เมนู

บทว่า สณฺฐเหยฺย มีความว่า พึงดำรงอยู่โดยชอบ คือพึงเป็นที่
พำนักของเหล่าภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก.
ภิกษุนั้นรับสาสน์ของอุบาสกผู้มีศรัทธามีความเลื่อมใส ด้วยคำว่า
เอวมาวุโส ดังนี้แล. ได้ยินว่า การนำข่าวสาสน์ที่เป็นกัปปิยะเห็นปานนี้
ไป ย่อมควร. เพราะฉะนั้น ภิกษุไม่พึงทำความรังเกียจในข่าวสาสน์
ทั้งหลายเช่นนี้ว่า ขอท่านจงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาค-
เจ้าตามคำของเรา ดังนี้ ก็ดี ว่า ขอท่านจงไหว้พระเจดีย์ พระปฏิมา
ต้นโพธิ์ พระสังฆเถระ ดังนี้ ก็ดี ว่า ท่านจงทำการบูชาด้วยของหอม
การบูชาด้วยดอกไม้ที่พระเจดีย์ ดังนี้ ก็ดี ว่า ขอท่านจงนิมนต์ให้ภิกษุ
ทั้งหลายประชุมกัน, พวกเราจักถวายทาน จักฟังธรรม ดังนี้ ก็ดี ข่าว
สาสน์เหล่านี้ เป็นกัปปิยสาสน์ ไม่เกี่ยวด้วยคิหิกรรมของพวกคฤหัสถ์ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
คำว่า กุโต จ ตฺวํ ภกฺขุ อาคจนฺฉติ มีความว่า ภิกษุนั้นนั่งอยู่แล้ว
ไม่ใช่กำลังมา. แต่โดยอรรถภิกษุนั้นเป็นผู้มาแล้ว. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้
คำปัจจุบันกาลในอรรถอดีตที่ใกล้ต่อปัจจุบันกาล ย่อมมีได้ ; เพราะฉะนั้น
จึงไม่มีความผิด. แม้ในคำว่า ตโต อหํ ภควา อาคจฺฉามิ นี้ ในสุดท้าย
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

[ทรงรับสั่งให้ลงปัพพาชนียกรรมพวกภิกษุฉัพพัคคีย์]


ในคำว่า ปฐมํ อสฺสชิปุนพฺพสุกา ภิกฺขู โจเทตพฺพา นี้ มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้ว่า พระอัสสชิและปุนัพพสุกะ อันสงฆ์พึงให้ทำโอกาสว่า
พวกผมต้องการจะพูดกะพวกท่าน แล้วพึงโจทด้วยวัตถุและอาบัติ, ครั้น

โจทแล้วพึงให้ระลึกถึงอาบัติที่พวกเธอยังระลึกไม่ได้. ถ้าพวกเธอปฏิญญา
วัตถุและอาบัติ หรือปฏิญญาเฉพาะอาบัติ ไม่ปฏิญญาวัตถุ พึงยกอาบัติ
ขึ้นปรับ. ถ้าปฏิญญาเฉพาะวัตถุ ไม่ปฏิญญาอาบัติ แม้ในการปฏิญญา
อย่างนั้น ก็พึงยกอาบัติขึ้นทีเดียวว่า เป็นอาบัติชื่อนี้ ในเพราะวัตถุนี้.
ถ้าพวกเธอไม่ปฏิญญาทั้งวัตถุ ไม่ปฏิญญาทั้งอาบัติ ไม่พึงยกอาบัติขึ้น
ปรับ.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรับอาบัติตามปฏิญญาแล้ว เมื่อจะทรง
แสดงว่า สงฆ์พึงลงปัพพาชนียกรรมอย่างนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า พฺยตฺเตน
ภิกฺขุนา
ดังนี้. คำนั้น ตื้นทั้งนั้น. ก็ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรม
อย่างนี้แล้ว ไม่ควรอยู่ในวัดที่ตนเคยอยู่ หรือในบ้านที่ตนทำกุลทูสก-
กรรม. เมื่อจะอยู่ในวัดนั้น ไม่พึงเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านใกล้เคียง.
แม้จะอยู่ในวัดใกล้เคียง ก็ไม่ควรเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านนั้น. แต่
พระอุปติสสเถระ ถูกพวกอันเตวาสิกค้านว่า ท่านขอรับ ! ธรรมดาว่า
นครใหญ่มีประมาณถึง 12 โยชน์ ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า ภิกษุทำกุล-
ทูสกกรรมในถนนใด, ท่านห้ามแต่ถนนนั้น. ลำดับนั้น ท่านถูกพวก
อันเตวาสิกค้านเอาว่า แม้ถนนก็ใหญ่ มีประมาณเท่านครเที่ยว แล้ว
จึงกล่าวว่า ภิกษุกระทำกุลทูสกกรรมในลำดับเรือนแถวใด ท่านห้าม
ลำดับ เรือนแถวนั้น ดังนี้. ท่านถูกพวกอันเตวาสิกค้านอีกว่า แม้ลำดับ
เรือน ก็มีขนาดเท่าถนนทีเดียว จึงกล่าวว่า ท่านห้าม 7 หลังคาเรือน
ข้างโน้นและข้างนี้. ก็คำทั้งหมดนั้น เป็นเพียงมโนรถของพระเถระ
เท่านั้น. ถ้าแม้นวัดใหญ่มีขนาด 3 โยชน์เป็นอย่างสูง และนครโตขนาด

12 โยชน์เป็นอย่างยิ่ง ภิกษุผู้ทำกุลทูสกกรรม จะอยู่ในวัดจะเที่ยวไป
ในนคร (นั้น ) ไม่ได้เลย ฉะนั้นแล.
ข้อว่า เต สงฺเฆน ปพฺพาชนียกมฺมกตา มีความว่า ถามว่า สงฆ์
ได้กระทำกรรมแก่พวกภิกษุอัสสชิและปุนพัพสุกะนั้น อย่างไร ?
ตอบว่า สงฆ์ไม่ได้ไปข่มขี่กระทำกรรมเลย, โดยที่แท้ เมื่อพวก
ตระกูลอาราธนา นิมนต์มาแล้ว กระทำภัตเพื่อสงฆ์ พระเถระทั้งหลาย
ในที่นั้น ๆ แสดงข้อปฏิบัติของสมณะ ให้พวกมนุษย์เข้าใจว่า นี้เป็น
สมณะ นี้ไม่ใช่สมณะ แล้วให้ภิกษุ 1 รูป 2 รูป เข้าสู่สีมาแล้ว ได้
กระทำปัพพาชนียกรรมแมแก่พวกภิกษุทั้งหมด โดยอุบายนี้นั่นแล.
ก็เมื่อภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอย่างนี้แล้ว บำเพ็ญวัตร 18
ประการให้บริบูรณ์ขออยู่ กรรมอันสงฆ์พึงระงับ. และแม้ภิกษุผู้มีกรรม
ระงับแล้วนั่น ตนทำกุลทูสกกรรมไว้ในตระกูลเหล่าใดในครั้งก่อน ไม่
ควรรับปัจจัยจากตระกูลเหล่านั้น. แม้บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะแล้วก็
ไม่ควรรับ, ปัจจัยเหล่านั้น จัดเป็นของไม่สมควรแท้.
เมื่อภิกษุถูกทายกถามว่า ทำไม ท่านจึงไม่รับ ? ตอบว่า เพราะ
ได้กระทำไว้อย่างนี้เมื่อก่อน ดังนี้, ถ้าพวกชาวบ้านกล่าวว่า พวกกระผม
ไม่ถวายด้วยเหตุอย่างนั้น, ถวายเพราะท่านมีศีลในบัดนี้ (ต่างหาก) ดังนี้
ควรรับได้. กุลทูสกกรรม เป็นกรรมอันภิกษุผู้กระทำเฉพาะในสถานที่
ให้ทานตามปกติ, จะรับทานตามปกติจากสถานที่นั้นนั่นแล ควรอยู่.
ทานที่ทายกถวายเพิ่มเติม ไม่ควรรับ.
บทว่า น สมฺมา วตฺตนฺติ มีความว่า ก็พวกภิกษุอัสสชิปุนัพพสุกะ
เหล่านั้นย่อมไม่ประพฤติโดยชอบ ในวัตร 18 ประการ.

ข้อว่า น โลมํ ปาเตนฺติ มีความว่า ชื่อว่า เป็นผู้ไม่หายเย่อหยิ่ง
เพราะไม่ปฏิบัติตามข้อปฏิบัติอันสมควร.
ข้อว่า น เนตฺถารํ วตฺตนฺติ มีความว่า ย่อมไม่ปฏิบัติตามทางเป็น
เครื่องช่วยถอนตนเอง.
ข้อว่า ภิกขู น ขมาเปนฺติ มีความว่า ย่อมไม่กระทำให้ภิกษุ
ทั้งหลายอดโทษอย่างนี้ว่า พวกกระผมกระทำผิด ขอรับ ! แต่พวกกระผม
จะไม่กระทำเช่นนี้อีก, ขอท่านทั้งหลายจงอดโทษแก่พวกกระทำเถิด.
บทว่า อกฺโกสนฺติ คือ ย่อมด่าการกสงฆ์ ด้วยอักโกสวัตถุ 10.
บทว่า ปริภาสนฺติ คือ ย่อมแสดงภัยแก่ภิกษุเหล่านั้น.
ข้อว่า ฉนฺทคามิตา ฯ เป ฯ ภยคามิตา ปาเปนฺติ มีความว่า ย่อม
ให้ถึง คือ ประกอบด้วย ความลำเอียงเพราะรักใคร่กันบ้าง ฯลฯ ด้วย
ความลำเอียงเพราะกลัวบ้าง อย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ เป็นผู้มีความลำเอียง
เพราะรัก ฯ ล ฯ และมีความลำเอียงเพราะกลัว.
บทว่า ปกฺกมนฺติ มีความว่า บรรดาสมณะ 500 ซึ่งเป็นบริวาร
ของพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะนั้น บางพวกก็หลีกไปสู่ทิศ.
บทว่า วิพฺภมนฺติ คือ บางพวกก็สึกเป็นคฤหัสถ์.
ในคำว่า กถํ หิ นาม อสฺสสชิปุนพฺพสุกา นี้ ท่านเรียกภิกษุแม้
ทั้งหมดว่า อสัสชิปุนัพพสุกะ ด้วยอำนาจแห่งภิกษุทั้งสองรูปผู้เป็น
หัวหน้า.

[อรรถาธิบายกุลทูสกรรมมีการให้ดอกไม้เป็นต้น]


ในคำว่า คามํ นี้ แม้นครท่านยึดเอาด้วยคามศัพท์เหมือนกัน.
ด้วยเหตุนั้น ในบทภาชนะแห่งบทนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บ้านก็ดี นิคม