เมนู

ตอบว่า พระมหาสุมเถระกล่าวไว้ก่อนว่า ภิกษุใดสละกรรมนั้น
ในเวลาจบ, ภิกษุนั้นย่อมไม่ต้องอาบัติเหล่านี้; เพราะเหตุนั้น อาบัติที่
ไม่ได้ต้องจึงระงับไป ส่วนพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า อาบัติที่ต้องแล้ว
ย่อมระงับไป ดุจอสาธารณาบัติ ระงับไปเพราะเพศกลับฉะนั้น, จะ
ประโยชน์อะไร ด้วยอาบัติที่ยังไม่ได้ต้องระงับไปเล่า ?

[แก้อรรถบทภาชนีย์ว่าด้วยกรรมชอบธรรมเป็นต้น]


สองบทว่า ธมฺมกมฺเม ธมฺมกมฺมสญฺญี มีความว่า ถ้าสมนุภาสน-
กรรมนั้นเป็นกรรมชอบธรรม เธอมีความสำคัญในสมนุภาสนกรรมนั้นว่า
เป็นกรรมชอบธรรม. ในบททั้งปวงก็มีนัยเหมือนกันนี้. ความสำคัญใน
บทว่า กมฺมสญฺญี นี้คุ้มไม่ได้ เพราะกรรมเป็นของชอบธรรม เมื่อไม่
สละอย่างนั้น ย่อมต้องอาบัติ.
บทว่า อสมนุภาสนฺตสฺส มีความว่า เมื่อไม่ถูกสวดสมนุภาส
แม้ไม่ยอมสละ ก็ไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส.
บทว่า ปฏินิสฺสชฺชนฺตสฺส มีความว่า ไม่ต้องด้วยอาบัติสังฆาทิเสส
แก่ภิกษุผู้สละเสียก่อนแต่ญัตติ หรือในขณะญัตติ หรือในเวลาจบญัตติ
หรือเพียงที่สวดยังไม่ถึง ย อักษร แห่งอนุสาวนาที่ 1 ก็ดี ที่ 2 ก็ดี
ที่ 3 ก็ดี.
บทว่า อาทิกมฺมิกสฺส มีความว่า ก็ในสิกขาบทนี้ พระเทวทัต
เป็นต้นบัญญัติ เพราะบาลีที่มาในคัมภีร์ปริวารว่า พระเทวทัตได้พยายาม
ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน, ทรงปรารภพระเทวทัตในเพราะเรื่องนั้น.
ก็พระเทวทัตนั่นแล เป็นต้นบัญญัติแห่งการพยายามเพื่อทำลายสงฆ์เท่านั้น