เมนู

ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า พอทรงสดับคำของพระเทวทัตผู้ทูลขอ
วัตถุ 5 นี้เท่านั้น ก็ทรงทราบได้ว่า เทวทัตนี้ มีความต้องการจะทำลาย
สงฆ์จึงขอ ก็เพราะวัตถุ 5 นั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต
ย่อมเป็นไปเพื่ออันตรายแก่มรรค ของเหล่ากุลบุตรเป็นอันมาก; ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงปฎิเสธว่า อย่าเลย เทวทัต ! แล้วตรัสว่า
ภิกษุใดปรารถนา, ภิกษุนั้น จงเป็นผู้อยู่ป่าเถิด ดังนี้เป็นต้น.

[พระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในข้อนี้]


อนึ่ง ในคำว่า โย อิจฺฉติ เป็นต้นนี้ กุลบุตรควรทราบความ
ประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทราบความสมควรแก่ตน. จริงอยู่
ความประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในคำว่า โย อิจฺฉติ เป็นต้นนี้
ดังต่อไปนี้:-
ภิกษุรูปหนึ่ง มีอัธยาศัยใหญ่ มีอุตสาหะมาก ย่อมสามารถเพื่อ
งดเสนาสนะใกล้แดนบ้านเสียแล้ว อยู่ในป่ากระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. ภิกษุ
รูปหนึ่งที่มีกำลังอ่อนแอ มีเรี่ยวแรงน้อย ย่อมไม่สามารถจะอยู่ในป่า
(กระทำที่สุดทุกข์ได้), สามารถแต่ในคามเขตเท่านั้น. รูปหนึ่งมีกำลังมาก
มีธาตุเป็นไปสม่ำเสมอ สมบูรณ์ด้วยอธิวาสนขันติมีจิตคงที่ในอิฎฐารมณ์
และอนิฎฐารมณ์ ย่อมสามารถทั้งในป่า ทั้งในเขตบ้านได้ทั้งนั้น. รูปหนึ่ง
ไม่อาจทั้งในเขตบ้าน ทั้งในป่า คือ เป็นปทปรมบุคคล.
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใด มีอัธยาศัยใหญ่ มีอุตสาหะมาก
ย่อมสามารถเพื่องดเสนาสนะใกล้แดนบ้านเสียแล้ว อยู่ในป่ากระทำที่สุด
ทุกข์ได้, ภิกษุรูปนั้น จงอยู่ในป่าเท่านั้นเถิด, การอยู่ในป่านี้ สมควร

แก่เธอ. แม้พวกสัทธิวิหาริกเป็นต้นของเธอ ศึกษาตามอยู่ จักสำคัญ
ข้อที่ตนควรอยู่ในป่าด้วย. อนึ่ง ภิกษุรูปใด มีกำลังอ่อนแอ มีเรื่ยวแรง
น้อย ย่อมอาจจะกระทำที่สุดทุกข์ได้ในแดนบ้านเท่านั้น ในป่าไม่อาจ,
ภิกษุนั้นจงอยู่แต่ในเขตบ้านนั้น ก็ได้ ส่วนภิกษุรูปใด ซึ่งมีกำลังแข็งแรง
มีธาตุเป็นไปสม่ำเสมอ สมบูรณ์ด้วยอธิวาสนขันติ มีจิตคงที่ ในอิฎ-
ฐารมณ์และอนิฎฐารมณ์ ย่อมอาจทั้งในป่าทั้งในแดนบ้านทีเดียว. แม้
รูปนี้ จงละเสนาสนะใกล้แดนบ้านเสียแล้ว อยู่ในป่าเถิด, การอยู่ในป่านี้
สมควรแก่เธอ. แม้พวกสัทธิวิหาริกเป็นต้นของเธอ ศึกษาตามอยู่ จัก
สำคัญข้อที่ตนควรอยู่ป่า.
ส่วนภิกษุนี้ใด ซึ่งไม่อาจทั้งในแดนบ้าน ไม่อาจทั้งในบ่า เป็น
ปทปรมบุคคล, แม้รูปนี้ ก็จงอยู่ในป่านั้นเถิด. เพราะว่า การเสพ
ธุดงคคุณ และการเจริญกรรมฐานนี้ของเธอ จักเป็นอุปนิสัยเพื่อมรรค
และผลต่อไป (ในอนาคต). แม้พวกสัทธิวิหาริกเป็นต้นของเธอเมื่อศึกษา
ตาม จักสำคัญข้อที่ตนควรอยู่ป่า ฉะนี้แล. ภิกษุนี้ใด ซึ่งเป็นผู้มีกำลัง
อ่อนแอ มีเรี่ยวแรงน้อยอย่างนี้ เมื่ออยู่ในแดนบ้านเท่านั้น จึงอาจเพื่อ
จะทำที่สุดทุกข์ได้ ในป่า ไม่อาจ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงบุคคล
เช่นนี้ จึงตรัสว่า โย อิจฺฉติ คามนฺเต วิหรตุ (ภิกษุใดปรารถนา,)
ภิกษุนั้นจงอยู่ในแดนบ้านเถิด) ดังนี้. และบุคคลนี้ ได้ให้ช่องแม้แก่
คนเหล่าอื่น.
ก็ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทรงรับรองวาทะของพระเทวทัต
ไซร้, บุคคลนี้ใด ซึ่งมีกำลังอ่อนแอ มีเรี่ยวแรงน้อยตามปกติ, ถึง
บุคคลใดสามารถอยู่ในป่าสำเร็จได้แต่ในเวลายังเป็นหนุ่ม ต่อมาในเวลา

แก่ตัวลง หรือในเวลาเกิดธาตุกำเริบ เพราะลมและดีเป็นต้นอยู่ป่าไม่
สำเร็จ, แต่เมื่ออยู่ในแดนบ้านเท่านั้น จึงอาจกระทำที่สุดทุกข์ได้. บุคคล
เหล่านั้น จะพึงสูญเสียอริยมรรคไป ไม่พึงบรรลุอรหัตผลได้, สัตถุศาสน์
พึงกลายเป็นนอกธรรมนอกวินัย ยุ่งเหยิง ไม่เป็นไปเพื่อนำออกจากทุกข์.
และพระศาสดาจะพึงเป็นผู้มิใช่พระสัพพัญญูของบุคคลจำพวกนั้น ทั้งจะ
พึงถูกตำหนิติเตียนว่า ทรงทิ้งวาทะของพระองค์เสีย ไปตั้งอยู่ในวาทะ
ของพระเทวทัต ดังนี้.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงสงเคราะห์บุคคล
ทั้งหลายผู้เห็นปานนี้ จึงทรงปฎิเสธวาทะของพระเทวทัต. ในเรื่องแห่ง
ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรก็ดี ในเรื่องแห่งภิกษุผู้ถือผ้าบังสกุลเป็น
วัตรก็ดี ในเรื่องแห่งภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอด 8 เดือนก็ดี พึง
ทราบวินิจฉัยโดยอุบายนี้นั่นแล. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงห้ามเสนาสนะ
โคนไม้ตลอด 4 เดือน (ฤดูฝน) เท่านั้น.

[ปลาเนื้อบริสุทธิ์โดยส่วน 3 เป็นกัปปิยมังสะควรฉันได้]


พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องปลาและเนื้อ ดังนี้:-
บทว่า ติโกฏิปริสุทฺธํ ได้แก่ บริสุทธิ์โดยส่วน 3. อธิบายว่า
เว้นจากที่ไม่บริสุทธิ์ มีการเห็นเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ.
บรรดามังสะ 3 อย่างนั้น มังสะที่ชื่อว่า ไม่ได้เห็น คือ ไม่เห็น
ชาวบ้านฆ่าเนื้อและปลา เอามาเพื่อประโยชน์แก่พวกภิกษุ. ที่ชื่อว่า
ไม่ได้ยิน คือ ไม่ได้ยินว่า พวกชาวบ้านฆ่าเนื้อ ปลา เอามาเพื่อ