เมนู

บทว่า สณฺฐเหยฺย มีความว่า พึงดำรงอยู่โดยชอบ คือพึงเป็นที่
พำนักของเหล่าภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก.
ภิกษุนั้นรับสาสน์ของอุบาสกผู้มีศรัทธามีความเลื่อมใส ด้วยคำว่า
เอวมาวุโส ดังนี้แล. ได้ยินว่า การนำข่าวสาสน์ที่เป็นกัปปิยะเห็นปานนี้
ไป ย่อมควร. เพราะฉะนั้น ภิกษุไม่พึงทำความรังเกียจในข่าวสาสน์
ทั้งหลายเช่นนี้ว่า ขอท่านจงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาค-
เจ้าตามคำของเรา ดังนี้ ก็ดี ว่า ขอท่านจงไหว้พระเจดีย์ พระปฏิมา
ต้นโพธิ์ พระสังฆเถระ ดังนี้ ก็ดี ว่า ท่านจงทำการบูชาด้วยของหอม
การบูชาด้วยดอกไม้ที่พระเจดีย์ ดังนี้ ก็ดี ว่า ขอท่านจงนิมนต์ให้ภิกษุ
ทั้งหลายประชุมกัน, พวกเราจักถวายทาน จักฟังธรรม ดังนี้ ก็ดี ข่าว
สาสน์เหล่านี้ เป็นกัปปิยสาสน์ ไม่เกี่ยวด้วยคิหิกรรมของพวกคฤหัสถ์ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
คำว่า กุโต จ ตฺวํ ภกฺขุ อาคจนฺฉติ มีความว่า ภิกษุนั้นนั่งอยู่แล้ว
ไม่ใช่กำลังมา. แต่โดยอรรถภิกษุนั้นเป็นผู้มาแล้ว. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้
คำปัจจุบันกาลในอรรถอดีตที่ใกล้ต่อปัจจุบันกาล ย่อมมีได้ ; เพราะฉะนั้น
จึงไม่มีความผิด. แม้ในคำว่า ตโต อหํ ภควา อาคจฺฉามิ นี้ ในสุดท้าย
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

[ทรงรับสั่งให้ลงปัพพาชนียกรรมพวกภิกษุฉัพพัคคีย์]


ในคำว่า ปฐมํ อสฺสชิปุนพฺพสุกา ภิกฺขู โจเทตพฺพา นี้ มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้ว่า พระอัสสชิและปุนัพพสุกะ อันสงฆ์พึงให้ทำโอกาสว่า
พวกผมต้องการจะพูดกะพวกท่าน แล้วพึงโจทด้วยวัตถุและอาบัติ, ครั้น