เมนู

ข้อว่า น โลมํ ปาเตนฺติ มีความว่า ชื่อว่า เป็นผู้ไม่หายเย่อหยิ่ง
เพราะไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติอันสมควร.
ข้อว่า น เนตฺถารํ วตฺตนฺติ มีความว่า ย่อมไม่ปฏิบัติตามทางเป็น
เครื่องช่วยถอนตนเอง.
ข้อว่า ภิกขู น ขมาเปนฺติ มีความว่า ย่อมไม่กระทำให้ภิกษุ
ทั้งหลายอดโทษอย่างนี้ว่า พวกกระผมกระทำผิด ขอรับ ! แต่พวกกระผม
จะไม่กระทำเช่นนี้อีก, ขอท่านทั้งหลายจงอดโทษแก่พวกกระทำเถิด.
บทว่า อกฺโกสนฺติ คือ ย่อมด่าการกสงฆ์ ด้วยอักโกสวัตถุ 10.
บทว่า ปริภาสนฺติ คือ ย่อมแสดงภัยแก่ภิกษุเหล่านั้น.
ข้อว่า ฉนฺทคามิตา ฯ เป ฯ ภยคามิตา ปาเปนฺติ มีความว่า ย่อม
ให้ถึง คือ ประกอบด้วย ความลำเอียงเพราะรักใคร่กันบ้าง ฯลฯ ด้วย
ความลำเอียงเพราะกลัวบ้าง อย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ เป็นผู้มีความลำเอียง
เพราะรัก ฯ ล ฯ และมีความลำเอียงเพราะกลัว.
บทว่า ปกฺกมนฺติ มีความว่า บรรดาสมณะ 500 ซึ่งเป็นบริวาร
ของพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะนั้น บางพวกก็หลีกไปสู่ทิศ.
บทว่า วิพฺภมนฺติ คือ บางพวกก็สึกเป็นคฤหัสถ์.
ในคำว่า กถํ หิ นาม อสฺสสชิปุนพฺพสุกา นี้ ท่านเรียกภิกษุแม้
ทั้งหมดว่า อสัสชิปุนัพพสุกะ ด้วยอำนาจแห่งภิกษุทั้งสองรูปผู้เป็น
หัวหน้า.

[อรรถาธิบายกุลทูสกรรมมีการให้ดอกไม้เป็นต้น]


ในคำว่า คามํ นี้ แม้นครท่านยึดเอาด้วยคามศัพท์เหมือนกัน.
ด้วยเหตุนั้น ในบทภาชนะแห่งบทนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บ้านก็ดี นิคม

ก็ดี นครก็ดี ชื่อว่า คามและนิคม. บรรดาบ้านเป็นต้นนั้น หมู่บ้านที่
ไม่มีกำแพงเป็นเครื่องล้อม มีร้านตลาด พึงทราบว่า นิคม.
ภิกษุใดประทุษร้ายซึ่งตระกูลทั้งหลาย; เหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า
กุลทูสกะ. และเมื่อจะประทุษร้าย ไม่ใช่ประทุษร้ายด้วยของเสีย มีของ
ไม่สะอาด และเปียกตมเป็นต้น โดยที่แท้ย่อมทำความเลื่อมใสของตระกูล
ทั้งหลายนั้นให้พินาศไป ด้วยข้อปฏิบัติชั่วของตน, ด้วยเหตุนั้นแล ใน
บทภาชนะแห่งบทนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปุปฺเผน วา เป็นต้น.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า ปุปฺผทาเนน เป็นต้นนั้นดังนี้:-
ภิกษุใดนำไปให้เองก็ดี ให้นำไปให้ก็ดี เรียกมาให้เองก็ดี ให้เรียก
มาให้ก็ดี หรือว่าให้ดอกไม้ที่เป็นของตน อย่างใดอย่างหนึ่งแก่บุคคล
ทั้งหลายที่เข้าไปหาเอง เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ตระกูล, ภิกษุนั้น
ต้องทุกกฏ. ให้ดอกไม้ของคนอื่น ก็เป็นทุกกฏเหมือนกัน. ให้ด้วยไถยจิต
พระวินัยธรพึงปรับตามราคาสิ่งของ. แม้ในของสงฆ์ก็มีนัยอย่างนี้เหมือน
กัน. ส่วนความแปลกกัน ดังต่อไปนี้ เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้ให้ดอกไม้
ที่เขากำหนดไว้ เพื่อประโยชน์แก่เสนาสนะ โดยถือว่าตนเป็นใหญ่.
ถามว่า ชื่อว่า ดอกไม้ ควรให้แก่ใคร ไม่ให้แก่ใคร ?
ตอบว่า เมื่อจะให้แก่มารดาบิดาก่อน นำไปให้เองก็ดี ให้นำไป
ให้ก็ดี เรียกมาให้เองก็ดี ให้เรียกมาให้ก็ดี ควรทั้งนั้น. สำหรับญาติที่
เหลือ ให้เรียกมาให้เท่านั้นจึงควร. ก็แลการให้ดอกไม้นั้น. เพื่อประโยชน์
แก่การบูชาพระรัตนตรัยจึงควร. แต่จะให้ดอกไม้แม้แก่ใคร ๆ เพื่อ
ประโยชน์แก่การประดับ หรือเพื่อประโยชน์แก่การบูชาศิวลึงค์เป็นต้น
ไม่ควร. และเมื่อจะให้นำไปให้แก่มารดาบิดา ควรใช้สามเณรผู้เป็นญาติ

เท่านั้นให้นำไปให้. สามเณรผู้มิใช่ญาตินอกนั้น ถ้าปรารถนาจะนำไป
เองเท่านั้น จึงควรให้นำไป. ภิกษุผู้แจกดอกไม้ที่ได้รับสมมติ จะให้ส่วน
กึ่งหนึ่งแก่พวกสามเณรผู้มาถึงในเวลาแจกก็ควร.
ในกุรุนทีท่านกล่าวว่า ควรให้ครึ่งส่วนแก่คฤหัสถ์ที่มาถึง, ในมหา-
ปัจจรีกล่าวว่า ควรให้แต่น้อย. ภิกษุผู้ไม่ได้รับสมมติควรอปโลกน์ให้
พวกสามเณรผู้มีความเคารพในอาจารย์และอุปัชฌายะ ได้นำดอกไม้เป็น
อันมากมากองไว้. พระเถระทั้งหลายให้เเก่พวกสัทธิวิหาริกเป็นต้น หรือ
แก่พวกอุบาสกผู้มาถึงแต่แช้าตรู่ ด้วยกล่าวว่า เธอจงถือเอาดอกไม้นี้
เธอจงถือเอาดอกไม้นี้, ไม่จัดว่าเป็นการให้ดอกไม้. พวกภิกษุผู้ถือเอาไป
ด้วยคิดว่า พวกเราจักบูชาพระเจดีย์ก็ดี กำลังทำการบูชาก็ดี ให้แก่พวก
คฤหัสถ์ผู้มาถึงในที่นั้น ๆ เพื่อประโยชน์แก่การบูชาพระเจดีย์. แม้การ
ให้นี้ ก็ไม่จัดว่าเป็นการให้ดอกไม้ แม้เห็นพวกอุบาสกกำลังบูชาด้วย
ดอกรักเป็นต้น แล้วกล่าวว่า อุบาสกทั้งหลาย ! ดอกกรรณิการ์เป็นต้น
ที่วัดมี, พวกท่านจงไปเก็บดอกกรรณิการ์เป็นต้นมาบูชาเถิด ดังนี้ ก็
ควร.
พวกชาวบ้านถามภิกษุทั้งหลายผู้ทำการบูชาด้วยดอกไม้ แล้วเข้าไป
ยังบ้านค่อนข้างสายว่า เพราะเหตุไร ขอรับ ! พวกท่านจึงเข้ามาสายนัก ?
พวกภิกษุตอบว่า ที่วัดมีดอกไม้มาก, พวกเราได้ทำการบูชา (ก่อนเข้า
มา). พวกชาวบ้านรู้ว่า ได้ทราบว่าที่วัดมีดอกไม้มาก วันรุ่งขึ้นจึงถือเอา
ของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากไปสู่วัด กระทำการบูชาด้วยดอกไม้และถวาย
ทาน, การพูดนั่นก็ควร.

พวกชาวบ้านขอวาระดอกไม้ว่า ท่านขอรับ ! พวกกระผมจักบูชา
ณ วันชื่อโน้น แล้วมาในวันที่อนุญาต. และพวกสามเณรได้เก็บดอกไม้
ไว้แต่เช้าตรู่. พวกชาวบ้านเมื่อไม่เห็นดอกไม้เป็นต้น จึงพูดว่า ดอกไม้
อยู่ที่ไหน ขอรับ ! พระเถระทั้งหลายตอบว่า พวกสามเณรเก็บไว้, ก็
พวกท่านจงไปบูชากันเถิด, สงฆ์จักบูชาในวันอื่น. พวกชาวบ้านเหล่านั้น
พากันบูชา ถวายทานแล้วไป, การพูดอย่างนั้น ก็ควร.
แต่ในมหาปัจจรีและกุรุนที ท่านกล่าวว่า พระเถระทั้งหลายย่อม
ไม่ได้เพื่อจะใช้ให้พวกสามเณรให้, ถ้าพวกสามเณรให้ดอกไม้เหล่านั้นแก่
พวกชาวบ้านเหล่านั้นเสียเองนั่นแล, การให้นั่น สมควร, แต่พระเถระ
ทั้งหลาย ควรกล่าวคำเพียงเท่านี้ว่า พวกสามเณรเก็บดอกไม้เหล่านี้ไว้.
แต่ถ้าว่า พวกชาวบ้านขอวาระดอกไม้แล้ว เมื่อพวกสามเณรไม่ได้
เก็บดอกไม้ไว้ ถือเอายาคูและภัตเป็นต้นมาแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย
จงให้สามเณรทั้งหลายเก็บให้ การใช้ให้พวกสามเณรผู้เป็นญาติเท่านั้น
เก็บให้ จึงควร. พระเถระทั้งหลายยกพวกสานเณรที่มิใช่ญาติขึ้นวางบน
กิ่งไม้. พวกสามเณรไม่ควรลงแล้วหนีไปเสีย, ควรเก็บให้.
ในมหาปัจจรีและกุรุนทีกล่าวว่า ก็ถ้าว่าพระธรรมกถึกบางรูปจะ
กล่าวว่า อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย ดอกไม้ที่วัดมีมาก, พวกท่านจง
ถือเอายาคูและภัตเป็นต้น ไปทำการบูชาด้วยดอกไม้เถิด, ยาคูและภัต
เป็นต้นนั้น ย่อมไม่สมควรแก่พระธรรมกถึกนั้นเท่านั้น. แต่ในมหา-
อรรถกถา ท่านกล่าวไว้โดยไม่แปลกกันว่า ยาคูและภัต เป็นต้นนั้น เป็น
อกัปปิยะ ไม่สมควร.

แม้ผลไม้ที่เป็นของของตน จะให้แก่มารดาบิดาและพวกญาติที่เหลือ
ย่อมควร โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. แต่เมื่อภิกษุผู้ให้ เพื่อประโยชน์
แก่การสงเคราะห์ตระกูล พึงทราบว่าเป็นทุกกฏเป็นต้น ในเพราะผลไม้
ของตน ของคนอื่น ของสงฆ์ และของที่เขากำหนดไว้เพื่อประโยชน์
แก่เสนาสนะ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. เฉพาะผลไม้ที่เป็นของของตน
จะให้แก่พวกคนไข้ หรือแก่พวกอิสรชนผู้มาถึงซึ่งหมดเสบียงลง ก็ควร.
ไม่จัดเป็นการให้ผลไม้. แม้ภิกษุผู้แจกผลไม้ที่สงฆ์สมมติ จะให้กึ่งส่วน
แก่พวกชาวบ้านผู้มาถึงในเวลาแจกผลไม้แก่สงฆ์ ก็ควร. ผู้ไม่ได้รับสมมติ
ควรอปโลกน์ให้.
แม้ในสังฆาราม สงฆ์ก็ควรทำกติกาไว้ ด้วยการกำหนดผลไม้หรือ
ด้วยการกำหนดต้นไม้ เมื่อพวกคนไข้หรือพวกคนอื่นขอผลไม้ จากผล
หรือจากต้นไม้ที่กำหนดไว้นั้น พึงให้ผลไม้ 4-5 ผล หรือพึงแสดง
ต้นไม้ ตามที่กำหนดไว้ว่า พวกเธอถือเอาจากต้นนี้ได้ แต่ไม่ควรพูดว่า
ผลไม้ที่ต้นนี้ดี, พวกเธอจงถือเอาจากต้นนี้.
พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า จุณฺเณน นี้ ดังต่อไปนี้:-
ภิกษุให้จุรณสน หรือน้ำฝาดอย่างอื่นของของตนเพื่อประโยชน์แก่
การสงเคราะห์ตระกูล เป็นทุกกฏ. แม้ในของของตนอื่นเป็นต้น ก็พึง
ทราบวินิจฉัยโดยนัยดังกล่าวมาแล้ว. ส่วนความแปลกกันดังต่อไปนี้:-
ในจุรณวิสัยนี้ เปลือกไม้แม้ที่สงฆ์รักษาและสงวนไว้ ก็จัดเป็นครุภัณฑ์
แท้. แม้ในพวกดินเหนียว ไม้ชำระฟัน และไม้ไผ่ บัณฑิตรู้จักของที่ควร
เป็นครุภัณฑ์แล้ว พึงทราบวินิจฉัยดังกล่าวแล้วในจุรณนั่นแล. แต่การ
ให้ใบไม้ ไม่มาในบาลีนี้. แม้การให้ใบไม้นั้น ก็พึงทราบโดยนัยดังกล่าว

แล้วเหมือนกัน. ข้าพเจ้าจักพรรณนาการให้ใบไม้ทั้งหมด โดยพิสดาร
ในการวินิจฉัยครุภัณฑ์ แม้ข้างหน้า.
เวชกรรมวิธี ในบทว่า เวชฺชกาย วา นี้ บัณฑิตพึงทราบโดยนัย
ที่กล่าวไว้เเล้วในตติยปาราชิกวรรณนานั่นแล.
กรรม คือ การงานของทูต และการส่งข่าวสาสน์ของพวกคฤหัสถ์
ท่านเรียกว่า ชังฆเปสนียะ ในคำว่า ชงฺฆเปสนิเกน นี้, ข้อนั้น อัน
ภิกษุไม่ควรกระทำ. ด้วยว่าเมื่อภิกษุรับข่าวสาสน์ของพวกคฤหัสถ์แล้วเดิน
ไป เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ย่างเท้า. แม้เมื่อฉันโภชนะที่อาศัยกรรมนั้นได้มา
ก็เป็นทุกกฏ ทุก ๆ คำกลืน. แม้เมื่อไม่รับข่าวสาสน์แต่แรก ภายหลัง
ตกลงใจว่า บัดนี้ นี้คือบ้านนั้น เอาละ เราจักแจ้งข่าวสาสน์นั้น แล้ว
แวะออกจากทาง ก็เป็นทุกกฎ ทุก ๆ ย่างเท้า. เมื่อฉันโภชนะที่บอกข่าว
สาสน์ได้มา เป็นทุกกฏโดยนัยก่อนเหมือนกัน. แต่ภิกษุไม่รับข่าวสาสน์
มา เมื่อถูกคฤหัสถ์ถามว่า ท่านขอรับ ! อันผู้มีชื่อนี้ ในบ้านนั้น มีข่าว
คราวเป็นอย่างไร ! ดังนี้ จะบอกก็ควร. ในปัญหาที่เขาถาม ไม่มี
โทษ.
แต่จะส่งข่าวสาสน์ของพวกสหธรรมิก 5 ของมารดาบิดา คน
ปัณฑุปลาส และไวยาจักรของตนควรอยู่. และภิกษุจะส่งข่าวสาสน์ที่
สมควร มีประการดังกล่าวแล้วในก่อน ของพวกคฤหัสถ์ควรอยู่. เพราะ
ข่าวสาสน์ที่สมควรนี้ ย่อมไม่ชื่อว่าเป็นกรรม คือ การเดินข่าว. ก็แล
ปัจจัยที่เกิดขึ้นจากกุลทูสกกรรม 8 อย่างนี้ ย่อมไม่สมควรแก่สหธรรมิก
ทั้ง 5 เป็นเช่นกับปัจจัยที่เกิดขึ้นจากการอวดอุตริมนุสธรรมอันไม่เป็น
จริง และการซื้อขายด้วยรูปิยะทีเดียว.

ภิกษุนั้น มีความประพฤติลามก; เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปาป-
สมาจาร. ก็เพราะปาปสมาจาร มีการปลูกต้นไม้ดอกเป็นต้น อันพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาแล้วในสิกขาบทนี้; ฉะนั้น พระองค์จึงตรัส
ไว้ในบทภาชนะแห่งบทว่า ปาปสมาจาร นี้ โดยนัยเป็นต้นว่า มาลาวจฺฉํ
โรเปนฺติปิ
ดังนี้.
บทว่า ติโรกฺขา แปลว่า ลับหลัง.
ก็คำว่า กุลานิ นี้ ในคำว่า กุลานิ จ เตน ทุฏฐานิ นี้ เป็นเพียง
โวหาร, แต่โดยความหมาย พวกชาวบ้านถูกภิกษุนั้นประทุษร้าย; ฉะนั้น
ในบทภาชนะแห่งบทว่า กุลานิ จ เตน ทุฏฺฐานิ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสคำมีอาทิว่า ปุพเพ สทฺธา หุตฺวา ดังนี้.
บทว่า ฉนฺทคามิโน มีวิเคราะห์ว่า ผู้ชื่อว่า มีฉันทคามินะ เพราะ
อรรถว่า ย่อมลำเอียงเพราะชอบพอกัน. ในบทที่เหลือ ก็มีนัยอย่างนี้.
ในคำว่า สมนุภาสิตพฺโพ ตสฺส ปฏินิสฺสคฺคาย นี้ บัณฑิตพึง
เห็นความอย่างนี้ว่า เป็นทุกกฏอย่างเดียว เพราะกุลทูสกกรรม. แต่ภิกษุ
นั้นหลีกเลี่ยงกล่าวคำใดกะสงฆ์ว่า เป็นผู้มีความลำเอียงเพราะชอบพอกัน
เป็นต้น สงฆ์พึงกระทำสมนุภาสนกรรม เพื่อสละคืนซึ่งคำว่า เป็นผู้มี
ลำเอียงเพราะชอบกัน เป็นต้นนั้นเสีย.
คำที่เหลือทุก ๆ แห่ง มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น แม้สมุฏฐานเป็นต้น
ก็เช่นเดียวกับปฐมสังฆเภทสิกขาบทนั้นแล.
กุลทูสกสิกขาบทวรรณนา จบ

[แก้อรรถบทสรูปสังฆาทิเสส]


ในคำว่า อุทฺทิฏฺฐา โข ฯ เป ฯ เอวเมตํ ธารยามิ นี้ มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้:-
ธรรมเหล่านี้ มีการต้องแต่แรก; เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปฐมา-
ปัตติกะ อธิบายว่า พึงต้องในครั้งแรก คือ ในขณะที่ล่วงละเมิดทีเดียว.
ส่วนธรรมทั้งหลายนอกนี้ พึงทราบว่าเป็น ยาวตติยกะ ด้วยอรรถว่ามี
(เป็นอาบัติ) ในเพราะสมนุภาสนกรรมครั้งที่ 3 เหมือนโรคไข้เชื่อม
(โรคผอม) มี (เป็น) ในวันที่ 3 และที่ 4 เขาเรียกว่า โรคที่ 3 ที่ 4
ฉะนั้น.
ข้อว่า ยาวตีหํ ชานํ ปฏิจฺฉาเทติ มีความว่า รู้อยู่ ปกปิดไว้ คือ
ไม่บอกแก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติชื่อนี้ สิ้นวัน
มีประมาณเท่าใด.
บทว่า ตาวตีหํ ความว่า (ต้องอยู่ปริวาสด้วยความไม่ปรารถนา)
สิ้นวันมีประมาณเท่านั้น.
ข้อว่า อกามา ปริวตฺตพฺพํ มีความว่า ไม่ใช่ด้วยความปรารถนา
คือ ไม่ใช่ด้วยอำนาจ (ของตน), ที่แท้พึงสมาทานปริวาสอยู่ด้วยความไม่
ปรารถนา คือ ด้วยมิใช่อำนาจ (ของตน).
สองบทว่า อุตฺตรึ ฉารตฺตํ คือ สิ้น 6 ราตรี เพิ่มขึ้นจากปริวาส.
บทว่า ภิกขุมานตฺตาย ได้แก่ เพื่อความนับถือของภิกษุทั้งหลาย,
มีคำอธิบายว่า เพื่อประโยชน์ให้ภิกษุทั้งหลายยินดี.
ภิกษุสงฆ์นั้น ชื่อว่า วิสติคณะ เพราะมีคณะนับได้ 20 รูป.