เมนู

ข้อห้ามในพุทธจักร ภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้ว่า พระเทวทัตพูดไม่ถูก
ธรรม พูดไม่ถูกวินัย ไฉนพระเทวทัตจึงได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์
เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักรเล่า
เมื่อภิกษุทั้งหลายพูดอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะ พระกฏโมรก-
ติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัต ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้น
ว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้พูดอย่างนั้น พระเทวทัตพูดถูกธรรม พูดถูก
วินัย ก็พระเทวทัตกล่าวคล้อยคามความพอใจและความเห็นชอบของ
พวกเรา พระเทวทัตทราบความพอใจ และความเห็นชอบของพวกเรา
จึงกล่าว คำนี้ย่อมควรแม้แก่พวกเรา
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ
ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุ
ทั้งหลายจึงได้ประพฤติตามพูดสนับสนุนพระเทวทัต ผู้ตะเกียกตะกาย
เพื่อทำลายสงฆ์เล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ
เหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า มีพวกภิกษุประพฤติตามผู้พูด
สนับสนุนเทวทัตผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่

กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้น
จึงไปประพฤติตามพูดสนับสนุนเทวทัต ผู้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลาย
สงฆ์เล่า การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง
ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษ
เหล่านั้นนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนพวกภิกษุผู้ประพฤติตามผู้พูด
สนับสนุนพระเทวทัต โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความ
เป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความ
เป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความ
เป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ
ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การ
ปรารภความเพียร โดยอเนกปริยายแล้ว ทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควร
แก่เรื่องนั้น เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบท
แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความ
รับว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อ
ยาก 1 เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะ
อันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต 1
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1 เพื่อความเลื่อมใสยิ่ง

ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม 1 เพื่อ
ถือตามพระวินัย 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ


15. 11. อนึ่ง มีภิกษุผู้ประพฤติตาม ผู้พูดเข้ากันของภิกษุนั้น
แล 1 รูปบ้าง 2 รูปบ้าง 3 รูปบ้าง เธอทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า
ขอท่านทั้งหลายอย่าได้กล่าวคำอะไร ๆ ต่อภิกษุนั่น ภิกษุนั่นกล่าวถูก
ธรรมด้วย ภิกษุนั่นกล่าวถูกวินัยด้วย ภิกษุนั่นถือเอาความพอใจและ
ความชอบใจของพวกข้าพเจ้ากล่าวด้วย เธอทราบความพอใจและ
ความชอบใจของพวกข้าพเจ้าจึงกล่าว คำที่เธอกล่าวนั่น ย่อมควร
แม้แก่พวกข้าพเจ้า ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าว อย่าง
นี้ว่า ท่านทั้งหลาย อย่าได้กล่าวอย่างนั้น ภิกษุนั่นหาใช่ผู้กล่าวถูก
ธรรมไม่ด้วย ภิกษุนั่นหาใช่ผู้กล่าวถูกวินัยไม่ด้วย ความทำลายสงฆ์
อย่าได้ชอบแม้แก่พวกท่าน ขอพวกท่านจงพร้อมเพรียงด้วยสงฆ์
เพราะว่าสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ปรองดองกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศ
เดียวกัน ย่อมอยู่ผาสุก แลภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าว
อยู่อย่างนี้ ยังยกย่องอยู่อย่างนั้นเทียว ภิกษุเหล่านั้น อันภิกษุ
ทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบ เพื่อให้สละกรรมนั้นเสีย
หากเธอทั้งหลาย ถูกสวดสมนุภาสกว่าจะครบสามจบอยู่สละกรรมนั้น