย่างหนึ่ง มีใจ
ความว่า สงฆ์ยังไม่ได้เรียกเข้าหมู่.
บทว่า สามีจิ แปลว่า ตามธรรมดา. มีคำอธิบายว่า โอวาทานุ-
สาสนีอันคล้อยตามโลกุตรธรรม เป็นสามีจิ คือ เป็นธรรมดา (สามีจิ-
กรรม). บทที่เหลือในคำว่า อุทฺทิฏฺฐา โข เป็นต้นนี้ มีนัยดังกล่าวแล้ว
ทั้งนั้นแล.
เตรสกัณฑวรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ

อนิยตกัณฑ์


ท่านทั้งหลาย อนึ่ง ธรรมคืออนิยต 2 สิกขาบทเหล่านี้แล มาสู่อุเทศ.

อนิยตสิกขาบทที่ 1


เรื่องพระอุทายีกับนางวิสาขา มิคารมาตา


[631] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น
ท่านพระอุทายีเป็นพระประจำสกุลในพระนครสาวัตถี เข้าไปหาสกุลเป็น
อันมาก สมัยนั้น สาวน้อยแห่งสกุลอุปัฏฐากของท่านพระอุทายี เป็น
สตรีที่มารดาบิดายกให้แก่หนุ่มน้อยของสกุลหนึ่ง
ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอุทายีครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและ
จีวรเข้าไปหาสกุลนั้น ครั้นแล้วจึงไต่ถามพวกชาวบ้านว่า สาวน้อยผู้มี
ชื่อนี้ อยู่ไหน
พวกชาวบ้านตอบอย่างนี้ว่า พวกข้าพเจ้าได้ยกให้แก่หนุ่มน้อยของ
สกุลโน้นแล้ว เจ้าข้า
แม้สกุลนั้นแล ก็เป็นอุปัฏฐากของท่านพระอุทายี จึงท่านพระ-
อุทายีเข้าไปหาสกุลนั้น ครั้นแล้วจึงถามพวกชาวบ้านว่า สตรีผู้มีชื่อนี้
อยู่ไหน
พวกชาวบ้านตอบว่า นางนั่งอยู่ในห้อง เจ้าข้า
จึงท่านพระอุทายีเข้าไปหาสาวน้อยนั้น ครั้นแล้วสำเร็จการนั่งใน
ที่ลับ คือในอาสนะกำบังซึ่งพอจะทำการได้กับสาวน้อยนั้น หนึ่งต่อหนึ่ง
เจรจากล่าวธรรมอยู่ ควรแก่เวลา.