เมนู

[แก้อรรถบทสรูปสังฆาทิเสส]


ในคำว่า อุทฺทิฏฺฐา โข ฯ เป ฯ เอวเมตํ ธารยามิ นี้ มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้:-
ธรรมเหล่านี้ มีการต้องแต่แรก; เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปฐมา-
ปัตติกะ อธิบายว่า พึงต้องในครั้งแรก คือ ในขณะที่ล่วงละเมิดทีเดียว.
ส่วนธรรมทั้งหลายนอกนี้ พึงทราบว่าเป็น ยาวตติยกะ ด้วยอรรถว่ามี
(เป็นอาบัติ) ในเพราะสมนุภาสนกรรมครั้งที่ 3 เหมือนโรคไข้เชื่อม
(โรคผอม) มี (เป็น) ในวันที่ 3 และที่ 4 เขาเรียกว่า โรคที่ 3 ที่ 4
ฉะนั้น.
ข้อว่า ยาวตีหํ ชานํ ปฏิจฺฉาเทติ มีความว่า รู้อยู่ ปกปิดไว้ คือ
ไม่บอกแก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้ สิ้นวัน
มีประมาณเท่าใด.
บทว่า ตาวตีหํ ความว่า (ต้องอยู่ปริวาสด้วยความไม่ปรารถนา)
สิ้นวันมีประมาณเท่านั้น.
ข้อว่า อกามา ปริวตฺตพฺพํ มีความว่า ไม่ใช่ด้วยความปรารถนา
คือ ไม่ใช่ด้วยอำนาจ (ของตน), ที่แท้พึงสมาทานปริวาสอยู่ด้วยความไม่
ปรารถนา คือ ด้วยมิใช่อำนาจ (ของตน).
สองบทว่า อุตฺตรึ ฉารตฺตํ คือ สิ้น 6 ราตรี เพิ่มขึ้นจากปริวาส.
บทว่า ภิกขุมานตฺตาย ได้แก่ เพื่อความนับถือของภิกษุทั้งหลาย,
มีคำอธิบายว่า เพื่อประโยชน์ให้ภิกษุทั้งหลายยินดี.
ภิกษุสงฆ์นั้น ชื่อว่า วิสติคณะ เพราะมีคณะนับได้ 20 รูป.