เมนู

มีคำแก้ว่า เพราะนำไปเพื่อประโยชน์แก่กุลสตรีเป็นต้น จึงเป็น
อาบัติ. จริงอยู่ ในหรณาธิการ พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายได้
กล่าวไว้ให้พิเศษแล้วว่า เต กุลิตฺถีนํ เป็นต้น. เพราะเหตุนั้น จึงไม่เป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้นำไปเพื่อประโยชน์แก่พระพุทธเจ้าเป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกโต วณฺฏิกํ ได้แก่ ระเบียบดอกไม้
ที่จัดทำร่วมขั้วดอกไม้เข้าด้วยกัน (มาลัยต่อก้าน).
บทว่า อุภโต วณฺฏิกํ ได้แก่ ระเบียบดอกไม้ที่ทำแยกขั้วดอกไม้ไว้
สองข้าง (มาลัยเรียงก้าน).
ส่วนในบทว่า มญฺชริกํ เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า บุปผวิกัติที่ทำคล้าย
กำไล เรียกว่า มัญชริกา (ดอกไม้ช่อ).
ระเบียบดอกไม้ที่ใช้เข็ม หรือซี่ไม้เสียบดอกย่างทรายเป็นต้นทำ
ชื่อว่า วิธูติกา (ดอกไม้พุ่ม).
บทว่า วฏํสโก ได้แก่ เทริด (ดอกไม้กรองบนศีรษะ). ระเบียบ
ดอกไม้สำหรับประดับหู ชื่อ อาเวฬา (ดอกไม้พวง).
พวงดอกไม้ที่ตั้งอยู่ตรงอก คล้ายแก้วมุกดาหาร ชื่อ ทับทรวง
(ดอกไม้แผงสำหรับประดับ). พรรณนาเฉพาะบทในพระบาลีนี้เท่านี้ก่อน.

[ว่าด้วยการวินิจฉัยอาบัติในการปลูกเองเป็นต้น]


ก็แล พึงทราบวินิจฉัยอาบัติโดยพิสดารตั้งแต่ต้น ดังต่อไปนี้:-
เป็นอาบัติปาจิตตีย์ กับทุกกฏ แก่ภิกษุผู้ปลูกกอไม้ดอกเอง ในอกัปปิย-
ปฐพี เพื่อประโยชน์แก่การประทุษร้ายสกุล ภิกษุใช้ให้ปลูกด้วยอกัปปิย-
โวหารก็เหมือนกัน, ในการปลูกเองก็ดี ใช้ให้ปลูกก็ดี ในกัปปิยปฐพี