เมนู

ผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย เพื่อให้สละเรื่องนั้นเสีย ชอบแก่ท่านผู้ใด
ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ภิกษุทั้งหลายผู้มีชื่อนี้ด้วย ผู้มีชื่อนี้ด้วย สงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว
เพื่อให้สละเรื่องนั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้
ด้วยอย่างนี้.
[604] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ
จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส อาบัติทุกกฏเพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย
เพราะกรรมวาจาสองครั้ง ย่อมระงับ สงฆ์พึงสวดสนนุภาสคราวหนึ่ง
ต่อภิกษุ 2 รูป 3 รูปได้ ไม่ควรสวดสมนุภาสในคราวหนึ่ง ยิ่งกว่านั้น.
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น
ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน
มากมาย ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล
แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.

บทภาชนีย์


[605] กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมเป็นธรรม ภิกษุสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

กรรมเป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติ
ทุกกฏ.

อนาปัตติวาร


[606] ภิกษุผู้ยังไม่ถูกสวดสมนุภาส 1 ภิกษุผู้สละเสียได้ 1 ภิกษุ
วิกลจริต 1 ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน 1 ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา 1
ภิกษุอาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.

สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 11 จบ



สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 11


ทุติยสังฆเภทสิกขาบทวรรณนา


ทุติยสังฆเภทสิกขาบทว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เป็นต้น
ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:- ในทุติยสังฆเภทสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-

[แก้อรรถเรื่องภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์]


บทว่า อนุวตฺตกา มีความว่า ผู้ปฏิบัติตาม โดยยึดถือเอาความเห็น
ความพอใจ และความชอบใจ แห่งพระเทวทัตนั้น (ผู้ตะเกียกตะกาย
เพื่อทำลายสงฆ์) ภิกษุเหล่าใดพูดคำเป็นพรรค คือ คำมีในฝักฝ่ายแห่ง