เมนู

ข้อว่า น โลมํ ปาเตนฺติ มีความว่า ชื่อว่า เป็นผู้ไม่หายเย่อหยิ่ง
เพราะไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติอันสมควร.
ข้อว่า น เนตฺถารํ วตฺตนฺติ มีความว่า ย่อมไม่ปฏิบัติตามทางเป็น
เครื่องช่วยถอนตนเอง.
ข้อว่า ภิกขู น ขมาเปนฺติ มีความว่า ย่อมไม่กระทำให้ภิกษุ
ทั้งหลายอดโทษอย่างนี้ว่า พวกกระผมกระทำผิด ขอรับ ! แต่พวกกระผม
จะไม่กระทำเช่นนี้อีก, ขอท่านทั้งหลายจงอดโทษแก่พวกกระทำเถิด.
บทว่า อกฺโกสนฺติ คือ ย่อมด่าการกสงฆ์ ด้วยอักโกสวัตถุ 10.
บทว่า ปริภาสนฺติ คือ ย่อมแสดงภัยแก่ภิกษุเหล่านั้น.
ข้อว่า ฉนฺทคามิตา ฯ เป ฯ ภยคามิตา ปาเปนฺติ มีความว่า ย่อม
ให้ถึง คือ ประกอบด้วย ความลำเอียงเพราะรักใคร่กันบ้าง ฯลฯ ด้วย
ความลำเอียงเพราะกลัวบ้าง อย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ เป็นผู้มีความลำเอียง
เพราะรัก ฯ ล ฯ และมีความลำเอียงเพราะกลัว.
บทว่า ปกฺกมนฺติ มีความว่า บรรดาสมณะ 500 ซึ่งเป็นบริวาร
ของพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะนั้น บางพวกก็หลีกไปสู่ทิศ.
บทว่า วิพฺภมนฺติ คือ บางพวกก็สึกเป็นคฤหัสถ์.
ในคำว่า กถํ หิ นาม อสฺสสชิปุนพฺพสุกา นี้ ท่านเรียกภิกษุแม้
ทั้งหมดว่า อสัสชิปุนัพพสุกะ ด้วยอำนาจแห่งภิกษุทั้งสองรูปผู้เป็น
หัวหน้า.

[อรรถาธิบายกุลทูสกรรมมีการให้ดอกไม้เป็นต้น]


ในคำว่า คามํ นี้ แม้นครท่านยึดเอาด้วยคามศัพท์เหมือนกัน.
ด้วยเหตุนั้น ในบทภาชนะแห่งบทนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บ้านก็ดี นิคม